NAYA CAFE AYUTTHAYA คาเฟ่อิฐรับวิวทุ่งนา พาให้เห็นวิถีชุมชนชนบท

นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่อิฐที่อยากชวนคุณมาชื่นชมฤดูกาลผ่านผืนนา บอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอาคารกึ่งสาธารณะกลางชุมชนชนบท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: BodinChapa Architects นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya ตั้งอยู่ในตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดดเด่นด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแปลกตาก่อสร้างจากอิฐสีส้มรับกับวิวทุ่งนาสีเขียว ซึ่งตอนนี้ต้นข้าวกำลังแตกกอหลังจากผ่านช่วงเวลาปักดำมาไม่นาน โดยเป็นผืนนามรดกของครอบครัวเจ้าของโครงการที่ยังคงหมุนเวียนทำนาปลูกข้าวกันทุกปี หลังจากคุณดรีม-พัชชาดา พึ่งกุศล เจ้าของ เปิดร้านเบเกอรี่ออนไลน์ของตนเองมาสักพักก็ถึงคราวต้องขยับขยายธุรกิจด้วยการมองหาทำเลเพื่อเปิดร้านแบบจริงจัง ก่อนมาลงตัวกับทำเลที่มีศักยภาพตอบโจทย์ทั้งธุรกิจ และสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ การออกแบบคาเฟ่ได้รับการถ่ายทอดโดยทีมออกแบบจาก BodinChapa Architects ผ่านสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตากลางผืนนา ใช้อิฐแดงมาเป็นพระเอกเพื่อบอกเล่าความเป็นอยุธยา ภายใต้รูปทรงอาคารวงรีที่ตีความมาจากรูปทรงของเมล็ดข้าว อันสื่อความหมายถึงผลผลิตจากท้องนา และเป็นตัวแทนเพื่อให้เข้ากับชื่อ ตำบลข้าวเม่า ตามพิกัดที่ตั้งของคาเฟ่ จากถนนหลักด้านหน้าเข้าสู่ตัวคาเฟ่ ได้ออกแบบทางเดินไม้กั้นขอบทางเดินด้วยอิฐ เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอารมณ์เข้าสู่คาเฟ่ โดยระหว่างทางจะได้มองเห็นวิวและต้นไม้ซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อนจะพบกับพื้นคอนกรีตรูปวงรี เสิร์ฟให้เห็นบริบทต่าง ๆ ด้วยทางเดินที่เชื่อมถึงกันได้รอบอาคาร การสร้างรูปทรงอาคารให้เข้ากับร้านกาแฟกลางนาข้าว ส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ในตำบลข้าวเม่า สถาปนิกจึงมองว่าน่าจะใช้รูปทรงของเมล็ดข้าว หรือข้าวเม่ามาขยายต่อจนกลายเป็นรูปทรงอาคาร […]

CHATA THAMMACHART คาเฟ่ไม้ไผ่กลางผืนนา วิวอลังการกลางธรรมชาติ

ร้านอาหารในอาคารโครงสร้างไม้ไผ่ท่ามกลางผืนนากว่า 10 ไร่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นำเสนอประสบการณ์การพักผ่อนที่เชื่อมโยงระหว่างผู้คน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติ Chata Thammachart DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture รูปทรงของตัวอาคารร้านอาหาร Chata Thammachart มีลักษณะคล้ายศาลาขนาดใหญ่ ล้วนเกิดจากเหตุผลด้านโครงสร้าง และแนวคิดการลดทอนโครงสร้างไม้ไผ่ให้เรียบง่าย มีความซับซ้อนน้อยที่สุด โดยปราศจากวัสดุเหล็กเสริมใด ๆโครงสร้างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอาคารที่เห็น เกิดจากระยะที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระหว่างเสาแกนกลางกับเสาไม้ไผ่ที่รับโครงสร้างหลังคาโดยรอบ ทำให้เกิดพื้นที่ใช้งานโปร่งโล่งรอบเสากลาง ส่วนหลังคาไม้ไผ่สับฟาก มุงเหลื่อมซ้อนชั้นดูคล้ายหมวกทรงสูง ความชันของหลังคาช่วยลดการขังของน้ำฝน ลดการรั่วซึม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม้ไผ่ผุเร็ว พื้นที่ในร้านประกอบด้วย 3 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่ อาคารใหญ่ที่มีทั้งโซนคาเฟ่ในห้องปรับอากาศ และพื้นที่นั่งรับประทานอาหารกึ่งกลางแจ้ง เชื่อมต่อกับโซนอัฒจรรย์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้นั่งชมความงามแห่งธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา พื้นที่ส่วนเซอร์วิสและออฟฟิศในอาคารเล็กด้านหลังนอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบข้าง เมนูอาหาร และกาแฟก็เน้นการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางวิถีชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้แนวคิดการทดลองใช้ชีวิตในวิถีชุมชนภายใต้แนวคิด “อยู่กับธรรมชาติ อย่างเป็นธรรมชาติ” IDEA TO STEAL แม้จะเป็นโครงสร้างที่เรียบง่ายไร้การตกแต่ง แต่เส้นสายที่เกิดขึ้นจากลำไม้ไผ่ […]

หุ่น | ไร่ | กา ท้องนาบ้านย่า รีสอร์ตและคาเฟ่ที่เปิดพื้นที่ให้เลอะเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติ

สถาปัตยกรรมที่เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบตั้งใจให้มันเป็นดั่ง “หุ่นไล่กา” กลางทุ่ง ที่กระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามและตีความสิ่งปลูกสร้างฝีมือมนุษย์ในอ้อมอกธรรมชาตินี้ในมุมที่ต่างออกไปจากความคุ้นชิน