คล้าน้ำ

แหย่ง/Player Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์: Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.
วงศ์: Marantaceae
ประเภท: ไม้ริมน้ำ
ความสูง: 2 เมตร
ลำต้น: มีเหง้าทอดเลื้อยใต้ดิน เจริญเป็นกอ แตกกิ่งแขนงได้มาก
ใบ: ใบรูปรี ขนาด 8 – 12 เซนติเมตร สีเขียว ไม่มีลวดลายสะดุดตา ก้านใบเป็นกาบ ยาว 8 – 10 เซนติเมตร
ดอก: ออกเป็นช่อตั้ง มีดอกย่อยขนาด 2 – 3 เซนติเมตร สีขาว ออกเป็นคู่ ออกดอกในช่วงฤดูร้อน
ดิน: ดินเหนียว ระดับน้ำ 25-40 ซม.
แสงแดด: ครึ่งวัน
ขยายพันธุ์: แยกเหง้า
การใช้งานและอื่นๆ: ภาคเหนือเรียก แหย่ง ภาคใต้นิยมนำต้น ก้านใบ และก้านดอกมาทำเสื่อ ด้านสมุนไพร เหง้านำมาตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาลดไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำแก้หัดหรืออีสุกอีใส ในฟิลิปปินส์ใช้รากต้มน้ำดื่มแก้พิษงู หรือรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ในอินโดนีเซียนำใบอ่อนมาคั้นน้ำรักษาโรคตา