สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง

สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง เป็นคำถามที่เจ้าของหลายท่านอยากทราบ เพื่อการดูแลไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้นกว่าเดิม

หนึ่งในคำถามที่้ทางทีมงานบ้านและสวน Pets ได้พูดคุยกับสัตวแพทย์หลายท่าน โดยเป็นคำถามที่พบบ่อยมากที่สุดในช่วงนี้คือ สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง และโรคนี้ก็เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้ทั่วไปในสุนัขวัยเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ

สาเหตุและอาการของโรคลำไส้อักเสบในสุนัข

โรคลำไส้อักเสบในสุนัข เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อพาร์โวไวรัส (Parvovirus) โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับสุนัขอายุ 2 – 3 เดือน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับยังไม่ครบ ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัข ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย

สุนัขที่ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบจะแสดงอาการ อาเจียนบ่อยครั้ง ท้องเสีย ถ่ายมีมีเลือดปนออกมา อุจจาระมีกลิ่นคาว น้ำหนักลด เซื่องซึม และเบื่ออาหาร

ารรักษาโรคลำไส้อักเสบในสุนัข

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคลำไส้อักเสบโดยตรง สัตวแพทย์จะรักษาตามอาการที่แสดงออก เพื่อลดความรุนแรง และฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกายไปพร้อม ๆ กัน โดยการงดน้ำและอาหารในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากสุนัขแสดงอาการติดเชื้อ เพื่อลดการทำงานของลำไส้ พร้อมกับการให้สารน้ำผ่านทางใต้ผิวหนัง เพื่อรักษาภาวะร่างกายขาดน้ำ ควบคู่กับการให้ยาปฏิชีวนะ

 สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง

สุนัขเป็นลําไส้อักเสบกินอะไรได้บ้าง

ลูกสุนัขที่ป่วยเป็นลำไส้อักเสบควรได้รับอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่ายสำหรับสุนัขป่วย ซึ่งมีจำหน่ายที่โรงพยาบาลสัตว์ และคลินิกสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหาร และร่างกายเริ่มอ่อนแรง ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อให้สัตวแพทย์ช่วยประเมินอาการก่อนให้อาหารเหลว และรับคำแนะนำการดูแลที่เหมาะสมกับสุนัขต่อไป

การป้องกันโรคลำไส้อักเสบในสุนัข

การป้องกันนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการทำวัคซีนให้ครบและตรงตามกำหนด โดยในช่วงที่สุนัขอายุ 2 – 3 เดือน เจ้าของควรเลี้ยงในระบบปิด เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากสุนัขตัวอื่น ๆ รวมไปถึงยังเป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อปรสิตภายนอกอื่น ๆ เช่น เห็บ ไร และหมัด ได้อีกด้วย

ถ้าในบ้านเลี้ยงสุนัขรวมกันหลายตัว และมีสุนัขตัวใดตัวหนึ่งแสดงอาการท้องเสียและอาเจียน ให้แยกสุนัขที่มีความผิดปกติออกจากตัวอื่นทันที เพื่อลดการแพร่เชื้อ

โรคลำไส้อักเสบในสุนัขไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกินไป หรือพยายามรักษาอาการด้วยตัวเอง เนื่องจากสุนัขอาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำมากจนไป และเป็นอันตรายได้ เมื่อเจ้าของสังเกตพบความผิดปกติ ควรรีบพาน้องรับพาน้องไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา หลังจากนั้น เจ้าของควรดูแลสุขภาพของสุนัข

ข้อมูลอ้างอิง

petMD – Parvovirus in Dogs


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ โปรแกรมการฉีดในสุนัขและแมว