พูดคุยกับสองพี่น้องศรหิรัญจาก อาคารชัยพัฒนสิน สู่ The Corner House 

room ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับสองพี่น้อง คุณปิ๊ง ฐิติภา และคุณแชมป์ สุกฤษฐิ์ ครอบครัวศรหิรัญ ทายาทอาคารชัยพัฒนสินรุ่นปัจจุบัน ที่มาบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในชื่อใหม่ The Corner House มีที่มาที่ไปอย่างไรในบทความนี้กันได้เลย

The Corner House


Q: ที่มาจุดเริ่มต้นจากตึกเก่ากว่า 100 ปี อาคารชัยพัฒนสินสู่การปรับปรุงรีโนเวตให้กลายมาเป็นคอมมูนิตี้ในชื่อ The Corner House
A: จากธุรกิจน้ำอัดลมสู่ธุรกิจรองเท้าจัมพ์มาสเตอร์ของคุณตาครอบครัวศรหิรัญ ที่ปรับให้เป็นรองเท้าทางเลือกมีไลฟ์สไตล์มากขึ้น เป็นมากกว่ารองเท้าสีโมโนโทน ขาว ดำ น้ำตาล ตอบโจทยไลฟสไตล์มีความแฟชั่นมากขึ้นในยุค 70s – 80s โดยให้นิยามตัวแบรนด์ว่า “สวย เด่น ล้ำ”

ทั้งคุณแชมป์และคุณปิ๊งสองพี่น้องครอบครัวศรหิรัญ เห็นความตั้งใจของคุณตาที่สร้างแบรนด์ขึ้นมาจากแพชชั่นโดยกล่าวว่า “ ถ้าแบรนด์นี้มันหายไปพร้อมกับตัวอาคารตามกาลกาลเวลานั้นน่าเสียดาย เพราะทั้งตัวอาคารสถาปัตยกรรมนี้ก็มีเรื่องราวก่อนที่คุณตาจะมาทำแบรนด์รองเท้า ตั้งแต่สมัยเป็นธุรกิจน้ำอัดลม เราอยากนำแพชชั่นความตั้งใจนี้มาทำใหม่ให้ชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง ให้ผู้คนได้รับรู้ประวัติความเป็นมา และเราอยากต่อยอดคำว่า “สวย เด่น ล้ำ” หรือไลฟ์สไตล์ในยุคนั้นทำอย่างไรให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบันในปี 2023 นี้ได้ “


#ที่มาชื่อThe_Corner_House
จากอาคารชัยพัฒนสิน เป็น อาคารชัยพัฒนศิลป์ ที่เร็พพรีเซ็นต์การเข้าถึงศิลปะ ขับเคลื่อนด้วยอาร์ต ซึ่งชื่อนี้ที่เราอยากให้มีความโกลบอล สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาโดยที่ไม่ต้องบอกสถานที่เจริญกรุง หรือตลาดน้อย อยากให้พื้นที่นี้มีความเป็น Destination ในตัวเอง ด้วยโลเคชั่นอยู่ตรงหัวมุมถนนพอดีจึงได้ชื่อว่า The Corner House 

The Corner House


#ที่มาของคอมมูนิตี้
“เริ่มจากที่เราสังเกตว่าปัจจุบันคนเมืองไม่ได้มีสเปซให้พบปะกับเพื่อน พื้นที่ที่ให้ออกมาใช้ชีวิตเอ็นจอยกับสิ่งเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ต่าง ๆ นอกเหนือจากสถานที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า หรือ exhibition hall ที่ค่อนข้างเป็นอีเว้นท์งานใหญ่ ๆ ซึ่งเมื่อเราได้ไปเที่ยวต่างประเทศนั้น เราเห็นวัฒนธรรมของคอมมูนิตี้ของประเทศต่าง ๆ ที่เราตั้งคำถามว่าเขาทำอย่างไรให้มันแข็งแรง ย่านคอมมูนิตี้ต่าง ๆ ของเขามีความเร็พพรีเซ็นต์ความเป็นคอมมูนิตี้ย่านนั้นจริง ๆ หากว่าบ้านเรามันมีสเปซที่ส่งเสริมให้กับคอมมูนิตี้เหล่านั้น ให้คุณค่ากับสิ่งครีเอทีฟ น่าจะส่งผลดี เกิดแรงกระตุ้น แรงผลักดันให้กับคนรุ่นใหม่ที่เขามีแพชชั่นสามารถต่อยอดความเป็นไปได้ จึงเป็นที่มาของ The Corner House และให้คำนิยามว่า Urban Lifestyle Community ด้วยแรงผลักดันความครีเอทีฟของเราทั้งคู่ที่มีแพชชั่นและทำงานด้านดีไซน์ เป็นตัวขับเคลื่อน เป็นกลไลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ช่วยผลักดันคอมมินตี้ในประเทศไทยให้แข็งแรงมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”

The Corner House


Q: ทำไมต้องเป็น Urban Lifestyle Community
A: คำว่าคอมมูนิตี้มอลหรือคอมมูนิตี้สเปซมีแพร่หลายในประเทศไทย แต่เราจะพรีเซ็นต์ตัวเองออกมาอย่างไรให้เป็นพื้นที่คอมมูนิตี้จริง ๆ เราจึงตั้งคำถามและตีโจทย์ออกมาว่าทำอย่างไรให้คนนภายนอกรู้จัก และเข้าใจเรา ซึ่งเราได้ทำงานร่วมกับกลุ่มคนที่ทำงานด้านมิวสิคอาร์ตที่นิยามตัวเองด้วยคำว่า “abandon” ที่มีกลุ่มบุคคุลศิลปินไม่ว่าจะเป็น ศิลปินสตรีทอาร์ต ดีเจ โลคอลอาร์สติส ที่อยู่ในคอมมูนิตี้ของเขา และเราสามารถดึงศักยภาพของเขามาอยู่พื้นที่ได้ตามที่เราตั้งใจนำจะเร็พพรีเซ็นต์ออกมา

The Corner House



Q: Co-playing Space คืออะไร แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร ทำไมถึงเลือก Such A Small World มาอยู่ในคอมมูนิตี้นี้
A: พาร์ทของ Such A Small World พื้นที่ Co – Playing Café ซึ่งได้คุณพอล สิริสันต์ ผู้เป็นหัวเรือบุกเบิกของพื้นที่นี้ เริ่มแรกเราได้มีโอกาสคุยกันเรื่องคอมมูนิตี้ถึงความเป็นไปได้และเรามีวิชั่นเป้าหมายแนวทางที่ค่อนข้างจะตรงกัน Such A Small World เหมือนเป็นเป็นนตัวจิ้กซอลที่เข้ามาเต็มเติมพื้นที่ของอาคารนี้ทำให้ภาพรวมคอมมูนิตี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น Co – Playing Café ที่เป็นสเปซให้คนเมืองได้เข้ามาเอ็นจอยกับเพื่อนในห้องนั่งเล่น มาดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ เราจึงให้พื้นที่ตรงนี้เขาเต็มฟลอร์ชั้น 3 ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกก็มีอย่างครบครันและตอบโจทย์อย่างลงตัว

The Corner House


Q: มองเห็นศักยภาพของพื้นที่ตลาดน้อยอย่างไรในประเด็นมุมมองทั้งด้านธุรกิจและดีไซน์
A: ความเป็นคอมมูนิตี้ในตลาดน้อยที่อยู่ในเจริญกรุงนั้นเป็นย่านนการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตอยู่แล้ว ซึ่งตลาดน้อยเขามีความแข็งแรงอยู่แล้วประมาณนึง เราเข้ามาพัฒนนาตรงส่วนนี้ไม่ได้คิดจะแย่งพื้นที่ธุรกิจของเขา ไม่ว่าจะเป็นร้านเหล็ก ร้านก๋วยเตี๊ยว ร้านค้าต่าง ๆ ที่อยู่คู่ย่านมาช้านาน เราเข้ามาเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงซึ่งกันและกัน อีกด้านหนึ่งรามองว่าเรามาเพิ่มความกลมกล่อมและมีความแตกต่างในมิติที่หลากหลาย เราไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องเข้ามาแทรกแซงหรือแย่งลูกค้ากัน แต่เราจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตลาดน้อยด้วยเช่นกัน

The Corner House
พื้นที่ชั้น 2 เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานแและนิทรรศการศิลปะ ที่จะมีการหมุนเวียนปรับเปลี่ยนใหม่ตลอดเวลา


Q: นอกจากศักยภาพของพื้นที่ที่ได้กล่าวมาแล้ว มุมมองทั้งด้านธุรกิจและด้านงานออกแบบ เรานำแนวคิดเข้ามาผนวกเข้าด้วยกันอย่างไรบ้าง
A: เราพัฒนาจากอาคารชัยพัฒนสิน เรายึดอยู่ 4 หลักคือ lifestyle, space, community, art and culture เราไม่ได้วางตัวเป็น landlord ส่วนอาคารสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเราอยากเก็บรักไว้ เราจึงเก็บโครงสร้างเดิมไว้ทุกอย่าง แต่ด้วยอาคารที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เราจึงต้องปรับปรุงรีโนเวตบางส่วนโดยได้สตูดิโอสถาปนิก IF (Integrated Field) เข้ามาช่วยด้านการออกแบบ ศึกษาประวัติศาสตตร์และเรื่องราวของพื้นที่โดยมีแนวคิดให้ความรู้สึกจากบริบทด้านนอกไหลเข้าสู่พื้นทีภายใน เราเลือกใส่ใจรายละเอียดที่นำมาอินทิเกรตเข้าด้วยกัน คือหินขัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต คือเพิ่มสีของเรซิ่น สีส้ม สีแดง สีเหลือง แทรกเข้าไปทำให้กลมกลืนกับพื้นของเดิม เราอยากให้คนรุ่นใหม่มองเห็นความเป็นไปได้ว่าสามารถนำของเก่าปรับปรุงใหม่เป็นอาคาร mixed-use ได้ซึ่งเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งนั้นมากกว่าทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่ ต่อยอดจากสิ่งเดิมทำให้ดูโมเดิร์นทันสมัยขึ้นได้จากงานออกแบบไม่ว่าจะเป็นการเติมฝ้าไม้ ดีไซน์ไลท์ติ้งใหม่ ที่ให้ความรู้สึก cozy homey ความรู้สึกที่จะมาเล่นพักผ่อนที่นี่นั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้เรายังได้รับการสนับสนุนจากทางกทม. ด้วยศักยภาพของพื้นที่เขาผลักดันให้ย่านนี้เป็น creative district อยู่แล้วเช่นกัน และพื้นที่ของเราที่อยู่บริเวณหัวมุมก็เสมือนเป็นประตูทางเข้าของย่านนี้ไปโดยปริยาย

สุดท้ายนี้ The Corner House จะเป็นพื้นที่แหล่งรวมนักสร้างสรรค์ พื้นที่คอมมูนิตี้เพื่อได้มาพบปะเจอเพื่อน ๆ เสพงานศิลปะบนพื้นที่ชั้น 2 ที่จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนนิทรรศการใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจครบครันไปด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเพื่อนบ้านที่เปิดต้อนรับรับแขกอย่างยินดีแน่นอน!


เรียบเรียง: Lily J.
ภาพ: นันทิยา

ช่างภาพสถาปัตยกรรม วิชาชีพที่ไม่มีสอน ฟัง วิสันต์ ตั้งธัญญา บอกเล่าประสบการณ์กว่า 25 ปี