ต้นบุหงาลลิษา ไม้หอมชนิดใหม่ของโลก

ต้นบุหงาลลิษา นักวิจัย มช. พบพืชดอกหอมชนิดใหม่จากจังหวัดนราธิวาส ตั้งชื่อจาก ลิซ่า Blackpink ศิลปินคนไทยซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของนักศึกษา ป.เอก ที่ร่วมทีมวิจัย

ต้นบุหงาลลิษา
ดอกบุหงาลลิษา

ต้นบุหงาลลิษา ที่นักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT : Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ใน จ.นราธิวาสบุหงาลลิษานักวิจัยสังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ. ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู น.ส.อานิสรา ดำทองดี นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์ และนายอับดุลรอแม บากา นักวิจัยสังกัดกลุ่มวิจัยอิสระ PDiT : Plant Diversity in Thailand พร้อมผู้ร่วมวิจัยอีกหลายคน ร่วมกันศึกษาตัวอย่างพืชดอกหอมวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ใน จ.นราธิวาส

พบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกจำนวน 1 ชนิด คือ บุหงาลลิษา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Friesodielsia lalisae Damth., Baka & Chaowasku โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ลลิษา มโนบาล หรือลิซ่า ศิลปินชื่อดังชาวไทยวง Blackpink ซึ่งความมุ่งมั่นของลิซ่านั้นเป็นแรงบันดาลใจในการศึกษาระดับปริญญาเอกของ น.ส.อานิสรา

“บุหงาลลิษา” มีลักษณะเด่น คือ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกหนา สีเหลือง กลีบชั้นนอกเรียวยาว กลีบชั้นในประกบกันไม่บานออก มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของกลีบชั้นนอก

ผศ. ดร.ธนวัฒน์กล่าวว่า จากการสำรวจพบบุหงาลลิษาเพียง 2 ต้นในป่าทุติยภูมิใกล้สวนยางและสวนผลไม้ในอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ถูกตัดไป 1 ต้น ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์บุหงาลลิษา ก่อนที่จะเหลือเพียงชื่อ “บุหงาลลิษาสามารถพัฒนาเป็นไม้ดอกหอมเพื่อเลื้อยพันซุ้มได้ และควรศึกษาต่อยอดเพื่อหาสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบยาใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต”

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยอนุกรมวิธานและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพรรณไม้วงศ์กระดังงาในประเทศไทยที่หายากและยังไม่เป็นที่รู้จัก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)


บทความที่เกี่ยวข้อง

พรรณไม้ดอกหอมที่หายาก

20 ต้นไม้ฟอกอากาศ ปลูกในบ้านก็ได้ ตกแต่งออฟฟิศก็สวย