3 เทคนิคการเจาะผนังปูน ไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย

เคยไหม? ใช้สว่าน เจาะผนังปูน แล้วฝุ่นฟุ้งกระจายเลอะเทอะพื้นบ้าน วันนี้เรามี 3 เทคนิคการเจาะผนังให้ฝุ่นไม่ฟุ้งกระจายแบบง่ายๆ มาฝากกัน วิธีที่ 1 – ถุงแกง แรงฤทธิ์ หาจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการ เจาะผนังปูน แล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นใช้เทปกาวสองหน้าอย่างบางที่ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 1 นิ้ว มาปิดทับจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ ลอกกระดาษกาวอีกชั้นออกมา หรือจะนำไปติดที่ถุงพลาสติกใสก่อนก็ได้ (แล้วแต่ความถนัด) นำถุงพลาสติกใสหรือถุงใส่แกงขนาด 4X6 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ มาปิดทับเทปกาวสองหน้า โดยให้ถุงพลาสติกอยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง แล้วใช้มือดึงถุงให้พองตัวขึ้นมาเล็กน้อย ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกให้เป็นรูกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อให้ดอกสว่านสามารถผ่านถุงเข้าไปได้สะดวก (ถุงพลาสติกจะได้ไม่พันกับดอกสว่าน) และปิดปากถุงให้สนิท ใช้สว่านเจาะผนังปูนผ่านถุงพลาสติกเข้าไปที่ตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้แล้ว แค่นี้ฝุ่นและเศษวัสดุต่างๆก็จะรวมอยู่ในถุงพลาสติกนั่นเอง ไม่ฟุ้งกระจายให้เหนื่อยใจ TIPS – แนะนำให้ทาโลชั่นบางๆ ไว้ภายในถุงพลาสติก จะช่วยเก็บฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายได้ดีขึ้น วิธีที่ 2 – ขวดน้ำพลาสติกดักฝุ่น เจาะขวดน้ำพลาสติกเปล่าขนาดประมาณ 1.5 ลิตร บริเวณจุดกึ่งกลางของขวด โดยใช้คัตเตอร์หรือกรรไกรมาตัดให้มีความกว้างประมาณ 7X7 เซนติเมตร […]

จัดการบ้านอย่างไร เมื่อต้องเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5

ตอนนี้ชาวกรุงเทพฯคงกำลังหนักใจกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกที นอกจากต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตอนออกนอกบ้านแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะจัดการกับภายในบ้านอย่างไรดี การแก้ปัญหา ฝุ่นPM2.5 ในบ้าน แม้ว่าสภาพอากาศภายในบ้านที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดตลอดเวลามักมีปริมาณฝุ่นน้อยกว่านอกบ้านก็จริง แต่เราต้องเผชิญกับปัญหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงเกินไปแทน ผู้เขียนเคยทำการทดลองในห้องนอนของคอนโดมิเนียมพักอาศัยขนาด 3 x 3 เมตร จำนวนคนใช้งาน 2 คน เมื่อปิดประตูหน้าต่างและเปิดระบบปรับอากาศแล้วพบว่าหลังจากใช้งานไปเพียง 6 ชั่วโมง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มจาก 300 PPM พุ่งขึ้นไปเป็นมากกว่า 1,000 PPM และบางครั้งมากถึง 2,000 PPM เลยทีเดียว (PPM = Part Per Million หรือ หนึ่งส่วนในล้านส่วน) ซึ่งตามข้อกำหนดนั้นค่านี้ไม่ควรเกิน 1,000 PPM และถ้าให้ดีควรน้อยกว่า 800 PPM เนื่องจากบ้านพักอาศัยและห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียมไม่มีระบบเติมอากาศจากภายนอกเหมือนอาคารสาธารณะ แต่มักใช้การรั่วของอากาศตามช่องประตูหน้าต่าง หรือการเปิดประตูหน้าต่างในการใช้งานปกติช่วยนำอากาศใหม่เข้ามาเติมในห้องเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก็เป็นจุดที่ฝุ่นอันตรายไหลเข้ามาในบ้านได้ แต่อากาศภายในบ้านนิ่งกว่านอกบ้าน ทำให้ฝุ่นที่หลงเข้ามาตกลงบนพื้นได้เร็ว แนะนำให้เปิดประตูหน้าต่างบ้างตามความจำเป็น เพื่อให้มีอากาศใหม่เข้ามาเจือจางอากาศภายใน เป็นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และควรเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวภายในบ้านด้วยผ้าชุบน้ำให้บ่อยขึ้น […]