ปลากัด จ้องตากันแล้วท้องจริงหรือ?

“นี่ชั้นไม่ปลากัดนะ จะได้จ้องตาแล้วท้องอะ” ประโยคที่หลาย ๆ คนก็คุ้นหู แล้วมันเป็นเรื่องจริงรึป่าวนะ? บ้านและสวน Pets หาคำตอบมาให้แล้ว นอกจากนั้นก็มาชมความสวยงามของ สายพันธุ์ปลากัด ต่าง ๆ กันด้วยเลย ปลากัด จ้องตากันแล้วท้อง ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดจ้า เพราะปกติแล้ว ปลากัดตัวผู้จะจ้องตาตัวเมีย เพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียสร้างไข่ในท้องเท่านั้น ก่อนที่ตัวผู้จะทำการรัดตัวเมียเพื่อให้ไข่ออกมา จากนั้นตัวผู้จึงปล่อยน้ำเชื้อใส่ไข่ แล้วอมไข่ไปพ่นติดกับหวอดที่ก่อไว้บริเวณผิวน้ำ ทำขั้นตอนทั้งหมดนี้ซ้ำ ๆ จนไข่ของตัวเมียหมดท้อง และสุดท้ายตัวผู้ก็จะคอยดูแลจนกว่าไข่จะฟักออกมาเป็นตัว ทั้งหมดนี้เรียกว่าการปฏิสนธิภายนอกนั่นเอง เมื่อรู้คำตอบแล้ว เรามาดูเรื่องราวและความสวยงามของ สายพันธุ์ปลากัด ชนิดต่าง ๆ กันต่อเลยดีกว่าค่ะ เผื่อเป็นสัตว์เลี้ยงอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สร้างความเพลิดเพลินให้เราได้เลยนะคะ ประเภทและ สายพันธุ์ปลากัด ปลากัดที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด  ซึ่ง 2 ชนิดที่นิยมนำมากัดกัน แต่ไม่นิยมนำมาเลี้ยงหรือปรับปรุงพันธุ์นั้น ชนิดแรกคือปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ (Betta imbellis) และอีกชนิดหนึ่งเป็นปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน (Betta smaragdina) ในระยะหลัง ได้มีการนำปลาป่าพื้นเมืองภาคใต้มาผสมข้ามสายพันธุ์บ้าง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่กัดเก่ง […]

Siamese Fighting Fish ปลากัด : นักสู้แห่งแดนสยาม

ปลากัด หรือ เบ็ตต้า (Betta) หรือรู้จักกันในชื่อ Siamese Fighting Fish  เป็นปลาสีสันสวยงามที่เรามักเห็นว่ายอย่างโดดเดี่ยวในขวดซึ่งครั้งหนึ่งเคยใส่เหล้าหรือแจกันที่ตั้งไว้ในบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ปลากัดเป็น สัตว์น้ำประจำชาติไทย  ความเป็นมา: ปลากัดพบครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ตามท้องไร่ท้องนา หรือแอ่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ปลากัดจึงคุ้นเคยกับสภาวะน้ำท่วมและความแห้งแล้งที่รุนแรงได้ จากวงจรความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้ปลากัดปรับตัวและกลายเป็น labyrinth fish คือมีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้ ใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป สิ่งนี้จึงทำให้ปลากัดและปลาอีกหลายชนิดมีชีวิตอยู่ได้ในเวลามีน้ำน้อย นี่เป็นการอธิบายว่า ทำไมปลากัดจึงอยู่นิ่งๆ ในเวลาที่ขาดน้ำ ทั้งยังทนอยู่ในพื้นที่เล็กๆ และบริเวณที่มีน้ำไม่สะอาดได้ดี การเลี้ยงปลากัดจึงใช้น้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น และชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 28-30  องศาเซลเซียส ชื่อ: ปลากัดหรือเบ็ตต้าได้ชื่อมาจากนักรบเอเชียโบราณ “เบ็ตตาช” (Bettah) ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะการต่อสู้อันดุเดือดของมัน ปลากัดเป็นที่นิยมมาก จากข้อมูลในช่วงศตวรรษที่ 18  พบว่าการกัดปลาเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงของไทย ในอดีตพระมหากษัตริย์สยามจัดตั้งบ่อนกัดปลา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเก็บภาษี นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บันทึกถึงการนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2414  เพาะพันธุ์สำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 และนำไปในเยอรมันนีครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453 สายพันธุ์ปลากัด 1 […]

ปลากัด: นักสู้แห่งแดนสยาม

ปลากัดสยาม (The Siamese Fighting Fish) หรือ เบ็ตต้า (Betta) เป็นปลาสีสันสวยงามที่เรามักเห็นว่ายอย่างโดดเดี่ยวในขวดซึ่งครั้งหนึ่งเคยใส่เหล้าหรือแจกันที่ตั้งไว้ในบ้านหรือสำนักงาน ….พื้นที่เล็กๆ หรือความสวยงามของภาชนะที่จัดหามานี้ทำให้ปลามีความเป็นอยู่ที่ดีได้หรือ…. ….ด้วยนิสัยที่ชอบการต่อสู้ การอยู่เพียงลำพังแบบนี้จะเป็นเรื่องดีรึเปล่า….. ความเป็นมา: ปลากัดพบครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาศัยอยู่ตามท้องไร่ท้องนา หรือแอ่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ปลากัดจึงคุ้นเคยกับสภาวะน้ำท่วมและความแห้งแล้งที่รุนแรงได้ จากวงจรความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้ปลากัดปรับตัวและกลายเป็น labyrinth fish คือมีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้ ใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป สิ่งนี้จึงทำให้ปลากัดและปลาอีกหลายชนิดมีชีวิตอยู่ได้ในเวลามีน้ำน้อย นี่เป็นการอธิบายว่า ทำไมปลากัดจึงอยู่นิ่งๆ ในเวลาที่ขาดน้ำ ทั้งยังทนอยู่ในพื้นที่เล็กๆ และบริเวณที่มีน้ำไม่สะอาดได้ดี การเลี้ยงปลากัดจึงใช้น้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น และชอบอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 28-30  องศาเซลเซียส ชื่อ: ปลากัดหรือเบ็ตต้าได้ชื่อมาจากนักรบเอเชียโบราณ “เบ็ตตาช” (Bettah) ที่เรียกเช่นนี้ก็เพราะการต่อสู้อันดุเดือดของมัน ปลากัดเป็นที่นิยมมาก จากข้อมูลในช่วงศตวรรษที่ 18  พบว่าการกัดปลาเป็นกีฬาที่มีชื่อเสียงของไทย ในอดีตพระมหากษัตริย์สยามจัดตั้งบ่อนกัดปลา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเก็บภาษี นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บันทึกถึงการนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อปี พ.ศ. 2414  เพาะพันธุ์สำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 และนำไปในเยอรมันนีครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2439 […]