รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร    บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย  อ่านต่อ  2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]

บ้านไทยพื้นถิ่น จากวัสดุสมัยใหม่ที่ผสานกันอย่างลงตัว

จากภูมิปัญญาการสร้าง บ้านไทยพื้นถิ่น และการนำวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กมาผสมผสานได้อย่างลงตัว โดยมีสถาปนิกเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้และควบคุมทุกอย่างให้ตอบโจทย์

เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูง พื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น

จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้