MY MONTESSORI GARDEN เรียนรู้อย่างอิสระในโรงเรียนสีเขียว

โรงเรียนทางเลือก แนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) ในประเทศเวียดนาม ที่ปลูกฝังให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติอย่างอิสระ โรงเรียนทางเลือก แห่งนี้มีชื่อว่า  My Montessori Garden ตั้งอยู่ในเมืองฮาลอง จังหวัดกวางนินห์ ประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นโดยเน้นการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาที่มีต้นกำเนิดในยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้รับการพัฒนาในเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเน้นการเรียนการสอนที่เคารพความเป็นอิสระของเด็ก พร้อม ๆ กับสร้างสภาพแวดล้อมให้พวกเขาได้สำรวจและสัมผัสโลกผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เหมาะเป็นหลักสูตรสำหรับเด็กวัยอนุบาล ที่ควรได้รับการปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็นลงไปในตัวเด็ก ๆ ฉะนั้นการออกแบบที่นี่ของทีมสถาปนิกจาก HGAA จึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับปรัชญาการเรียนการสอนดังกล่าว ด้วยการนำพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ๆ มาตั้งเป็นโจทย์ แล้วจึงออกแบบโรงเรียนให้ตอบสนองกับความต้องการของเด็ก ๆ โดยเน้นสร้างอาคารที่มีความเรียบง่ายจากโครงสร้างเหล็ก ซึ่งใช้เวลาการติดตั้งแล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อที่ดินที่เป็นแบบเช่าระยะยาวนี้ให้น้อยที่สุด และหากครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ก็สามารถรื้อถอนเคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่อื่นได้ทั้งหลัง ห้องเรียนจากโครงสร้างเหล็กมีจำนวน 2 ยูนิต ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายและขวาโดยเว้นพื้นที่ตรงกลางไว้เป็นทางสัญจร ด้านบนมีทางเดินเหนือศีรษะเชื่อมต่อถึงกัน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีพื้นที่เดินเล่นมากขึ้น ภายในอาณาเขตของโรงเรียนที่มีเพียง 600 ตารางเมตร เพื่อความปลอดภัยได้ทำราวกันตกจากตะแกรงลวดตาข่าย สร้างความร่มรื่นด้วยพื้นที่สวน 2 […]

ECOKID KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลที่ให้เด็กได้เล่นและฟินกับธรรมชาติ

EcoKid Kindergarten โปรเจ็กต์การ ออกแบบโรงเรียน โดย LAVA ที่เน้นกระตุ้นความปลอดภัยและส่งเสริมการศึกษาอย่างยั่งยืน กับการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ผ่านกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในเมือง Vinh ใกล้กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เด่นด้วย การออกแบบโรงเรียน ให้มีอาคารเป็นรูปครึ่งวงกลมสามหลังในสามระดับที่เชื่อมโยงกันด้วยสะพาน ซึ่งมีทั้งสร้างบนพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งที่เชื่อมต่อกันอย่างสนุกสนานและปลอดภัย ขณะที่งานสถาปัตยกรรม Chris Bosse ผู้อำนวยการ LAVA กล่าวว่า“ ภาษาในการออกแบบเราเล่าผ่านรูปทรงออร์แกนิกที่เรียบง่าย แล้วแต่งแต้มสีสันในส่วนของกรอบหน้าต่างวงกลมที่กระจายอยู่รอบอาคารเพื่อให้มีความโดดเด่น” “โครงการการศึกษาในทุกวันนี้ ท้าทายให้เราตั้งคำถามถึงวิธีการสอนและการเรียนรู้ แทนที่โรงเรียนจะเป็นเหมือนกล่องอาคาร และห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่มีเด็ก ๆ นั่งเรียงอยู่หน้ากระดาน เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเกิดความอยากรู้อยากเห็น แล้วนำไปสู่การค้นพบที่มีค่า ได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติผ่านการเรียนรู้ที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ อิงตามรูปทรงโครงสร้างที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ อยากเล่น เรียน และสำรวจอย่างสนุกสนาน” อาคารต่าง ๆ ได้รับการกำหนดบริบทตามขนาดของภูมิทัศน์เมืองโดยรอบ รูปทรงโค้งช่วยให้สามารถชื่นชมทัศนียภาพของทะเลสาบ Goong ที่อยู่ติดกันได้อย่างเต็มตา พื้นที่ในร่มกับลานกิจกรรมแต่ละแห่งเน้นความแตกต่างกัน หน้าต่างที่ชั้นล่างมีความสูงและขนาดที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มอายุ สีของกรอบหน้าต่างดูโดดเด่นบนพื้นหลังสีขาว ทำให้สถานที่มีความน่าสนใจสำหรับเด็ก […]

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]