LITTLE STOVE & LITTLE STUMP คาเฟ่และเพลย์กราวด์บรรยากาศราวกับอยู่ในโลกนิทาน

Little Stove & Little Stump อีกสถานที่พักผ่อนดี ๆ ในย่านพระราม 2 ซอย 33 หรือวัดยายร่ม ที่มีทั้งคาเฟ่และสถานที่เล่นของเด็ก ๆ ตอบโจทย์คนทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่กำลังมองหาพื้นที่สำหรับมาใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในวันหยุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: NITAPROW Architects คุณพราว-พราว พุทธิธรกุล สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Little Stove & Little Stump จาก NITAPROW Architects และคุณพีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ สองพาร์ตเนอร์จากทั้งหมด 5 ท่าน เล่าถึงที่มาของที่นี่ให้ฟังว่า เริ่มต้นมาจากครอบครัวของทั้งคุณพราวและคุณพีชที่ต่างก็เป็นคุณแม่ จึงมีความเห็นร่วมกันว่า ควรมีพื้นที่สาธารณะที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่มีลูกเล็ก ๆ จากแนวคิดดังกล่าวจึงนำมาคุยกันในกลุ่มพาร์ตเนอร์ว่า เมื่อเด็ก ๆ อ่านหนังสือ พวกเขามักจินตนาการเป็นเรื่องราวต่าง ๆ จึงเห็นว่า “นิทาน” เป็นการสื่อสารที่ดีสำหรับเด็ก เกิดเป็นแนวคิดการสร้างนิทานที่เกี่ยวข้องกับที่นี่ ด้วยการติดต่อไปยังสำนักพิมพ์สานอักษร แล้วเล่าไอเดียให้แก่นักเขียนนิทานและนักวาดภาพประกอบฟัง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริง จนเกิดหนังสือนิทานเรื่อง “บ้านตอไม้กับสหายนักซ่อม” […]

ASTON GILBERT คาเฟ่นครศรีฯ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติกลางสวนป่ายางพารา

Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]