เบญจมาศ

เบญจมาศ
เบญจมาศ

Chrysanthemum
ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysanthemum x grandiflorum Ramat.
วงศ์: Asteraceae
ประเภท: มีทั้งไม้ดอกล้มลุกและอายุหลายปี
ลำต้น: ต้นเป็นพุ่มแตกกิ่งก้านไม่มากนัก ทุกส่วนมีขนละเอียด
ใบ: ใบเดี่ยวเรียวยาว ขอบใบหยัก สีเขียวเข้ม มีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันไปตามพันธุ์
ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ไม่มีเกสรเพศผู้ มีรูปทรงและสีสันของกลีบดอกแตกต่างกันไป ดอกชั้นในเรียงกันแน่นที่กึ่งกลางดอก

ผล: ผลแห้ง มีเมล็ดเดียว เมล็ดมีขนแข็งติดอยู่
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ดินร่วนปนทรายระบายน้ำดี
แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือแยกกอ
การใช้งานและอื่นๆ: เบญจมาศเป็นไม้ดอกที่สวยงามทั้งสีสัน ลักษณะ และขนาด สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ในเมืองไทยพบปลูกมานานแล้ว เริ่มจากปลูกเป็นไม้กระถาง ก่อนปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้า ปัจจุบันมีผู้นำพันธุ์ลูกผสมใหม่จากต่างประเทศเข้ามาปลูก และคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของไทย
เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในจีนและญี่ปุ่น เบญจมาศมี 2 สกุลคือ Chrysanthemum และ Dendranthema แต่นิยมเรียกชื่อ Chrysanthemum หรือมัม เป็นพืชที่กลายพันธุ์ง่ายเมื่อมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอุณหภูมิและช่วงแสงจะทำให้รูปใบ ดอก และสีของดอกเปลี่ยนแปลง