จากความหลงใหลในกิจกรรม แคมปิ้ง ผสมกับนิสัยรักการอ่านและการดื่มชาเป็นชีวิตจิตใจ ถูกนํามาสร้างเป็นคาแร็คเตอร์ให้กับบ้านหลังใหม่ของครอบครัว แม้สไตล์ของบ้านจะทันสมัย แต่ก็ยังมีกลิ่นอายวัฒนธรรมไต้หวันผ่านข้าวของเครื่องใช้ ไม่ต่างจากกลิ่นชาอ่อน ๆ โดยได้ทีมนักออกแบบจาก Ganna Design มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ ให้ออกมากลมกล่อม
“เหตุผลหลักของการย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่ คงเป็นเพราะเรามีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้น จึงอยากเริ่มมองหาบ้านหลังใหม่ที่มีพื้นที่กว้างขวางสําหรับลูก ๆ อีกสองคน และตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของทุกคนได้อย่างเต็มที่ มีมุมนั่งเล่น มุมอ่าน หนังสือ ไปจนถึงมุมดื่มชา ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ ท้ายที่สุดก็มาลงเอยกันที่ย่านมูซา (Muzha) กับอพาร์ตเมนต์ พื้นที่พอเหมาะ แถมยังอยู่ใกล้สวนสาธารณะสําหรับออกไปเดินเล่น ปั่นจักรยาน รายล้อมด้วยธรรมชาติต่างจากตัวเมืองอันแสนวุ่นวาย เราสามารถมองออกไปนอกหน้าต่าง แล้วเห็นต้นไม้ร่มรื่นสบายตา ไม่ต่างกับการได้ออกไป แคมปิ้ง เดินป่าท่ีทุกคนในบ้านต่างชื่นชอบ”
// มุมนั่งเล่นกว้างๆ เป็นอย่างแรกที่เราต้องการ
เพราะอยากให้ทุกคนในบ้านออกมาทำกิกรรมร่วมกันในบริเวณนี้
รวมถึงยังสามารถรองรับเพื่อนๆ ที่แวะมาสังสรรค์เป็นประจำอีกด้วย //
ภายในพื้นที่กว่าหนึ่งร้อยตารางเมตร ได้รับการปรับรื้อเพื่อเปลี่ยนให้ดูโปร่งสบายขึ้น จนลืมภาพเดิมของอพาร์ตเมนต์เก่าไปหมด ตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านด้วยการออกแบบให้มีมุมนั่งเล่นที่เป็นเสมือนมุมอเนกประสงค์ สามารถใช้นั่งเล่น อ่านหนังสือ ดื่มชา ไปจนถึงการสังสรรค์รองรับกลุ่มเพื่อนที่มักแวะเวียนมาหาได้แบบไม่อึดอัด พร้อมโต๊ะยาวกว่า 3 เมตร จัดวางไว้ด้านหน้าชั้นหนังสือเป็นอีกไฮไลต์หนึ่งที่น่าสนใจสําหรับบ้านหลังนี้ ด้านบนทําราวเหล็กแขวนตะเกียงน้ํามัน 7 ดวง ซึ่งเป็นของสะสมของคุณสามี และยังสามารถนําต้นไม้ใบหญ้าเข้ามาตกแต่งสร้างบรรยากาศความร่มรื่นสไตล์แคมปิ้งได้ด้วย
ถัดมาอีกฝั่งคือมุมห้องครัว มีไอส์แลนด์ตั้งไว้ตรงกลาง สามารถนั่งรับประทานอาหาร และปาร์ตี้กันได้อีกมุม ในบริเวณนี้ออกแบบให้มีตู้และชั้นเก็บของครบครันเพื่อให้การจัดเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ดูเป็นระเบียบ แต่ก็ใช่ว่าจะมีแค่เฟอร์นิเจอร์ใหม่เท่าน้ัน เพราะคุณภรรยายังนําเฟอร์นิเจอร์เก่ามาตกแต่งผสมผสานให้มีกลิ่นอายอบอุ่นลงตัว เช่น ตู้ไม้สําหรับเก็บจานชามของคนไต้หวันในสมัยก่อน เธอนํามาประยุกต์ใช้เก็บอุปกรณ์การดื่มชา ต้ังแต่ใบชาชนิดต่าง ๆ ไปจนถึงชุดชงชาที่แยกออกมาจากเครื่องครัวทั่วไปให้เป็นสัดส่วน หยิบใช้งานง่าย ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับห้องที่ตกแต่งด้วยเสื่อทาตามิสําหรับนั่งดื่มชาโดยเฉพาะ
ในส่วนของมุมพักผ่อนอย่างห้องนอน แต่ละห้องแบ่งพื้นที่ออกจากส่วนกลางด้วยประตูบานเลื่อนสีเขียวอ่อนให้ความสดใสต่างออกไป โดยยังคงใช้เฟอร์นิเจอร์เก่าอย่างเตียงไม้โบราณ ชั้นวางแกะสลัก ไปจนถึงผ้าคลุมเตียงลายปักที่สะท้อนวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับความทันสมัยในส่วนของบิลท์อินต่าง ๆ รวมถึงห้องน้ำที่มีการแยกออกเป็นสองห้องเพื่อความสะดวกในการใช้งานสําหรับผู้อยู่อาศัยและแขกที่มาเยือน
คําตอบที่ชัดเจนที่สุดสําหรับบ้านหลังนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของการออกแบบที่ไม่ใช่แค่ยึดหลักการและความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่มาพร้อมกับความชอบและความต้องการของผู้อยู่อาศัย ทําให้ทุกอย่างดูลงตัว ตอบโจทย์ความสุขได้อย่างแท้จริง
เจ้าของ : ครอบครัว Wu
ออกแบบ : Ganna Design (www.ganna-design.com)
เรื่อง-สไตล์ : Gobbi Jirawat
ภาพ : ศุภกร
คอลัมน์ : room to room
room magazine : October 2016
บ้านหลังอื่นๆ จาก Ganna Design