ไอเดีย ฟาซาดอิฐ ไม่ซ้ำใคร! กับ โครงสร้างคอร์เบล

ความสวยงามทางสถาปัตยกรรมนั้นอาจมีเทคนิคหลายวิธีการ อาทิตย์ที่ผ่านมา room ได้นำเสนอผลงานจากวัสดุอิฐที่หลากหลาย วันนี้ room Design Tips จึงขอแนะนำไอเดียงานโครงสร้างจากวัสดุอิฐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังช่วยระบายอากาศ กันแสงแดด หรือความเป็นส่วนตัวให้แต่ละยูนิตในอพาร์ตเมนต์

ไอเดียงานโครงสร้างอิฐวันนี้ จึงมีตัวอย่างผลงาน Sienna Apartments จากสถาปนิก Sameep Padora & Associates ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเมืองไฮเดอราบาด ที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองและสวนสาธารณะที่อยู่ติดกัน ไฮเดอราบาดเป็นหนึ่งในเมืองแรก ๆ ในอินเดียที่เริ่มก่อสร้างอาคารแบบสมัยใหม่

ไฮไลต์ของฟาซาด (façade) ที่ประกอบไปด้วยผนังที่ช่วยป้องกันแสงแดด สถาปนิกได้ทำงานร่วมกันกับช่างก่ออิฐจากเมืองพอนดิเชอร์รี่ ทางตอนใต้ของอินเดีย และออกแบบระบบของผนังที่ทำจากกำแพงอิฐหนา 9 นิ้ว เพื่อรับน้ำหนักของทับหลังที่เป็นหิน หน้าต่างกระจกที่ไม่ได้ถูกใช้งานติดตั้งอยู่ในช่องเปิดที่เกิดจากงานอิฐและส่วนที่ยื่นมาของทับหลัง

โดยใช้เทคนิคโครงสร้างคอร์เบล (โครงสร้างแป้นหูช้าง )ใช้ในการเชื่อมต่อโครงสร้างระหว่าง คาน กับเสาหรือผนังนั้นอย่างสมบูรณ์แบบ ไม้แม่แบบจึงได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ช่างก่ออิฐทำงานด้วย ถือว่าโครงการอพาร์ตเมนต์นี้ประสบความสำเร็จจากการออกแบบเทมเพลตไม้แบบ low-tech ก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่นแบบเรียบง่ายแต่แม่นยำ ด้วยความเชี่ยวชาญของช่าง ทั้งช่างและสถาปนิกจึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย


#รู้หรือไม่
โครงสร้างคอร์เบล ( CORBEL STRUCTURE ) ชื่อในภาษาไทยคือโครงสร้างแป้นหูช้างหรือโครงสร้างคานหูช้าง คือโครงสร้างสั้น ๆ ที่ยื่นออกมาจากโครงสร้างเสา เป็นลักษณะโครงสร้างที่มีลักษณะทางกายภาพที่รับแรงระยะเฉลี่ยรวมที่น้อย ๆ (a)และรับแรงระยะความลึกมาก ๆ (d) ได้ดีกว่า ซึ่งจะตรงกันข้ามทำให้อัตราส่วนคำนวณ a/d นั้นออกมามีค่าน้อยกว่า 1.00 โดยใช้หลักการออกแบบให้โครงสร้างคอร์เบลนั้นเสียหายในรูปแบบของแรงเฉือน – ความเสียดทาน ( SHEAR – FRICTION FAILURE ) โดยรูปแบบการเสียหายของแรงเฉือนนั้นสามารถควบคุมได้ (FAILURE MODE) ให้เป็นการเสียหายในรูปแบบจากแรงดึงเป็นหลัก (TENSION FAILURE) หรือเนื่องจากแรงอัดเป็นหลัก (COMPRESSION FAILURE)

ซึ่งสำหรับกรณีทั่ว ๆ ของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นจากแรงเฉือน และแรงโมเมนต์ดัด กระทำร่วมกันจนทำให้เกิด แรงดึงทแยง (DIAGONAL TENSION) มักจะพบว่าขนาดของรอยร้าวประเภทนี้จะเกิดขึ้นมากหากไม่เสริมโครงสร้างด้วยเหล็กมากพอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่แรงเฉือนจะมีโอกาสสร้างความเสียหายของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมากกว่าโครงสร้างคอร์เบลนั่นเอง

ที่ตั้ง
Hyderabad, Telangana, India


ออกแบบ: Sameep Padora & Associates
ทีมออกแบบ : Mythili Shetty, Vami Sheth, Aparna Dhareshwar, Diane Athiade
เจ้าของโครงการ: Jagdish & Srinivas Idupuganti
Material Brick: Uma Brick Mangalore
Lintel: Sadar Ali Granite
Windows: Technal Windows


ภาพ: Vivek Eadara
เรื่อง: Lily J.