Bioclimatic Community Mosque of Pamulangดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในมัสยิดผ่านอิฐบล็อก 30,000 ก้อน

มัสยิด พื้นที่ทางศาสนาที่เป็นมากกว่าพื้นที่สักการบูชาของชาวมุสลิม แต่ในหลายๆครั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของชุมชน พื้นที่พบปะสังสรรค์ หรือแม้กระทั่งที่พักผ่อนหย่อนใจ

สำหรับ มัสยิด แห่งนี้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของการออกแบบมัสยิด โดยทำให้ตัวเองห่างไกลจากการอภิปรายด้านสถาปัตยกรรมในปัจจุบันตามรูปแบบและเน้นที่สาระสำคัญของพื้นที่ทางศาสนาเท่านั้น

Masjid Darul Ulum Pamulang ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ จึงออกแบบให้ไม่ต้องบำรุงรักษามากนักและพอเพียง เนื่องจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่จาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับความร้อนโดยตรงและมีความชื้นสูง การออกแบบตามสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทาง โดยออกแบบให้ใช้แสงธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของสเปซทั้งข้างในและข้างนอก อย่างการออกแบบพื้นที่ให้เกิดการระบายอากาศที่ดี การออกแบบช่องเปิดด้านข้างและด้านบนสำหรับระบายความร้อน

ด้วยความพยายามที่จะลดต้นทุนในการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพ สถาปนิกจึงตัดสินใจเปลี่ยน 95% ของสิ่งที่ควรจะเป็นพาร์ทิชันอิฐ แล้วแทนที่ด้วยบล็อกช่องลมมากกว่า 30,000 ชิ้น ที่เอื้อให้แสงสว่างเข้าสู่ภายใน ระบายอากาศได้โดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวอยู่ ซึ่งบล็อกนี้ผลิตโดยชุมชนท้องถิ่นเพื่อชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ลืมภาพของมัสยิดแบบโดมที่คุ้นเคย ทั้งยังเสริมด้วยระบบหลังคาเขียวที่ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารโดยตรงและช่วยลดเกาะความร้อนในเมืองที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นนัยยะของการเคลื่อนไหวเพื่อกำหนดนิยามใหม่ของพื้นที่อิสลามในบริบทหลังสมัยใหม่และความต้องการบนพื้นฐานของความจำเป็นที่คุ้นเคย ด้วยความจุที่สามารถรองรับได้ถึง 1,000 คน มัสยิดจึงออกแบบให้ผสานไปกับธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น

มัสยิด

ออกแบบ: RAD+ar (Research Artistic Design + architecture) www.radarchitecture.net
ภาพ: William Sutanto
เรียบเรียง: BRL

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง