เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลก ที่ร่วมแสดงผลงานในงาน BAB 2022 CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

61. Uninspired by Current Events

Uninspired by Current Events
Image courtesy of the artist

ก่อตั้ง พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

Uninspired by Current Events (สารัตถะ จึงเสถียรทรัพย์) เกิด พ.ศ. 2535 บอสตัน แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นศิลปินด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่โพสภาพเรนเดอร์เหนือจริงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นรายวันอยู่เสมอ การรวมศิลปะเข้ากับการเมืองในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายโดยคนหมู่มาก และการโพสรูปเหล่านั้นลงบนเพจของเขา ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่การระบาดใหญ่และความระส่ำระสายการเมืองกำลังอยู่ในจุดสูงสุดในประเทศไทย ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะยืนยันแจง make statementเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ผลงานของเขามักเป็นงานเรนเดอร์รูปโมเดลสามมิติต่าง ๆ มารวมกันอย่างเร่งรีบในรูปแบบเหนือจริง ซึ่งดูคล้ายกับพวกการ์ตูนล้อเลียนการเมือง เว้นแต่ว่างานของเขาจะไม่มีบุคคลในแวดวงการเมืองและคำอธิบาย แต่เขาใช้วิธีการพึ่งพาคอมเมนท์ของผู้คนมาตีความหมายเอง ปัจจุบันศิลปินพำนักและทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

Uninspired by Current Events
Hedge Funds, 2021
Computer graphics
Courtesy of the artist
Uninspired by Current Events
Sour Grapes, 2021
Computer graphics
Courtesy of the artist

62. กวิตา วัฒนะชยังกูร

กวิตา วัฒนะชยังกูร Image courtesy of the artist

เกิดพ.ศ. 2530 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

กวิตา วัฒนะชยังกูร เป็นศิลปินด้านสื่อและการแสดง เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิจิตรศิลป์ จากมหาวิทยาลัย RMIT เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2554  การปฏิบัติการทางศิลปะของกวิตาศึกษาความคลาดเคลื่อนหรือการเชื่อมโยงกันระหว่างแรงงานคนกับเครื่องจักร  ในผลงานศิลปะแสดงสดของเธอ เธอมักแปลงกายเป็นเครื่องจักรหรือสิ่งมีชีวิตไฮบริดดังเช่นหุ่นไซบอร์ก และทำให้ร่างกายของเธออยู่ในตำแหน่งท่าทางลำบากและอยู่ในท่าที่กระทำซ้ำๆ  ผลงานของเธอแสดงให้เห็นถึงการแสวงประโยชน์ การกดขี่ ความอดทนของร่างกาย และเบื้องหลังของความรุนแรงที่ซ่อนอยู่ภายใต้แรงงานสมัยใหม่ในโลกบริโภคนิยมที่เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว ในผลงานของเธอ เธอมักจะกลายเป็นพื้นที่แห่งการต่อสู้และแรงตึงของมนุษย์ระหว่างความเป็นมนุษย์กับการกลายเป็นฟันเฟืองธรรมดาในเครื่องจักรหนึ่ง การแสดงที่สลับฐานะไปมาระหว่างความเป็นมนุษย์กับเครื่องจักรบอกใบ้ถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะเปลี่ยนแปลงและมีวิวัฒนาการ 

กวิตา วัฒนะชยังกูร The Scale of Injustice, 2021
4K Video 
Courtesy of the Artist and Nova Contemporary

กวิตาเป็นที่ยอมรับอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย RMIT ในปี พ.ศ. 2554 และในปี พ.ศ. 2558 เธอก็ได้เป็นไฟนอลลิสต์รางวัล Jaguar Asia Pacific Tech Art Prize อีกด้วย ผลงานของเธอได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงในนิทรรศการ Thailand Eye ที่ Saatchi Gallery ลอนดอน และในปี พ.ศ. 2560 เธอได้จัดแสดงในนิทรรศการ Islands in the Stream ที่เวนิซ อิตาลี ควบคู่ไปกับ 57th Venice Biennale และ Asia Triennale of Performing Arts ที่ the Melbourne Arts Centre และนิทรรศการ Negotiating the Future ที่เทศกาล The Asian Art Biennial ไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2561 เธอได้ร่วมแสดงในเทศกาลบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งที่ 1 และในปี พ.ศ. 2561 กวิตาได้แสดงนิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดของเธอในพิพิธภัณฑ์ Albright Knox Art Gallery นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2564-65 ผลงานชุด Performing Textiles ของเธอร่วมจัดแสดงในนิทรรศการ Collecting Entanglements and Embodied Histories ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ และที Hamburger Bahnhof เบอร์ลิน

63. พิชชาภา หวังประเสริฐกุล

พิชชาภา หวังประเสริฐกุล Image courtesy of the artist

เกิดพ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

พิชชาภา หวังประเสริฐกุล เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ เอกโฆษณา โทจิตวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิชชาภาใช้เวลาวัยเด็กไปกับการประกวดวาดรูปทั้งในและต่างประเทศ และใช้เวลานานกว่านั้นในการลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อที่จะสร้างงานศิลปะในรูปแบบของตัวเอง

พิชชาภาได้รู้จักกับ Performance Art ครั้งแรกเมื่ออายุ 19 ปี หลังจากถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในทีม Facilitator งาน Abramović Method exhibition ในเทศกาลศิลปะนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ปี พ.ศ. 2561 ซึ่งทำให้เธอสังเกตเห็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงและโอกาสในการมีส่วนร่วมของผู้ชมในงานศิลปะแบบแสดงสด

พิชชาภา หวังประเสริฐกุล King of the Playground, 2020
As part of Galleries Night BKK 2020 Body Politic: Out of Picture Performed at Bridge Art Space
Courtesy of the Artist
พิชชาภา หวังประเสริฐกุล The Barricade, 2021
Courtesy of the Artist

พิชชาภาเริ่มแสดงงานศิลปะการแสดงสด ของตัวเองครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2563 โดยชิ้นงานของเธอมักเน้นไปที่การตั้งคำถามต่อพลวัฒของอำนาจ จากความเชื่อที่ว่า การตระหนักถึงอำนาจที่ไม่เท่ากันของมนุษย์ มีผลต่อความคิด ความเชื่อ และมีส่วนผลักดันให้มนุษย์แต่ละคนแสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน ผลงานของพิชชาภาจึงเป็นการจำลองสถานการณ์ ที่เชื้อเชิญให้ผู้ชมเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง และลดอำนาจของศิลปินลง อีกทั้งยังมักพาผู้ชมไปสู่จุดที่ต้องตัดสินใจ ว่าจะตอบโต้กับชิ้นงานอย่างไรนอกเหนือจากในแกลอรี พิชชาภามักแสดงงานตามพื้นที่ที่มีจุดขัดแย้ง หรือมีการปะทะของอำนาจที่ต่างกัน โดยแสดงในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ผลงานที่ผ่านมา เช่น Be a Good Girl ( Kinjai Contemporary, พ.ศ. 2565),  Hello Stranger (​Turner Gallery, โตเกียว, พ.ศ. 2564), Breath, Breathing, Breathe (Bangkok Art and Culture Centre, พ.ศ. 2563), King of the Playground (Bridge Art Space, พ.ศ. 2563) ปัจจุบันพิชชาภาทำงานและอาศัยอยู่กับแมวหนึ่งตัวในกรุงเทพมหานคร

64. ซู เจิน (Xu Zhen)

Xu Zhen
Credit: Photography Thomas Fuesser. Image courtesy of the artist and MadeIn Company

เกิด พ.ศ. 2520 เซี่ยงไฮ้ จีน

แบรนด์ ซู เจิน ก่อตั้งขึ้นโดยศิลปิน ซู เจิน ในปี พ.ศ. 2556 เป็นแบรนด์ศิลปะที่มีความสำคัญและโดดเด่นของเมดอิน คอมปะนี ซู เจิน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นศิลปินและภัณฑารักษ์ระดับแนวหน้าของประเทศจีน รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งเมดอิน คอมปะนี แบรนด์ ซู เจิน มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์งานศิลปะและพัฒนาวัฒนธรรมให้มีความก้าวหน้า ผ่านการรวบรวมและการชื่นชมงานศิลปะและการจัดงานของซู เจิน ผู้มีส่วนร่วมจะได้เพลิดเพลินไปกับความปรารถนาด้านอารมณ์ความรู้สึก และประสบการณ์ชีวิตที่ดีที่สุด

ซู เจิน (ศิลปิน ภัณฑารักษ์ ผู้ก่อตั้งเมดอิน คอมปะนี เกิด พ.ศ. 2520 ปัจจุบันใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในเซี่ยงไฮ้) ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นอย่างมากในแวดวงศิลปะร่วมสมัยของจีน ในปี พ.ศ. 2547 ซู ได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยม จากการประกวดศิลปะร่วมสมัยของจีน (Chinese Contemporary Art Award) ผลงานของเขาครอบคลุมสื่อหลากหลายประเภท ทั้งศิลปะจัดวาง วีดีโอ ภาพวาด และการแสดง เป็นต้น

Xu Zhen In Just a Blink of an Eye, 2005/2019
Performance
Installation view, “Xu Zhen: In Just a Blink of an Eye”, MOCA Grand Avenue, Los Angeles, United States, 2019
Courtesy of The Museum of Contemporary Art. 
Credit: Photography Myles Pettengill
XU ZHEN®
Eternity- Northern Qi golden and painted Buddha, Tang Dynasty torso of standing Buddha from Quyang city, Northern Qi painted Bodhisattva, Tang Dynasty seated Buddha from Tianlongshan, Northern Qi painted Buddha, Tang Dynasty torso of a seated Buddha from Tianlonshan grotto No. 4, Parthenon East pediment. 2013-2014
Glass fiber-reinforced concrete, marble grains, sandstone grains, limestone grains, chalk, steel, mineral pigments

ซู เจิน ได้แสดงผลงานในระดับนานาชาติหลายครั้ง ทั้งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานเบียนนาเล่ เช่น เวนิสเบียนนาเล่ (พ.ศ. 2544 และ 2548) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (นิวยอร์ก พ.ศ. 2547) พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ (โตเกียว พ.ศ. 2548) MoMA PS1 (นิวยอร์ก พ.ศ. 2549) เทต ลิเวอร์พูล (พ.ศ. 2550) เฮย์เวิร์ดแกลลอรี่ (ลอนดอน พ.ศ. 2555) ลียงเบียนนาเล่ (พ.ศ. 2556) ดิ อาร์มอรี่ โชว์ (นิวยอร์ก พ.ศ. 2557) ลอง มิวเซียม (เชียงไฮ้ พ.ศ. 2558) ศูนย์ศิลปะอัล ริวัค (กาตาร์ พ.ศ. 2559) ซิดนีย์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2559) พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ (นิวยอร์ก พ.ศ. 2560) ซาร์จาห์เบียนนาเล่ (พ.ศ. 2562) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (ลอส แอนเจลิส พ.ศ. 2562) หอศิลป์แห่งชาติออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา พ.ศ. 2563) และอื่น ๆ

65. เคนเนดี ยานโค (Kennedy Yanko)

Kennedy Yanko Credit: NOEMAD

เกิด พ.ศ. 2531 เซนต์หลุยส์ มิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา

เคนเนดี ยานโค เป็นศิลปินที่ทำงานประติมากรรมและศิลปะจัดวางที่ทำงานจากเหล็กเก่าสีทาพื้นผิว 

ยานโคปรับใช้วัสดุเหล่านั้นของเธอในทางที่ทำให้สามารถค้นหาข้อจำกัดของการมองเห็น และเน้นย้ำถึง โอกาสที่เราอาจพลาด หากเราใช้เพียงแค่ตามองเท่านั้น กระบวนการของเธอสะท้อนให้เข้าถึงงานแบบนามธรรม ทั้งแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสและเซอร์เรียลลิสคู่ขนานกัน ซึ่งมีจุดเหมือนกันคือปัจจัยในการมองเห็นและมองไม่เห็นที่ส่งผล สนับสนุน และกำกับประสบการณ์ของมนุษย์ในปี พ.ศ. 2562 ยานโคได้เปิดตัวงานแสดงเดี่ยวสามงาน ซึ่งคือ Highly Worked (เดนนี่ ดิมิน แกลเลอรี นิวยอร์ก) Hannah (กาวี คุปตา ชิคาโก) และ Before Words (ยูไอซีเอ แกรนด์ราปิดส์) และได้ติดตั้งประติมากรรมในพื้นที่สาธารณะเป็นครั้งแรกคือ 3 WAYS ณ พอยดรัส คอร์ริดอร์ ใน นิวออร์ลีนส์ ร่วมสร้างกับมูลนิธิเฮลิสและพิพิธภัณฑ์ศิลปะออกเดน ในปี พ.ศ. 2563 ยานโคได้เปิดงานแสดงเดี่ยวสองงานคือ Because it’s in my blood (แกลเลอเรีย พอกญิอาลิ มิลาน) และ Salient Queens (วีลเมตเตอร์ แกลเลอรี ลอสแองเจลลิส)

เธอยังได้รับเลือกเป็น “Critics Pick” จากอาร์ตโฟรัมในปี พ.ศ. 2562 และได้ร่วมอยู่ใน 100 สคัลป์เจอร์ออฟทูมอร์โรว์ ตีพิมพ์โดย เทมส์แอนด์ฮัดสัน เมื่อไม่นานมานี้เคนเนดี ยานโคเป็นศิลปินพำนักที่พิพิธภัณฑ์รูเบลล์

Kennedy Yanko K, July 2020
Paint skin, metal 72 x 40 x 20 in
Photo: Robert Wedemeyer Courtesy of Vielmetter Gallery

นิทรรศการที่แสดงกับสถาบันของเธอ รวมถึง Parallels and Peripheries (พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยดีทรอยต์) มีแลรี ออสเส-เมนซาห์เป็นภัณฑารักษ์ Life During WarTime มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา มี คริสเตียน วิเวอโรส-ฟอน เป็นภัณฑารักษ์

ผลงานของเธอได้ร่วมอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชนที่มีชื่อเสียงด้วย ได้แก่ เดอะบังเกอร์อาร์ตสเปซ เวสท์ปาล์มบีช (ของ เบธ รูดิน เดอวูดดี) เอสปาซิโอ ทาคูอารี บัวโนสไอเรส (ของ ฮวน แวร์เกซ และแพทริเซีย เพียร์สัน) และ พิพิธภัณฑ์รูเบลล์ ไมอามี (ของดอน และแมรา รูเบลล์)

66. หยี่ อิ-ลาน (Yee I-Lann)

Yee l-Lann Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2514 โคตา คินาบาลู มาเลเซีย

หยี่ อิ-ลาน พำนักและทำงานอยู่ที่โคตา คินาบาลู รัฐซาบาห์ งานภาพชิ้นแรกๆ ของเธอแสดงถึงประวัติศาสตร์อันวุ่นวายของหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งประเด็นการล่าอานานิคมและลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ อำนาจ และผลกระทบความทรงจำทางประวัติศาสตร์ในประสบการณ์ทางสังคม เธอใช้คำศัพท์ภาพที่ซับซ้อนหลายขั้นที่อ้างอิงมาจากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมสมัยนิยม เอกสารสำคัญ และสิ่งของในชีวิตประจำวัน หลายปีมานี้เธอร่วมทำงานกับทั้งทางบกและทางทะเล รวมถึงคนทรงพื้นเมืองในรัฐซาบาร์ เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง The Ricecooker Archives: Southeast Asian Rock ’n’ Roll Treasury กับโจ คิดด์ หุ้นส่วนของเธอ และทำงานเป็นผู้ออกแบบงานสร้างในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของมาเลเซีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2551 ได้ก่อตั้งแผนกออกแบบงานสร้างและบรรยายที่ Akademi Seni Budaya dan Warisan Kebangsaan (ASWARA) ปัจจุบันเธอเป็นสมาชิกคณะกรรมการของ Forever Sabah และ Tamparuli Living Arts Center (TaLAC) ซึ่งทั้งคู่ตั้งอยู่ในรัฐซาบาห์ และเป็นหุ้นส่วนผู้ร่วมก่อตั้งของ KOTA-K Studio ในย่านเมืองเก่าอย่างตันจง อารู ใน ที่โคตา คินาบาลู

Yee I-Lann PANGKIS, 2021
Installation view at CHAT (Centre for Heritage, Arts and Textile), Hong Kong, 2021
Image courtesy CHAT (Centre for Heritage, Arts and Textile), Hong Kong
Yee I-Lann Tikar Reben, 2021
Single-channel video, 12m 30s, loop
Image credit: Andy Chia

67. วาดิม ซาการอฟ (Vadim Zakharov)

Vadim Zakharov
Photo by Vladimir Sychev

เกิดพ.ศ. 2502 ดูชานเบ รัสเซีย (สหภาพโซเวียต)

วาดิม ซาการอฟ เป็นศิลปินแนวคคอนเซปช่วล เขาอาศัยและทำงานในกรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เลยเคยร่วมแสดงในนิทรรศการ Moscow unofficial art ตลอดอาชีพของเขา ซาการอฟเน้นประเด็นต่างๆ เช่น เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา การเมืองและมานุษยวิทยา และแนวปฏิบัติเชิงคอนเซปช่วล  ซาการอฟเป็นศิลปิน นักเคลื่อนไหว บรรณาธิการ และนักจดหมายเหตุเก็บข้อมูล โดยเขาสะสมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการศิลปะคอนเซปช่วลในมอสโก ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเขาได้พัฒนาโครงการ “Artist as an Institution” และจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ

ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงทั่วโลกทั้งในเทศกาลเบียนนาเล่ และนิทรรศการต่างๆ อาทิ 49th Venice Biennale: Plateau of Humankind (อาร์เซนอล พ.ศ. 2544), 1st Thessaloniki

Biennale ผลงานจัดวาง Black Birds (Museum of Byzantine Culture พ.ศ. 2550), พ.ศ. 2557 Space Odyssey: CAFAM BIENNALE (ปักกิ่ง พ.ศ. 2557) 3rd Bahia Biennale (พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งบาเฮีย พ.ศ. 2557) เขาได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนแสดงผลงานที่รัสเซีย พาวิลเลียน ที่ Venice Biennale ในปี พ.ศ. 2556 ด้วยโครงการ Danaë

นิทรรศการสำคัญที่ได้ร่วมจัดแสดงอื่นๆ เช่น นิทรรศการเรโทรสเปกทีฟ The last stroll through the Elysian Felder รวบรวมผลงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 – 2538 ที่ Koelnischer Kunstverein นิทรรศการเรโทรสสเปกทีฟย้อนหลัง 25 ปี 25 Years on One Page ที่ Tretyakov Gallery (พ.ศ. 2549) นิทรรศการ Postscript after RIP. A video Archive of Moscow Artist’s exhibitions 1989-2014 (Garage มอสโก พ.ศ. 2558) การแสดงและละครเวทีรวมถึง Tunguska Event, History Marches on a Table ที่ Whitechapel Gallery (ลอนดอน พ.ศ. 2557) MAMbo (โบโลญน่า พ.ศ. 2558) ผลงานศิลปะในที่สาธารณะรวมถึง อนุสาวรีย์ของธีโอดอร์ อดอร์โน Adorno Monument ที่แฟรงก์เฟิร์ต อัม มาน (พ.ศ. 2546) รางวัลที่เขาได้รับรวมถึง รางวัล A. Krupp von Bohlen und Halbach Stiftung (พ.ศ. 2538) Griffelkunst-Preis แฮมเบิร์ก (พ.ศ. 2538) Renta-Preis (พ.ศ. 2538) Kunsthalle Nürnberg และทุน Joseph Brodsky Memorial Fellowship Fund, American Academy โรม (พ.ศ. 2550) และ Kandinsky Prize – Best Work of Year มอสโก (พ.ศ. 2552)

ปัจจุบันเขาพำนักและทำงานที่เบอร์ลิน เยอรมนี

Vadim Zakharov Tunguska Event, History Marches on a Table, 2017
Whitechapel Gallery, London
Photo: Daniel Zakharov

68. วิตอเรีย คริบบ์ (Vitória Cribb)

Vitória Cribb Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2539 รีโอเดจาเนโร บราซิล

วิตอเรีย คริบบ์ สำเร็จการศึกษาจาก The School of Industrial Design  จากมหาวิทยาลัยสหพันธรัฐรีโอเดจาเนโร (UERJ) กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เธอมีบิดาเป็นชาวเฮติและมารดาชาวบราซิล วิตอเรีย คริบบ์ ทั้งสร้างและพบเจอกับเทคนิคในการทำงานต่างๆ ผ่านจากเรื่องเล่าทางภาพและดิจิทัล เช่น อนิเมชัน การพัฒนาภาพ CGI ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) และ Immersive Environments สำหรับเว็บ วิตอเรีย คริบบ์ (Vitória Cribb)วิตอเรีย คริบบ์ สำเร็จการศึกษาจาก The School of Industrial Design  จากมหาวิทยาลัยสหพันธรัฐรีโอเดจาเนโร (UERJ) กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เธอมีบิดาเป็นชาวเฮติและมารดาชาวบราซิล วิตอเรีย คริบบ์ ทั้งสร้างและพบเจอกับเทคนิคในการทำงานต่างๆ ผ่านจากเรื่องเล่าทางภาพและดิจิทัล เช่น อนิเมชัน การพัฒนาภาพ CGI ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) และ Immersive Environments สำหรับเว็บ 

ศิลปินใช้สภาพแวดล้อมดิจิทัลเป็นสื่อกลางเพื่ออธิบายถึงการเสาะหาและการตกผลึกความคิดที่ผ่านเข้ามาโดยจิตใต้สำนึกของเธอ การพินิจพิเคราะห์พฤติกรรมทางสังคมไปพร้อมกับฉากหลัง เช่น พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แวดล้อมของสังคมร่วมสมัย และการเคลื่อนย้ายความคิดของเธอผ่านความไม่เป็นรูปเป็นร่างที่เป็นลักษณะของพื้นที่ดิจิทัล ล้วนเป็นประเด็นหลักในงานของศิลปินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

Vitória Cribb _ENXERGA, 2021
Image Credit: courtesy of VELLUM LA
Vitória Cribb Observer_, 2022
Image Credit: © Maarten Nauw / Framer Framed

ในปี 2022 วิตอเรีย คริบบ์ ถูกเสนอชื่อและได้รับรางวัล PIPA PRIZE Award ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญในสาขาศิลปะร่วมสมัยในบราซิล ในปีเดียวกันนี้ คริบบ์ได้รับการเสนอชื่อสำหรับรางวัล CIFO-Ars Electronica AWARD ซึ่งเป็นรางวัลที่มุ่งเน้นสำหรับศิลปินละตินอเมริกัน จัดโดย Cisneros Fontanals Art Foundation (CIFO) และสถาบัน Ars Electronica Institution นอกจากนี้ ในปี 2021 ผลงาน “@illusion” ของศิลปินยังได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางในรีวิวจากสื่อต่างๆ เช่น XR Panel ของ The Art Newspaper

69. Dorairolg

Dorairolg
Photo by Chih Hsien Chen

เกิด พ.ศ. 2539 มาเก๊า จีน

Dorairolg เกิดในเมืองบนพื้นที่คาบสมุทรมาเก๊า เช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ที่นั่น ครอบครัวของเธอต้องย้ายออกจากบ้านเกิดไปตั้งรกรากในพื้นที่แห่งใหม่ที่ยังไม่พัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Dorairolg เธอเลือกที่จะย้ายออกไปเป็นคนต่างถิ่น เธอเลือกที่จะเริ่มต้นชีวิตและทำงานในไต้หวันนับเป็นเวลาเกือบ 6 ปีแล้ว เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสือเจียน ในไทเป ในสาขาออกแบบการสื่อสารในปี 2019

เธอคิดเสมอว่าเธอนั้นอ่อนไหวทางอารมณ์อย่างมาก แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่านี่เป็นสภาวะสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานของเธอเอง ซึ่งเป็นช่องทางปลดปล่อยความรู้สึกของเธอ

Dorairolg The seven emotions, 2021
Image courtesy the artist
Dorairolg 夤Yin, 2022
Image courtesy the artist

“ฉันรู้สึกเหมือนฉันกำลังผลักดันขอบเขตของสิ่งที่ฉันสามารถรับรู้ได้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เวลาที่ฉันรีบเร่งและพยายามแสดงความรู้สึกที่ไปไกลกว่าที่ภาษาใดๆ จะสามารถสื่อความหมายได้ และมันก็เป็นจิตวิญญาณปฏิวัติที่ยังคงอยู่รอดเสมอด้วย อย่างไรก็ตาม มันทั้งโรแมนติกและเต็มไปด้วยความลึกลับ”

70. กาเบรียล มัสซาน (Gabriel Massan)

Gabriel Massan Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2539 รีโอเดจาเนโร บราซิล

กาเบรียล มัสซาน เป็นศิลปินดิจิทัลหลากสื่อท่พำนักอยู่ในเบอร์ลิน ด้วยการควบรวมการเล่าเรื่องเข้ากับเทคนิคในการสร้างโลก มัสซานสร้างโลกและประติมากรรมดิจิทัลที่จำลองและบอกเล่าเหตุการณ์ที่ต่างออกไปเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมในประสบการณ์ของกลุ่มชนพื้นเมืองผิวดำชาวละตินอเมริกัน ด้วยสื่ออย่าง อนิเมชั่นสามมิติ งานปั้นและจิตรกรรมดิจิทัล เกมแบบผู้เล่นเดี่ยว NFT ไปจนถึงประสบการณ์ในความจริงเสมือนและเสริมสร้าง ศิลปินซึ่งเคยทำงานผ่านสื่อวิดีโอมาก่อน ได้ค้นหาความหมายของความแปลกประหลาดและความไม่รู้ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพของ “โลกที่สาม” กาเบรียลเคยเป็นศิลปินในพำนักของ ETOPIA – Center for Art & Technology ในปี 2019 และเป็นศิลปินรับเชิญในโครงการ “IMS Convida” ประจำปี 2020  ที่ Instituto Moreira Salles ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในศิลปิน ‘Class of 2021’ โดย Circa x Dazed และมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มวิจัยออนไลน์ “Rotten TV” ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกองทุน British Council Digital Collaboration Fund เป็นศิลปินที่จัดแสดงในแกลเลอรี “Open Space” ของ The Photographers’ Gallery ในปี 2022 เป็นศิลปินคัดเลือก “X Art District (XAD)” โดย X Museum ในปีเดียวกัน รวมถึง เป็นศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนในโปรแกรม Arts Technologies ของ Serpentine Gallery ระหว่างปี 2022-2023 โดยมีผลงานนิทรรศการล่าสุด เช่น “WORLDBUILDING: Gaming and Art in the Digital Age” (Julia Stoschek Collection, 2022); Canon! (Frieze No.9 Cork Street, 2022) และ “Possible Agreements” (Mendes Wood DM, 2022)

Gabriel Massan GRAND PRISON, 2020 Berlin
Image courtesy of the artis
Gabriel Massan Scales Glow Blue, 2021 Rio de Janeiro
Image courtesy of the artist

71. นักรบ มูลมานัส

นักรบ มูลมานัส Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร ไทย

นักรบ มูลมานัส สำเร็จการศึกษาจากด้านวรรณคดีไทยจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปินสนใจในก่อร่างสร้างตัวของเรื่องเล่าของอดีตและความทรงจำที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของภาษาเขียน และยังส่องสะท้อนกลับไปมากับวัฒธรรมภาพ (Visual culture) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกของภาษาทั้งสองแขนงในช่วงเวลาที่สยามกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ในคริสต์ศตว รรษที่ 19 และ 20 ที่ได้รับทั้งอิทธิพลอย่างสูงจากภาวะจักรวรรดินิยม ศิลปินสร้างผลงานขึ้นโดยการสำรวจ เลือกสรรค์ และตัดปะชิ้นส่วนของประวัติศาตร์ ประวัติศาตร์ศิลปะ วรรณกรรม วัฒนธรรมหลากแขนง รวมไปถึงวัฒนธรรมประชานิยม ทั้งอดีตที่ผู้คนมองข้ามและผู้คนมองข้าม มาทาบทับกับโลกร่วมสมัย เพื่อสร้างเรื่องเล่าทางเลือก อันจะนำไปสู่การสำรวจและตั้งคำถามกับปัจจุบันที่เป็นผลพวงมาจากวันเวลาที่ผ่านไปแล้ว ในปี 2020-2021 นักรบได้รับเลือกจาก Institut français ให้เป็นศิลปินพำนักที่ Cité internationale des arts กรุงปารีส ผลงานล่าสุดของศิลปินร่วมจัดแสดงในนิทรรศการ Artificial Nature (ธรรมชาติประดิษฐ์) (Warin lab contemporary, 2022); The Immeasurable and World’s End (JWD Art Space, 2022) The Hermeneutics of Resonances (Cité internationale des arts Paris, 2021)

นักรบ มูลมานัส Adoration of the Magi, 2021
Image courtesy of the artist

นักรบ มูลมานัส The Last Selfie, 2016
Image courtesy of the artist

72. แอนโธนี ซามาเนียโก (Anthony Samaniego)

Anthony Samaniego Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2525 ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

แอนโธนี ซามาเนียโก เป็นศิลปินอเมริกันที่เกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Cal State University of Northridge ในสาขาเศรษฐศาสตร์ เขาเริ่มทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิงในตำแหน่งนักวิเคราะห์ที่ Warner Brothers

หลังจากนั้น เส้นทางชีวิตของแอนโธนีเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเขาประสบอุบัติเหตุ ซึ่งทำให้เขาต้องเรียนรู้ที่จะเดินใหม่อีกครั้ง ในช่วงพักฟื้นเขาเริ่มสนใจในภาพถ่ายและเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการถ่ายภาพและการปรับแต่งโพสต์โปรดักชั่น เนื้อหาส่วนหนึ่งในงานภาพถ่ายยุคแรกของเขานั้นเป็นภาพขอบฟ้าและธรรมชาติในนครลอสแอนเจลิสบริเวณเชิงเขาใกล้บ้านของเขา ด้วยความหลงใหลในภาพถ่ายฟิล์มและความต้องการแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ของเขาผ่านโซเชียลมีเดีย แอนโธนีกลายเป็นศิลปินที่มีผู้ติดตามและเป็นผู้บุกเบิกด้านสื่อภาพนิ่งผสมภาพเคลื่อนไหว (cinemagraph)

Anthony Samaniego Breathing Space, 2022
Image courtesy of the artist
Anthony Samaniego Witch House, 2022
Image courtesy of the artist

ผลงานปัจจุบันของแอนโธนีนำเนื้อหาที่คุ้นเคยมาตีความใหม่ผ่านการสร้างภาพแบบสามมิติ วิธีการเหล่านี้มีเป้าหมายที่เก็บหุ้มวัตถุไม่มีชีวิตในโลกจริง และแปลความหมายของพวกมันไปสู่บันทึกชีวิตที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ดิจิทัล ด้วยแรงบันดาลใจจากแนวคิดอิมเพรสชันนิซึมและเซอร์เรียลลิซึม แอนโธนี นำความคิดใหม่มาสู่ฉาก สัดส่วน และสำรวจความรับรู้ของความงามอันไร้ตัวตน ผลงานของเขาถูกจัดแสดงในระดับนานาชาติผ่าน Bangkok Art Biennale (2022), The Space between Us (Times Square และ Samsung Center, นครนิวยอร์ก, 2022), Neo Shibuya (กรุงโตเกียว, ญี่ปุ่น, 2022), Miami LIGHT exhibition (ไมอามี, 2021), Callo City Arts Festival (กรุงมาดริด, สเปน, 2020). ปัจจุบัน แอนโธนี ซามาเนียโก พำนักและทำงานในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย

73. วินเซนต์ ชเวงค์ (Vincent Schwenk)

Vincent Schwenk Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2530 สตาร์นเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

วินเซนต์ ชเวงค์ เป็นศิลปินที่สร้างผลงานสามมิติ เขาขยายทักษะมาสู่การทำงานผ่านสื่อที่หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบปกอัลบั้ม ไปจนถึงสร้างโปรเจ็คสร้างแบรนด์สำหรับองค์กร ดีไซน์สำหรับงานประชุม และศิลปะดิจิทัล หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขากราฟิกดีไซน์ จาก FH Augsburg เขาเริ่มทำงานอิสระในแวดวงศิลปะและดีไซน์ในฐานะผู้กำกับ นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว หุ้นส่วนองค์กร และอาจารย์

ผลงานของเขาเล่นกับความไม่ปกติทางกายภาพ: ไซต์ก่อสร้างในอนาคตสีสันสดใสแบบลูกกวาด ซึ่งในความปลอมประดิษฐ์นั้นยังมีพลังงานธรรมชาติอยู่ในตัว อีกทั้งยังขยายร่างผ่านพื้นที่นามธรรม และหลอมละลายกลายเป็นประติมากรรมและวัตถุจัดวางที่มีสถานะเป็นของเหลว เขาได้รับอิทธิพลจากการอ้างอิงที่เชื่อมโยงกับคุณสมบัติของสิ่งใกล้ตัว ผลงานหลายชิ้นนั้นเต็มไปด้วยอารมณ์ขันซึ่งนำมุมมองใหม่มาสู่วัตถุธรรมดาๆ เหล่านี้ และเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างหนึ่งจะเห็นได้จากผลงานซีรีส์ปัจจุบันของเขาที่ชื่อว่า Non fungible trash ซึ่งร่วมกับ วิตาลี กรอสแมนน์ พวกเขารวมกันทำหน้าที่เป็นคู่กำกับในชื่อ VVAND โดยพวกเขาพยายามที่จะค้าหาสไตล์ภาพใหม่ๆ ผลงานของชเวงค์ บิดรูปพื้นที่ต่างๆ และปรับเปลี่ยนให้เข้าสู่บริบทใหม่ โดยการใช้ผลงานจัดวางที่ทั้งเปลี่ยนรูปร่างและเกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดง เปลี่ยนผลงานประติมากรรมดิจิทัลให้เป็นภาพเคลื่อนไหว เขานำเสนอแรงผลักดันทางศิลปะของเขาส่วนใหญ่ผ่านทางโปรเจคต์ที่เขาเป็นผู้ริเริ่มเอง

Vincent Schwenk Blobsy Blob (still)
Image courtesy of the artist
Vincent Schwenk GRAPHIC PACK (still)
Image courtesy of the artist

เราเชื่อว่าตลอดระยะเวลาของการจัดงานต่อเนื่อง 4 เดือน จะมีนักท่องเที่ยว นักสะสมงานศิลปะ ภัณฑารักษ์ ศิลปิน และคนในวงการศิลปะทั่วโลก เข้าร่วมชมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทยได้อย่างมหาศาล พร้อมกันนี้ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และเป็นการยกระดับการจัดงานศิลปะในไทย สนับสนุนศิลปินไทย ให้อยู่ในกระแสของศิลปะระดับโลกอีกด้วย


อ่านแนวคิด “CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข” เป็นธีมหลักของงาน BAB 2022