เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลก ที่ร่วมแสดงผลงานในงาน BAB 2022 CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

31. จอมเปท คุสวิดานันโต (Jompet Kuswidananto)

Jompet Kuswidananto Image courtesy of the artist

เกิดพ.ศ. 2519 ยอกยาการ์ตา อินโดนีเซีย

จอมเปท คุสวิดานันโต ศึกษาด้านการสื่อสารที่มหาวิทยาลัย Gadjah Mada ในยอกยาการ์ตา และเป็นนักดนตรีที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ในช่วงสมัยของระบอบเผด็จการ New Orderคุสวิดานันโตหันไปหาทัศนศิลป์และไปทำงานในชุมชนศิลปะยอกยาการ์ตาในท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2541 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เขาได้ทำงานร่วมกับ ‘Teater Garasi’ ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินสหสาขาวิชาชีพ จอมเปททำงานบนสื่อที่หลากหลาย รวมถึงการติดตั้ง วิดีโอ เสียง และโรงละคร แนวปฏิบัติของเขามุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในบริบทของประวัติศาสตร์ชาวอินโดนีเซียตั้งแต่บาดแผลจากอาณานิคมไปจนถึงความบอบช้ำของเผด็จการ เขาคำนึงถึงเหตุการณ์เหล่านี้ผ่านงานศิลปะที่แสดงถึงอาการวิตกกังวล ขอบเขตในชีวิตประจำวัน และความลึกลับ 

Jompet Kuswidananto Keroncong Concordia, 2019. Installation view.
Image courtesy of the artist
Jompet Kuswidananto Words and Possible Movements, 2013
Installation. Image courtesy of the artistOLYMPUS DIGITAL CAMERA

งานศิลปะส่วนมากของเขาสร้างมาจากสิ่งของที่ค้นพบและสำเร็จรูปที่มีทั้งเรื่องเล่าส่วนตัวและส่วนรวม จากนั้นจึงสร้างเป็นบทกวีที่เชิญชวนให้สาธารณชนเข้าสู่ความซับซ้อนของเรื่องราวในเนื่องาน  ผลงานของ คุสวิดานันโตได้รับการจัดแสดงอย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมทั้งงาน Yokohama Triennale, 2551; การแข่งขัน Lyon Biennale ครั้งที่ 10, 2552; Phantoms of Asia, พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย, ซานฟรานซิสโก, 2555; Taboo, พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย, ซิดนีย์; 2555; ไทเป เบียนนาเล่, 2555; Sharjah Biennial 14,2562, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ After Voices มูลนิธิศิลปะร่วมสมัยเชอร์แมน ซิดนีย์; และ On Paradise ที่ MAC’s Grand Hornu ประเทศเบลเยียม ในปี 2557 Jompet ได้รับรางวัลใหญ่สำหรับศิลปินหน้าใหม่แห่งเอเชีย Prudential Eye Award สำหรับงานศิลปะติดตั้งของเขา

32. คามิน เลิศชัยประเสริฐ


คามิน เลิศชัยประเสริฐ
Photo : Jeremy Samuelson

เกิด พ.ศ. 2507 ลพบุรี ประเทศไทย

คามิน เลิศชัยประเสริฐ ได้สร้างผลงานในหลากหลายสื่อ ตั้งแต่จิตรกรรม ศิลปะจัดวาง งานภาพพิมพ์ ประติมากรรม และวรรณคดี ผลงาน Sitting (Money) (พ.ศ. 2547 – 2549) ของเขาได้ถูกสะสมโดยกุกเกนไฮม์ไปในปี พ.ศ. 2555 เขาได้มีการจัดนิทรรศการเดี่ยวหลายครั้งที่ นำทองแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2543 – 2560)  Art U-Room ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2545 – 2557) พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ (พ.ศ. 2559) Chan+Hori Contemporary, สิงคโปร์ (พ.ศ. 2561) N ATTA Gallery, กรุงเทพฯ ประเทศไทย (พ.ศ. 2562) Buddhadasa Indapanno Archives กรุงเทพฯ(พ.ศ. 2563) นำทอง อาร์ต สเปซ (พ.ศ. 2563)

นิทรรศการกลุ่มที่โดดเด่นของเขา ได้แก่ งาน Sydney Biennial (พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2555)  Utopia Station, Venice Biennale (พ.ศ. 2546)  Busan Biennale, เกาหลีใต้ (พ.ศ. 2551)  Meta-question: Back to the Museum Per Se, Guangzhou Triennial (พ.ศ. 2554)  Negotiating Home, History and Nation: Two Decades of Contemporary Art in Southeast Asia 1991–2011 Singapore Art Museum (พ.ศ. 2554) and Secret Archipelago Palais de Tokyo ฝรั่งเศส (พ.ศ. 2558) Edge of The Wonderland, Thailand Biennale กระบี่ (พ.ศ. 2561) Sharjah Biennial 14 (พ.ศ. 2562) Art for Air Exhibition เชียงใหม่ ประเทศไทย (พ.ศ. 2564)

คามิน เลิศชัยประเสริฐ Tea House (ห้องชา), 2016
Metal, mirror and plywood 240 x 240 x 240 cm
Photo credit: Maiiam Museum

ความสนใจของคามินในการทำงานศิลปะร่วมกันทำให้เขาได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ The Land Foundation (พ.ศ. 2541) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแปลงนาข้าวให้เป็นสถานที่สำหรับงานศิลปะ ในปี พ.ศ. 2551 เขาก่อตั้ง the 31st Century Museum of Contemporary Spirit เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนร่างกายและจิตใจให้เป็นสถานที่สำหรับการมีส่วนร่วมทางศิลปะ โดยร่างกายของเราคือพิพิธภัณฑ์และจิตวิญญาณของเราคือศิลปะ ปัจจุบันคามินอาศัยและทำงานอยู่ที่เชียงใหม่ ประเทศไทย

33.มาร์เชลโล่ มาโลเบอร์ติ (Marcello Maloberti)

Marcello Maloberti Image courtesy of the artist

เกิดพ.ศ. 2509 โคโดญโญ่ โลดิ

มาร์เชลโล่ มาโลเบอร์ติ เป็นศิลปินทัศนศิลป์ เขาอาศัยและทำงานอยู่ที่มิลาน มุมมองที่ละเอียดอ่อนของการใช้ชีวิตในเมืองเป็นแรงบันดาลใจในงานศิลปะของเขา โดยมีความความสนใจเป็นพิเศษกับความไร้รูปทรงและความไม่แน่นอนของชีวิตประจำวัน แต่วิสัยทัศน์ทางศิลปะของเขามีมากกว่าเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยนำเสนอภาพแนวสัจนิยมใหม่ เสมือนฝัน ซึ่งผสมผสานแนวคิดทางโบราณคดีเข้ากับประวัติศาสตร์ศิลปะ การแสดงของเขาในพื้นที่ส่วนบุคคลและสาธารณะนั้นสร้างความตื่นเต้นและกระตุ้นผู้ชมให้มีการโต้ตอบเพื่อสร้างเรื่องราวสั้น ๆ และอารมณ์ร่วม เพื่อให้การแสดงนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามาโลเบอร์ติให้ความสำคัญกับมิติต่างๆของศิลปะและชีวิต โดยได้เริ่มใช้ความหลากหลายของภาษาของภาพและเสียงไม่ว่าจะเป็นในงานภาพถ่าย วิดีโอ การแสดง ศิลปะจัดวาง ประติมากรรม และ คอลลาจ ผลงานของเขาถูกส่งเสริมด้วยพื้นฐานในการแสดงอยู่เสมอ ปัจจุบันเขาเป็นศาสตราจารย์ด้านทัศนศิลป์ที่ NABA (Nuova Accademia di Belle Arti) ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี 

Marcello Maloberti Cuore Mio, 2020
Inkjet print, 50 x 33cm
Courtesy the artist and Galleria Raffaella Cortese, Milano
Photo Credit: Marcello Maloberti
 
Marcello Maloberti Die Schmetterlinge essen die Bananen, 2010
Lambda print, 30 x 45 cm
Courtesy the artist and Galleria Raffaella Cortese, Milano
Photo Credit: Marcello Maloberti
 

มาโลเบอร์ติได้เข้าร่วมในนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มจำนวนมากในสถาบันของรัฐและเอกชน รวมไปถึง Kestner Gesellschaft ฮันโนเวอร์ (พ.ศ. 2564)  MAXXI – Museo nazionale delle arti del XXI secolo กรุงโรม (พ.ศ. 2562) Haus Wittgenstein–Bulgarisches Kulturinstitut เวียนนา (พ.ศ. 2561)  Centro per l’Arte Contemporanea Luigi Pecci ปราโต (พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2564)  Manifesta12 (M12)  MOCAK – พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใน Krakov (พ.ศ. 2560): Biennale di Pune อินเดีย (พ.ศ. 2560)  Quadriennale di Roma (พ.ศ. 2559)  Castello di Rivoli Museo d’Arte Contemporanea ริโวลิ (พ.ศ. 2557)  Padiglione Italia 55a Biennale di Venezia (พ.ศ. 2556) Thessaloniki Biennale, (พ.ศ. 2556)  MACRO – Museo d’Arte Contemporanea Roma (พ.ศ. 2555)  Frankfurter Kunstverein แฟรงก์เฟิร์ต (พ.ศ. 2556)  Triennale Milano (พ.ศ. 2556, พ.ศ. 2558)  Generali Foundation เวียนนา (พ.ศ. 2553)  Royal Academy of Arts ลอนดอน (พ.ศ. 2553)  GAMeC − Galleria d’Arte Moderna e Contemporanea เบอร์กาโม (พ.ศ. 2552)  PERFORMA 09 นิวยอร์ก (พ.ศ. 2552) (พ.ศ. 2548)  MUSEION – Museo d’arte contemporanea di Bolzano (พ.ศ. 2548)  Collection Lambert – Musée d’art contemporain Avignon (พ.ศ. 2548)  Palazzo Strozzi ฟลอเรนซ์ (พ.ศ. 2548)  PAC – Padiglione d’Arte Contemporanea มิลาน (พ.ศ. 2546)  Premio FURLA เวนิส (พ.ศ. 2545)  Fondazione Bevilacqua La Masa เวนิซ (พ.ศ. 2545) SESC Pompeia เซาเปาลู บราซิล (พ.ศ. 2544)

34. โรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ป (Robert Mapplethorpe)

Robert Mapplethorpe Self-Portrait, 1980 © Robert Mapplethorpe Foundation. Used by Permission.

พ.ศ. 2489 – 2532 ควีนส์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

โรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ป เป็นหนึ่งในช่างภาพที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ผู้สำรวจขอบเขตความเป็นไปได้ของสื่อภาพถ่าย และสร้างผลงานที่สามารถถ่ายทอดภาพและแก่นแท้ของวัฒนธรรมแห่งยุคสมัยของเขาได้เป็นอย่างดี ผลงานที่ทรงพลังของเขารวมไปถึง ชุดภาพถ่ายเป็นเอดิชั่น และภาพถ่ายขนาดใหญ่ ที่บางครั้งก็ยึดมั่น หรือบางครั้งก็ท้าทายสุนทรียะแบบคลาสสิค เขาเป็นผู้คิดค้นรูปแบบใหม่ให้กับภาพถ่ายบุคคล ภาพนิ่ง และภาพเปลือย

โรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ปเกิดและเติบโตมาในครอบครัวคาทอลิกที่เคร่งครัด ในควีนส์ นิวยอร์ก เขาเข้าศึกษาที่สถาบันแพรทท์ ที่บรูคลินในช่วงปี พ.ศ. 2506 – 12 ในสาขาจิตรกรรม ประติมากรรม และกราฟฟิกดีไซน์ ในช่วงแรกเริ่มของการทำงาน แมปเปิลทอร์ปใช้สื่อที่หลากหลาย และผลิตผลงานวาดเส้น ภาพตัดปะ และชิ้นงานสามมิติ ในปี พ.ศ. 2512 เขาได้เริ่มถ่ายภาพด้วยกล้องโพลารอยด์ และเริ่มผสมผสานภาพถ่าย และภาพตัดปะจากหนังสือและนิตยสารเข้ากับผลงานประติมากรรมแอสเซ็มบลาจ นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเขาคือ Polaroids (ไลท์ แกลเลอรี นิวยอร์ก พ.ศ. 2516) เขาเริ่มทำงานถ่ายภาพเป็นหลักในช่วงกลางยุค 1970s และได้รับกล้อง Hasselblad 500 จากแซม แว็กสตาฟ ภัณฑารักษ์และนักสะสมซึ่งเป็นเสมือนครูและคนรักของเขา

Robert Mapplethorpe Ken Moody and Robert Sherman, 1984
Silver gelatin print Image 37,6 x 46,9 cm (14,8 x 18,46 in) Frame 58,4 x 61 x 3,2 cm (22,99 x 24,02 x 1,26 in)
AP 1/2 Estate MAP 1354 (RMP 1652)
Ken Moody and Robert Sherman, 1984 © Robert Mapplethorpe Foundation. Used by Permission
Robert Mapplethorpe Lydia Cheng / Back, 1987
Silver Gelatin Print 50.8 x 61 cm (20 x 24 in) Ed. 9 of 10 + 2AP Estate MAP 1755 (RMP 1255.9)
Lydia Cheng / Back, 1987 © Robert Mapplethorpe Foundation. Used by Permission

ในปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเอดส์ ผลงานของ โรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ปถูกจัดแสดงในนิทรรศการที่สำคัญถึงสี่แห่ง ที่พิพิธภัณฑ์ Stedelijk (อัมสเตอร์ดัม) พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันวิทนีย์ (นิวยอร์ก) สถาบันศิลปะร่วมสมัย (Institute of Contemporary Art ชิคาโก) มหาวิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย (ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา) และหอศิลป์ the National Portrait Gallery (ลอนดอน) นิทรรศการเดี่ยวล่าสุดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะโซโลมอน อาร์ กุกเกนไฮม์ (นิวยอร์ก พ.ศ. 2562) พิพิธภัณฑ์ Museo Madre (เนเปิลส์ อิตาลี พ.ศ. 2561) Kunsthal Rotterdam (พ.ศ. 2560)  พิพิธภัณฑ์ Los Angeles County Museum of Art (พ.ศ. 2559)  พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ARoS Aarhus (เดนมาร์ก พ.ศ. 2559)  พิพิธภัณฑ์เทต โมเดิร์น (ลอนดอน พ.ศ. 2557)  พิพิธภัณฑ์โรแด็ง (ปารีส พ.ศ. 2557) ผลงานของโรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ป มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ศิลปะและสังคม ปัจจุบันมูลนิธิโรเบิร์ต แมปเปิลทอร์ป ซึ่งก่อตั้งโดยศิลปินเองในปี พ.ศ. 2531 เป็นผู้ดูแลและสืบทอดการเผยแพร่ของผลงานของเขาต่อไป โดยมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผลงานศิลปะภาพถ่าย พิพิธภัณฑ์สาขาภาพถ่าย และงานวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HIV และเอดส์ด้วย

35. ทัตสึโอะ มิยาจิมะ (Tatsuo Miyajima)

Tatsuo Miyajima Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2500 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ทัตสึโอะ มิยาจิมะ เกิดในปี พ.ศ. 2500 และอาศัยและทำงานในญี่ปุ่น เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์และดนตรีแห่งชาติโตเกียวในปี พ.ศ. 2529 หลังจากนั้นเขาเริ่มทดลองศิลปะการแสดงก่อนที่จะเริ่มแสดงศิลปะจัดวางซึ่งใช้แสงไฟ

Tatsuo Miyajima Time Waterfall-panel#MAM 2019, Photo_ MA Siliang.
Courtesy of the artist, Lisson Gallery, Shanghai Minsheng Art Museum and SCAI THE BATHHOUSE
Tatsuo Miyajima
Painting of Change – 000, 2020. h.340 x w.242 x d.6 cm, Gold leaf on MDF.
Courtesy of the artist and SCAI THE BATHHOUSE.
Photo: Nobutada Omote

ผลงานของมิยาจิมะมีรากฐานอ้างอิงอยู่ในเทคโนโลยี โดยได้เน้นไปที่การใช้เครื่องนับเลขดิจิตอลไดโอดเปล่งแสง (LED) หรือ ตามที่เขาเรียกว่า”อุปกรณ์” ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 ตัวเลขเหล่านี้ในงานของเขากะพริบต่อเนื่องและซ้ำซาก แม้จะไม่มีการอ้างอิงลำดับใดๆก็ตาม วัฏจักรของเลขจาก 1 ถึง 9 แสดงถึงการเดินทางจากชีวิตสู่ความตาย ซึ่งจุดสิ้นสุด คือ ‘0’ หรือจุดศูนย์นั้นเอง ซึ่งจะไม่ปรากฏในผลงานของเขา . ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นบางส่วนจากแนวคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยมและคำสอนของพุทธศาสนา รวมทั้งจากแนวคิดทางศิลปะหลักของเขา: ‘Keep Changing’, ‘Connect with All’ และ ‘Goes on Forever’ ตัวเลข LED ของมิยาจิมะ ล้วนสอดคล้องกับความสนใจของเขาในด้านความต่อเนื่อง ความเชื่อมโยง และความเป็นนิรันดร์ ตลอดจนการไหลและระยะเวลาและพื้นที่

36. จักรวาล นิลธำรง

จักรวาล นิลธำรง Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2520 ลพบุรี ประเทศไทย

จักรวาล นิลธำรงค์ ศิลปินและผู้กำกับภาพยนตร์ เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร และปริญญาโท จาก School of the Art Institute of Chicago ในสาขา Art and Technology Studies ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเผยแพร่ผลงานวิดีโอศิลปะและภาพยนตร์สั้นทั้งในบริบทของพิพิธภัณฑ์ศิลปะและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ อาทิ Clermont-Ferrand short film festival (ฝรั่งเศส) Internationale Kurzfilmtage Oberhausen (เยอรมนี) 25 FPS (โครเอเชีย) IFFR (เนเธอร์แลนด์) Tampere (ฟินแลนด์) Dublin (ไอร์แลนด์) Video Art Biennial (อิสราเอล) Sydney (ออสเตรเลีย) Yamagata Documentary Film Festival (ญี่ปุ่น) Taipei Biennial 2012 (ไต้หวัน) Berlin Int’l Film Festival (เยอรมนี) SeMA Biennale Mediacity Seoul 2014 (เกาหลีใต้) และ Toronto Int’l Film Festival (แคนนาดา) ในปี พ.ศ. 2550-51 จักรวาลได้รับทุนศิลปินในพำนักจาก Rijksakademie van Beeldende Kunsten เพื่อผลิตงานศิลปะในประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นเวลาสองปี  ภาพยนตร์เรื่อง ‘Vanishing Point’ (พ.ศ. 2558) ฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเตอร์ดัม ครั้งที่ 44 และได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัล Hivos Tiger Award ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา ‘เวลา’ (พ.ศ. 2564) เข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์เวนิสครั้งที่ 78  ปัจจุบันจักรวาลเป็นอาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่ายที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

จักรวาล นิลธำรงค์ Intransit, 2013
35mm film installation
Duration 5 minutes (loop)
จักรวาล นิลธำรงค์ Invalid Throne, 2018
Infrared Photo
32 x 32 inches

37. นวิน หนูทอง

นวิน หนูทอง
Photo: Tammarat Kittiwatanokun

เกิด พ.ศ. 2536 กรุงเทพฯ ประเทศไทย

นวิน หนูทอง เป็นศิลปินร่วมสมัยชาวไทยและภัณฑารักษ์ ซึ่งสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมสื่อ ด้วยการใช้สื่อศิลปะที่หลากหลาย  นวินผสมผสานตำนานเรื่องปรัมปรา กับวัฒนธรรมป็อปคัลเจอร์ ทั้งจากวิดีโอเกม การ์ตูน และภาพยนตร์ เพื่อวิเคราะห์บทบาทของเทคโนโลยี ว่ามีส่วนในการกำหนดวิธีการเรียนรู้ และเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างไร  นวิน หนูทองจบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาภาพยนตร์ และดิจิทัลมีเดีย นอกเหนือจากการสร้างสรรค์งานศิลปะแล้ว นวินทำงานเป็นภัณฑารักษ์ โดยนิทรรศการที่เขาคัดสรรรวมถึง  PLATOEXPECTONUM (พ.ศ. 2560) This nor Mundane, The Mystery Shack 999 (พ.ศ. 2561) และ MAPPA (พ.ศ. 2562) เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกและคณะทำงานของพื้นที่ทางเลือกศิลปะ Speedy Grandma (กรุงเทพฯ)


นวิน หนูทอง THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS, 2021
Courtesy of the artist

38. เน็งกิ โอมูกู (Nengi Omuku)

Nengi Omuku
Photo Credit: Full House Partners

เกิดปี พ.ศ. 2530 เดลต้า ไนจีเรีย

เน็งกิ โอมูกู เป็นศิลปินทัศนศิลป์ปัจจุบันอาศัยและทำงานในเลกอส เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่ Slade School of Fine Art University College ณ กรุงลอนดอน เธอมีการแสดงเดี่ยวในเลกอส ลอนดอน เบอร์ลิน และนิวยอร์ก โดยมีการแสดงงานในสถาบันต่างที่ La Galerie Centre d’Art Contemporain ปารีส New Hall Art Collection เคมบริดจ์ และที่ World Trade Organisation เจนีวา

Nengi Omuku Gathering, 2020
Oil on Sanyan 90 x 145 cm
Photo © Logor
Nengi Omuku Small Chaos 2020
Oil on Sanyan 190 x 160 cm
Photo © Aurélien Mole

งานของโอมูกูได้รับแรงบันดาลใจจากการเมืองของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนภายในและการทำงานของจิตใจ

งานของเธอสะท้อนถึงความสับสนวุ่นวายที่เป็นผลมาจากความล้มเหลวของรัฐบาลไนจีเรียในการจัดการการวิกฤตแรงงาน การตอบสนองต่อความรุนแรงของตำรวจและการจัดการโรคระบาด โดยเธอบันทึกเหตุการณ์ต่างๆในช่วงเวลาแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการแสดงจิตวิญญาณของกลุ่มคน ควบขนานไปกับความเป็นจริงของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในไนจีเรีย 

ภาพเหล่านั้นเธอใช้เทคนิคสีน้ำมันระบายบนแถบผ้าพื้นเมืองของไนจีเรียตะวันตกที่เรียกว่า “ซานยาน” ซึ่งทอมาจากไหมมอดป่าผสมกับผ้าฝ้าย โดยตั้งใจจัดแสดงงานให้ห้อยลงมาจากเพดานเหมือนพรมเพื่อแสดงทั้งความสมบูรณ์แบบของการทอผ้าแบบแอฟริกาตะวันตกแบบดั้งเดิมและภาพสีน้ำมัน สำหรับโอมูกูแล้ว การผสมผสานของสีน้ำมันและซานยานแสดงถึงการใช้ชีวิตในผ่านการผสมผสามของวัฒนธรรมต่างๆ และยังคงสร้างบริบทให้กับงานของเธอในท้องถิ่นของเธอในไนจีเรีย

39. เฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ ปาลาซิโอ (Henry Alexander Palacio)

Henry Alexander Palacio Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2530 โบโกตา โคลอมเบีย

เฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ ปาลาซิโอ สำเร็จการศึกษาจากโครงการวิจิตรศิลป์ที่คณะอักษรศาสตร์ ASAB ในปี พ.ศ. 2556 ที่โบโกตา ประเทศโคลอมเบีย และได้รับ MFA จาก มหาวิทยาลัยUNAM ประเทศเม็กซิโก งานของเขามีความสนใจในการใช้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากจุดรวมของประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมสมัยนิยม เพื่อชี้ถึงเรื่องเล่าและตั้งคำถามถึงวิธีที่ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นจริงและจินตนาการ ได้กำหนดและเปลี่ยนบริบททางการเมืองในอเมริกาใต้

ในเชิงปฏิบัติในสตูดิโอศิลปะ  ปาลาซิโอสร้างความคิดใหม่เกี่ยวกับวัสดุที่ “ราคาถูก” และเทคนิค “ธรรมดา” ผ่านขยายและการย้ำทำ เพื่ออ้างอิงภาพสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์องค์กร โลโก้ และสัญลักษณ์ ต่างๆ รวมถึงการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกันที่กว้างขึ้นของศิลปะและสังคม  เส้นทางนี้ทำให้เขาสามารถแสดงความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของความเป็นจริงในปัจจุบันซึ่งมีความซับซ้อนของการบิดเบือนความจริง จินตนาการ และความคิดต่างมุมมอง

Henry Alexander Palacio
Partidos politicos (Political parties) zinc sheet, oil, 300 cm x 570 cm.
HAWAPI residency, 2019, El Dorado Gallery Bogotá, Colombia

เฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ ปาลาซิโอได้จัดแสดงงานทั้งในโคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก เช่น #LIKEFORLIKE (Biquini Wax-Mexico, พ.ศ. 2564), La masa esta callaíta (Museum of Modern Art from Medellin- Colombia, พ.ศ. 2562), Do it while you can (Artbo, International Art Fair from Bogotá, พ.ศ. 2561) and Dysfunctional formulas of Love (The BOX gallery (US, พ.ศ. 2561) ปาลาซิโอได้รับรางวัลหลายรางวัลซึ่งควรค่าแก่การกล่าวถึงเช่น Scholarship of Creation for Emerging Artists จากกระทรวง of Culture (Colombia, พ.ศ. 2558) และ New Names (Colombia, พ.ศ. 2561) เขาได้รับเลือกให้เป็นศิลปินพำนักในงานต่างๆเช่น Dark Study (US, พ.ศ. 2564-2565), Soft Power, Banff Center (แคนาดา, พ.ศ. 2564), UNIDEE (อิตาลี, พ.ศ. 2563), FLORA (โคลอมเบีย, พ.ศ. 2561) และ Hawapi (โคลอมเบีย, พ.ศ. 2561)

ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ระหว่างโคลอมเบียและเม็กซิโก โดยทำงานร่วมกับสถาบันของศิลปินและเป็นอาจารย์

40. เถกิง พัฒโนภาษ

เถกิง พัฒโนภาษ
Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2508 ตรัง ประเทศไทย

กระบวนการสร้างศิลปะของ เถกิง พัฒโนภาษ ศิลปินผู้ทำงานในกรุงเทพมหานคร  เป็นผลจากความหมกมุ่นเกี่ยวกับ พื้นที่ภายในกาย และพื้นที่นอกโลก ตลอดหลายปี เถกิงมุ่งมั่นสำรวจสัญญะ เกี่ยวกับความกลวงเปล่าของกายคน ซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดว่าด้วยจักรวาลอันไร้ขอบเขต โดยแนวคิดสองขั้วนี้มีนัยยะสำคัญต่อศตวรรษที่ 21 จนอาจถือได้ว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย (Zeitgeist)  ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เถกิง มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมอง ซึ่งเถกิงกลั่นออกมาเป็นผลงานช่วงหลัง อันมีลักษณะเป็นการผสมผสานระหว่างผลงานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และจิตรกรรม ผ่านการสำรวจพื้นที่ว่างเปล่า (void) และภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ที่เผยให้เห็นความสลับซับซ้อนของอวัยวะ รวมไปถึงอุโมงค์ และเสาหิน(monolith) ซึ่งบันดาลใจจากวัตถุปริศนาที่ไม่มีใครทะลวงเข้าไปได้ ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ของอาเธอร์ ซี. คลาร์ค และภาพยนตร์ก้องโลก 2001: A Space Odyssey ของสแตนลีย์ คูบริก ในงานของเถกิง องค์ประกอบทั้งหมดถูกจัดสรร ควบคุม อย่างถี่ถ้วนแม่นยำ เพื่อให้ผู้ชมประสบพบพานความกำกวมอันวิปริต ก่อกำเนิดความหมายถึงตัวตนของคนเราซึ่งแปรเปลี่ยนเป็นนิจ

เถกิง พัฒโนภาษ Monstrous Monstrance #1, 2018
Oil-painted copper, steel, and aluminium
Diameter 285 cm
Artist’s collection
Photograph by Oat Rujeraprapa
เถกิง พัฒโนภาษ Round n Round #1, 2012
Mixed media and LED light in a round steel case
Diameter 120 cm, 23 cm depth
Collection of Petch Osathanugrah
Photograph by Eiji Sumi and Preeda Intha

งานศิลปะร่วมสมัยของเถกิง พัฒโนภาษ ครอบคลุมช่วงเวลากว่าสองทศวรรษ เริ่มจาก พ.ศ. 2539 เมื่อเถกิงเริ่มทำวิจัยระดับปริญญาเอก ที่เชลเทนแฮมแอนด์กลอสเตอร์ ซีเอชอี ในประเทศอังกฤษ  เถกิงแสดงนิทรรศการเดี่ยวหลายครั้ง เช่น Space of 25 Light Years (JWD Art Space กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564) The Nerve That Eats Itself – ประสาทแดก (Gallery VER กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561)  What I Don’t Know That I Know (H Gallery กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556) Compulsive Orders (Tally Beck Contemporary นิวยอร์ก พ.ศ. 2554) Permanent Flux (GMT+7 บรัสเซลส์ พ.ศ. 2552) งานแสดงกลุ่ม เช่น GAP the Mind (พ.ศ. 2555) ซึ่งได้คอมมิชชั่นโดยรัฐบาลสิงคโปร์ ในเทศกาลศิลปะ i Light Marina Bay 2012 ที่สิงคโปร์  รวมถึง SPECTROSYNTHESIS II­– Exposure of Tolerance (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562-3)  ปัจจุบันเถกิงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ CommDe ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย