Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

SALT AND PEPPER นักสำรวจงานดีไซน์ที่มองหาความเป็นไปได้ใหม่อยู่เสมอ

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์
Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

พวกเขาทั้งสองเคยทำงานที่บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด มาก่อน และมีผลงานเป็นที่รู้จักจากการออกแบบผลิตภัณฑ์หลายชิ้น หนึ่งในชิ้นงานที่โดดเด่นที่สุดคือ Sputnik Collection ซึ่งสร้างสีสันและวิธีการนำเสนอใหม่ให้กับงานเฟอร์นิเจอร์จักสานแบบเอาต์ดอร์ นอกจากนี้ ชื่อของ Salt and Pepper ยังเป็นที่พูดถึงในการทำนิทรรศการหลายต่อหลายงาน เช่นเดียวกับ Bangkok Design Week ปีล่าสุด ที่พวกเขาสร้างสรรค์ผลงาน Dreamscape ซึ่งพาเราไปสำรวจความกลัว ความหวัง และความกล้าผ่านการออกแบบนิทรรศการที่จำลองถ้ำกลางป่าที่เต็มไปด้วยสัตว์ต่าง ๆ ท่ามกลางแสงสีและเงามืด จัดแสดงอยู่ในโกดัง Warehouse 30 ที่หลายคนประทับใจและให้ความสนใจ

วันนี้ room จึงได้นัดพูดคุยกับสองนักสำรวจงานดีไซน์ที่กระตุ้นต่อมจินตนาการและเล่าประสบการณ์ออกมาเป็นนิทรรศการ สถาปัตยกรรม อินทีเรียร์ และโปรดักต์ดีไซน์อันมากด้วยเรื่องราวที่ซ่อนอยู่

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์
คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์ ในออฟฟิศ Salt and Pepper Design Studio

ขอบเขตการทำงานของ Salt and Pepper มีอะไรบ้าง

พิพิธ: “Salt and Pepper เริ่มมาจากการทำงานสถาปัตย์ฯ และอินทีเรียร์ แล้วมาทำผลิตภัณฑ์สำหรับสุนัขในแบรนด์ Mha Dog and Living ซึ่งทำให้เราเริ่มทำงานโปรดักต์ดีไซน์ จนได้ไปทำงานกับภาครัฐ รวมไปถึงเอกชนที่ให้เราไปออกแบบคอลเล็กชั่นต่าง ๆ ให้

“แต่ตอนนี้ที่เรากำลังทำอยู่เยอะเป็นพิเศษ และอยากทำให้ต่อยอดในเชิงธุรกิจต่อไปคือการทำเรื่อง Exhibition Design เป็นนิทรรศการที่สร้างประสบการณ์ให้กับแบรนด์ลูกค้า จากดีไซน์วีคปีที่แล้วหรือนิทรรศการที่ทำมาตลอดทั้งปีลูกค้าก็เห็นงาน Exhibition Design ของเรามากขึ้น และเขาก็จะเริ่มเชื่อว่าการสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์มันมีความสำคัญ

“วัตถุประสงค์ก็เพื่อการขายนี่แหละ แต่ก็จะมีลูกค้าที่เดินมาบอกว่าเขาอยากได้นิทรรศการที่ไม่ได้เป็นขายของแบบเดิม ๆ แต่ให้เกิดความประทับใจและประสบการณ์บางอย่างกับตัวโปรดักท์จริง ๆ คนจะได้จดจำโปรดักต์ได้ เราก็มีพื้นที่ในการทำงานมากขึ้น มีอิสระในการใช้ความคิดมากขึ้น”

อัญชนา: “จริง ๆ ผลจากการที่ได้ทำดีไซน์เซอร์วิส (หมายถึงการออกแบบให้กับผู้ประกอบการ) ในแง่มุมต่าง ๆ เราก็ยังมีแบรนด์ของเราเองที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงชื่อ Solt ด้วย เน้นการใช้วัสดุและแรงงานต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อที่จะให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ”

คอลเล็กชั่น Sputnik เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้กับแบรนด์ Corner 43 และได้รางวัล DEmark Award 2016

การออกแบบให้แบรนด์ของตัวเองต่างกับแบรนด์ของคนอื่นอย่างไร

พิพิธ: “เราเติบโตมาจากการทำงานตามเงื่อนไขอยู่แล้ว เป็นดีไซน์เซอร์วิส เราไม่ได้ทำงานตามใจตัวเอง 100% เราจะดูว่าโจทย์คืออะไร เป้าหมายคืออะไร เพียงแต่ว่าหลัง ๆ เราเริ่มมีความชำนาญและเราเริ่มเห็นในเรื่องความเป็นไปได้ของหลาย ๆ อย่างมากขึ้น

“อย่าง Sputnik Collection ที่ทำให้กับ Corner 43 โจทย์ก็คือเราอยากจะเปลี่ยนการทำงานเดิมของ Corner 43 ที่เป็นงานหวาย ที่มีการนำเข้ามาของวัสดุในราคาที่สูง มาเป็นการมองหาวัสดุทดแทน Corner 43 เขาก็มีความชำนาญในเรื่องของการสานและขึ้นลวดลาย เราแค่นำสิ่งที่เขามีอยู่และมันมีมูลค่าของเขามาเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่น เปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนวิธีการนำเสนอ เปลี่ยนสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์และโครงสร้างให้มันเข้ากับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันมากขึ้น

“สิ่งที่เราภูมิใจคือ เราไม่ได้แค่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แต่เราออกแบบกลไกในการที่จะให้เขาขาย หรือสื่อสารต่อไปกับลูกค้าอย่างไร อันนี้ต่างหากที่เราพอใจมาก เพราะสามารถแปลงให้เข้ากับงานโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย”

เก้าอี้ในคอลเล็กชั่น Sputnik ที่ใช้งานอยู่ภายในออฟฟิศ พร้อมกับงานต้นแบบเบญจรงค์บางส่วนจากโครงการ SACICT Signature และต้นแบบวัสดุวีเนียร์หินจาก Plan X

กับงานออกแบบในโครงการของภาครัฐเป็นอย่างไร

พิพิธ: “ที่ผ่านมาล่าสุดจะเป็นโครงการ SACICT Signature ที่เป็นเรื่องเบญจรงค์ พอได้รับการชักชวน เราก็คุยกันเลยว่ายังไงก็ต้องทำ เพราะเราเคยมีประสบการณ์การพัฒนาเบญจรงค์กันมาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้เราเข้าใจเงื่อนไขที่จำกัดกับระยะเวลาที่มีนั้น อะไรที่มันไม่เวิร์กบ้าง แล้วจะทำยังไงให้มันเวิร์ก มันก็เหมือนโอกาสที่ 2 ที่จะทำให้ดีขึ้น ประกอบกับมี SACICT [ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)] เป็นเจ้าของโครงการ ก็ทำให้เรามั่นใจว่าครั้งนี้จะดีกว่าครั้งที่ผ่านมา

“เราเข้าใจเงื่อนไขของผู้ประกอบการ สิ่งที่เราพยายามจะทำคือ เราผลักดันเขาโดยให้เขาไปต่อ  หรืออะไรที่จะให้เขาเปลี่ยนก็จะไม่ให้เขารู้สึกฝืน อันนี้น่าจะเป็นประสบการณ์ของดีไซเนอร์ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมาจนเข้าใจว่า การคุยกับผู้ประกอบการเป็นอย่างไร ส่วนการลงไปในรายละเอียดไปในผู้ประกอบการแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะแต่ละคนต่างก็มีที่มา ความพร้อม และวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน

“แม้กระทั่งบุคคลิกภาพ วิสัยทัศน์ ทัศนคติส่วนตัว และยิ่งเป็นผู้ประกอบการหัตถกรรมเนี่ยเขาคล้าย ๆ กับศิลปินพื้นบ้านคนหนึ่ง การคุยกับศิลปินพื้นบ้านก็รู้อยู่ว่ามันยากมาก”

อัญชนา: “สุดท้ายแล้วผู้ประกอบการได้ไปต่อยอด ได้ขายจริง ทำจริง ก็เป็นเรื่องที่เราว่าประสบความสำเร็จที่สุดแล้ว เพราะการทำงานแบบนี้สำหรับเราคือการละทิ้งอีโก้ในฐานะของดีไซเนอร์ แต่ว่าเราเอาความรู้ของเราในเรื่องการออกแบบ แบรนด์ดิ้ง การเข้าใจปัญหามาแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เขา เราไม่ได้คิดว่างานนี้เป็นของเรา เพราะถ้าคิดว่าอันนี้เป็นงานของเรา มันก็จะได้งานแค่ส่งโปรเจ็กต์หรืองานโชว์เท่านั้น”

พิพิธ: “ถ้าเป็นอย่างนั้นผู้ประกอบการก็อาจจะยังไม่รู้เลยว่าเขาทำไปทำไม แต่วันนี้ผู้ประกอบการเขาจะรู้สึกว่าเขาทำคอลเล็กชั่นนี้ 80-90% ด้วยมุมมอง วิสัยทัศน์ และฝีมือของเขาเอง พอเขารู้สึกว่าเขาเป็นคนทำอันนี้เอง เขาก็จะพามันไปต่อ ส่วนเราเหมือนไปเกาะอยู่ไหล่เขาแล้วคอยกระซิบข้าง ๆ หู ทุกวัน ๆ ให้กำลังใจบ้าง กดดันบ้าง เยอะเหมือนกัน (หัวเราะ)”

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

แนวทางหรือความเชื่อในการออกแบบของ Salt and Pepper คืออะไร

อัญชนา: “ตอนนี้สิ่งที่เราสนใจคือประสบการณ์ ความร่วมสมัย และงานฝีมือที่มันเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันได้”

พิพิธ: “จริง ๆ นิทรรศการที่เคยทำมาอย่าง TasteTest Exhibition น่าจะเป็นภาพหนึ่งในการทำงานของเราจริง ๆ นิทรรศการของเราในแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกันเลย แต่ทุกงานจะมีเรื่องหนึ่งคือ การมีประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเนื้อหาที่เราต้องการพูดกับคนมาดูในนิทรรศการที่เราออกแบบ อย่างปีแรกเราไปสำรวจเรื่องอาหารซึ่งไม่เกี่ยวกับอาชีพหลักเราเลย ครั้งที่สองเป็นอาหารและวิทยาศาสตร์ผสมกับสตรีทฟู้ด ครั้งที่สามเราสำรวจว่าคนที่มาดูนิทรรศการของเราจะสามารถเอาข้อมูลของนิทรรศการไปต่อยอดเป็นงานขายจริง ๆ ได้ไหม”

อัญชนา: “การทำงานของเรามันคือการจับองค์ประกอบที่เหมือนจะธรรมดา แต่ทำให้เป็นสิ่งที่พิเศษและก็โมเดิร์นด้วย เพราะแต่ละสิ่งที่ทำทั้งดีไซน์เซอร์วิส อินทีเรียร์ อาร์คิเท็กส์ และโปรดักต์ไซน์ มันใช้หัวคิดที่แตกต่างกันไป

“เราทำสิ่งที่ไม่เหมือนกันเลย จริง ๆ แล้วมันเหมือนเราถอดหมวกนี้แล้วเปลี่ยนไปอีกหมวกหนึ่ง เปลี่ยนหมวกไปเรื่อย ๆ แต่ทั้งหมดที่เราทำคือเราจัดการสำรวจมัน (explore) เรา Explore กับดีไซน์ แต่จะไม่ใช่ดีไซน์ที่อยู่ในห้องเรียนหรือหัวข้อในนิทรรศการแต่เป็นของจริงๆ ที่เราเจอมันเลย”

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์
ผลงานบางส่วนที่ตั้งอยู่ในสวนหลังออฟฟิศ
สตูลหวายแบรนด์ Solt ผลิตจากหวายธรรมชาติ ในรูปแบบโมเดิร์น ได้รับรางวัล DEmark Award 2019
ผลงานบู๊ธแสดงสินค้าที่ออกแบบโดย Salt and Pepper
นิทรรศการ TasteTest ในปี 2018 ที่ออกแบบเพื่อสำรวจเรื่องอาหารกับงานดีไซน์ของผู้เข้าชมงาน

Dreamscape ผลงานออกแบบนิทรรศการล่าสุด ที่สร้างประสบการณ์รับรู้แบรนด์ผ่านเรื่องราวของความฝัน ในงาน Bangkok Design Week 2020

ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Lamitak ที่ Salt and Pepper ทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่สอง มุ่งเน้นการเล่าเรื่องของการเข้าไปสำรวจในจิตใจของคนผ่านความฝัน เรื่องราวถูกแบ่งออกเป็นชิ้น ๆ ไม่ประติดประต่อนักตามคำกล่าวของพิพิธ  เขาบอกว่า “บ่อยครั้งที่ความฝันจะเริ่มต้นด้วยความกลัว เขาจึงสร้างเป็นเหมือนถ้ำให้คนเดินเข้าไปสำรวจ และเอาชนะมันด้วยความหวังและความกล้า โดยเปรียบเป็นความอุดมสมบูรณ์ของโป่งน้ำในป่าที่มีทั้งสัตว์ที่มากินน้ำและนักล่ารออยู่ ซึ่งเราซ่อนสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าในนิทรรศการส่วนนี้ด้วย สุดท้ายขึ้นอยู่กับเราจะเลือกมองมันในมุมไหนหรือช่วงเวลาไหน โดยมีการจัดไลท์ติ้งช่วยในการเล่าเรื่อง โดยความเป็นธรรมชาตินี้เชื่อมโยงไปกับคาแร็กเตอร์ที่เป็นลวดลายธรรมชาติของสินค้าอีกที เป็นการ explore เข้าไปในประสบการณ์ของแต่คน พร้อมสร้างประสบการณ์ร่วมให้เข้ากับแบรนด์สินค้าด้วย”

Salt and Pepper Studio เป็นสตูดิโอออกแบบมากความสามารถที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่าง คุณโอ๊ค-พิพิธ โค้วสุวรรณ และคุณเน็ก-อัญชนา ทองไพฑูรย์

เรื่อง สมัชชา วิราพร
ภาพ สิทธิศักดิ์ น้ำคำ