ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

บ้านตึก กลางเมือง เฟอร์นิเจอร์เก่าร่วมสมัยที่สานต่อเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน จะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้ออกแบบให้เป็นทรงกล่อง ตามข้อบังคับกฎหมายอาคาร แต่ในชั้นที่ 3 […]