สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP5 : SUSTAINABILITY เคหะยั่งยืน

หมดยุคไปแล้วสำหรับอาคารเคหะคอนกรีตสุดหดหู่ไร้ชีวิตชีวา อาคารเคหะเพื่อสังคมยุคใหม่หลาย ๆ แห่งได้รับการออกแบบเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้คนอย่างแท้จริง นอกเหนือจากเรื่องของพื้นที่การใช้งาน อาคารเขียวมาตรฐาน LEED(LeadershipinEnergyandEnvironmentalDesign) ก็ถือเป็นแนวคิดการก่อสร้างที่ไม่อาจมองข้ามเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาวและนำวัสดุราคาถูกในท้องถิ่นมาใช้เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณกับเรื่องอื่นได้อย่างเต็มที่ เป็นการช่วยคงอัตลักษณ์ของชุมชนนั้น ๆ ไว้ เช่น ชุมชนการเคหะในเมืองชาลงซูร์โซน ประเทศฝรั่งเศส ที่ออกแบบโดย OdileGuzyArchitectes เน้นการใช้วัสดุไม้ระแนงราคาถูก และงานออกแบบลวดลายบนหลังคาที่พยายามสื่อสารกลิ่นอายแบบเบอร์กันดี

Housing
Chauveau โครงการเคหะทางตะวันออกของฝรั่งเศส (odileguzyarchitectes.blogspot.com)
Housing
Chauveau โครงการเคหะทางตะวันออกของฝรั่งเศส (odileguzyarchitectes.blogspot.com)

นอกเหนือไปจากการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในอาคารที่อยู่อาศัยก็เป็นแนวคิดที่กำลังได้รับความสนใจ ไม่เฉพาะอาคารยูนิตราคาแพงแม้แต่แฟลตราคาเข้าถึงง่ายก็มีการใช้พื้นที่ดาดฟ้า สวนส่วนกลางสำหรับสร้างแปลงปลูกผัก และพื้นที่ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้อยู่อาศัย สร้างทั้งแหล่งอาหารและช่วยลดความร้อนภายในอาคาร เช่น โครงการViaVerde ในเขตบรองซ์ กรุงนิวยอร์ก ขนาด 222 ยูนิต ซึ่งมีพื้นที่สีเขียวส่วนกลางมากถึง 34,000 ตารางฟุต พร้อมสวนผักสำหรับชุมชน หรือการเพิ่มสวนลอยฟ้าส่วนกลางในโครงการ Skyville@Dawsonแฟลตของรัฐบาลขนาด 960 ครัวเรือนในประเทศสิงคโปร์ที่ออกแบบโดย WOHAจนถือได้ว่างานออกแบบของที่นี่ได้ช่วยเปิดมิติใหม่ของแฟลตในสิงคโปร์เลยทีเดียว

Housing
Villa Verde Housing หนึ่งในโครงการบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยในชิลี (elemental.com)
Housing
โครงการ Via Verde เพิ่มพื้นที่
สีเขียวในพื้นที่อยู่อาศัยส่วนกลาง
(archdaily.com)
Housing
Skyville@Dawson แฟลตการเคหะ (HDB) ยุคใหม่
ในสิงคโปร์ ออกแบบโดย WOHA (woha.net)
Housing
Skyville@Dawson แฟลตการเคหะ (HDB) ยุคใหม่
ในสิงคโปร์ ออกแบบโดย WOHA (woha.net)

นอกจากเรื่องการประหยัดพลังงาน อาหาร และการสร้างสภาพแวดล้อมอันดี ความยั่งยืนทางสังคมก็เป็นอีกสิ่งที่ขาดไปไม่ได้ในการนำพาอาคารเคหะเหล่านี้ไปสู่ความยั่งยืน

เราสามารถศึกษาตัวอย่างการพัฒนาชุมชนควบคู่กับที่อยู่อาศัยได้จาก Alejandro Aravena สถาปนิกชิลีเจ้าของรางวัลพริตซ์เกอร์ในปี 2016 ผู้นำเสนอ 4 โครงการ SocialHousing สำหรับผู้มีรายได้น้อยในคอนเซ็ปต์เดียวกันคือ สร้างบ้านไว้เพียงครึ่ง อีกครึ่งหนึ่งให้ครอบครัวได้ขยายต่อเติมบ้านด้วยตัวเองเมื่อพวกเขาพร้อม

เขามองว่าการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยจะสำเร็จไม่ได้เลยหากสถาปนิกออกแบบเบ็ดเสร็จแต่เพียงฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้อยู่เป็นผู้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ดังที่เขาเคยพูดไว้ใน TED เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2014 ว่า ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของผมคือการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ความสำเร็จในงานออกแบบอาคารเคหะของเขาจึงเกิดจากการที่ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยที่พวกเขาควบคุมได้


อ่านทั้งหมดของเรื่อง สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP1 : READY TO LIVE IN สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP2 : MADE IN WAR กำเนิดจากซากปรักหักพัง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISATERS ความหวังหลังภัยพิบัติ

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP4 : NEAVE BROWN สถาปนิกผู้บุกเบิก

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP5 : SUSTAINABILITY เคหะยั่งยืน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP7 : GENTRIFICATION หรือคนจนไม่ควรอยู่ในเมือง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP8 : LAST SHELTER ราคาของวาระสุดท้าย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP9 : HOUSES FOR EVERYONE บ้านสำหรับทุกคน


เรื่อง : Monosoda, กรกฏา


TOTAL NEW LOOK! พบ room โฉมใหม่ฉบับราย 2เดือน ได้ 1 พ.ย. นี้ เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องราวของ The Annual Property Issue ที่รวบรวมความเคลื่อนไหวในเชิงดีไซน์ในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดตลอดทั้งปีที่ผ่านมาไว้ให้คุณที่นี่ที่เดียว

Design Cases 

– Residential : Riz Carlton Residences Bangkok ห้องพักหรูระฟ้าบนตึกมหานคร
– Bar : Soi 16 บาร์เปิดใหม่กลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยคาแร็คเตอร์กลิ่นอายสไตล์ไทย
– Restaurant : Nowhere ร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นบนรูฟท๊อปสุดเท่

Theme 

– Design Documentary : สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

– Special Scoop : 20 Best Design housing of 2017 รวมโครงการอยู่อาศัยที่เราว่าเจ๋งที่สุดประจำปีนี้

Home

– TRIANGLE HOUSE เรื่องราวของรูปสามเหลี่ยมกับงานดีไซน์สนุก ๆ นอกกรอบ ผลงานโดย Ganna design บริษัทสถาปนิกสัญชาติไต้หวั

– READY-TO-PAINT CANVAS อิสระในการอยู่อาศัย เติมเต็มชีวิตให้บ้านไม่ต่างจากงานศิลปะของคุณรักกิจ ควรหาเวช และคุณพิชญา ศรีระพงษ์

– HUAMARK 09 บ้านมิกซ์ยูสรวมฟังก์ชันออฟฟิศ บ้านพักอาศัย และสตูดิโอออกแบบเข้าด้วยกัน ของคุณอินทนนท์ และคุณธริศราย์ จันทร์ทิพย์

Inspiration 

Product
– Ong-Orn แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้าถึงตัวตนผู้ใช้ด้วยการผลิตแบบ Custom – Made
Material
– แนะนำพรมรุ่นใหม่จาก Express Carpet ตอบโจทย์ดีไซน์ที่หลากหลายของบ้านคุณ
Event
– Dyson Singapore Technology Centre ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีของไดสันประจำสิงคโปร์

สอบถามสั่งซื้อนิตยสาร Room ได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
1. ฝ่ายสมาชิกนิตยสาร Room: โทร 02-423-9889
2. ID Line : @naiinfanclub
3. Inbox FB : www.facebook.com/messages/t/150967806418
4. Website naiin.com : naiin.com/category?magazineHeadCode=RM&product_type_id=2