VIN VARAVARN ARCHITECTS ผู้เปลี่ยนวัสดุธรรมดาให้มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม

Vin Varavarn Architects
นเดือนกันยายนนี้ งานสัมมนา “ROOM x LIVING ASEAN DESIGN TALK” จะกลับมาจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “ASEAN ARCHITECTURE DESIGN” โดยมีการเชิญวิทยากรซึ่งเป็นสถาปนิกชาวไทยเจ้าของรางวัลระดับโลกจากหลายสถาบัน หม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Vin Varavarn Architects (VVA) ร่วมขึ้นเวทีเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมในภูมิภาคอาเซียน ให้กับชาวอาเซียนที่มีความสนใจในหัวข้อ “ASEAN ARCHITECTURE DESIGN” พร้อมการนำเสนอโดย คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ บรรณาธิการอำนวยการกลุ่มนิตยสารบ้านและสวน ที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และความประทับใจ จากการได้มีโอกาสตระเวนถ่ายบ้านสวยในภูมิภาคอาเซียนมาตลอดระยะเวลาหลายปี ในหัวข้อ “10 ASEAN HOUSES”

ROOM x LIVING ASEAN DESIGN TALK

VVA เป็นสำนักงานขนาดเล็กทว่ามีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นที่ยอมรับในวงกว้างทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเพราะปรัชญาในการออกแบบของ ม.ล.วรุตม์ ในฐานะหัวเรือใหญ่มักให้คุณค่าในงานออกแบบผ่านฟังก์ชันที่เอื้อสำหรับการใช้งานของผู้อาศัย และการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างบนความเป็นไปได้ ที่สำคัญคือไม่นำพาตัวเองเข้าไปเป็นศูนย์กลางของงานเหล่านั้นเพื่อสร้างลายเซ็นให้เป็นที่จดจำ เหตุนี้เองจึงทำให้งานออกแบบภายใต้ชื่อ VVA สามารถปรับเปลี่ยนไปตามโจทย์และบริบทแวดล้อม แต่ยังคงโดดเด่นทั้งเรื่องฟังก์ชันและความสวยงาม

Vin Varavarn Architects
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)

หนึ่งในผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งตัวสถาปนิกเอง รวมถึงประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในวงการสถาปัตยกรรมระดับโลก คือ “โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา” หนึ่งใน 9 “ห้องเรียนพอดีพอดี” จากโครงการเยียวยาช่วยเหลือสถานศึกษาที่ได้รับความเสียหาย จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่  ขนาด 6.3 ในจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 โดย Design for Disasters (D4D)

Vin Varavarn Architects
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)
Vin Varavarn Architects
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)

อาคารเรียนหลังคาจั่วแห่งนี้สร้างขึ้นภายใต้เงื่อนไข สามารถป้องกันความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่อาจเกิดซ้ำได้ในอนาคต อีกทั้งก่อสร้างได้ง่ายและใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก มุ่งเน้นการออกแบบให้เอื้อต่อการใช้งานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยทั้งพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร ห้องเรียนจำนวน 3 ห้อง ถูกวางตำแหน่งให้เกิดการเชื่อมต่อกันเป็นแนวยาวและอยู่ในระดับเดียวกัน บริเวณด้านหน้าอาคารมีลักษณะคล้ายใต้ถุนสูง ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยประหยัดค่าโครงสร้าง และให้สอดรับไปกับบริบทที่เป็นทางลาดลดระดับ อีกทั้งส่วนโครงสร้างผนังและโครงสร้างหลังคา ยังใช้เหล็กชิ้นเดียวกันทำหน้าเป็นโครงสร้างหลักไปพร้อมกับช่วยป้องกันแดดและฝนในคราวเดียว

Vin Varavarn Architects
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)
Vin Varavarn Architects
โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา จ.เชียงราย (ภาพ Spaceshift Studio)

ซึ่งการได้รับรางวัล Grand Prize Winner of International Biennial Barbara Cappochin Architecture Prize 2017 จากอิตาลี, รางวัล Highly Commend World Architecture Festival Awards 2016 จาก กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน, Shortlist for Architectural Review School Awards 2016 จากสหราชอาณาจักร เป็นเครื่องยืนยันจุดเด่นของสถาปนิกในการเปลี่ยนวัสดุธรรมดาให้มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี

Vin Varavarn Architects
หม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Vin Varavarn Architects (VVA)

ทั้งนี้งานออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของ VVA ไม่ได้มีเพียงแค่โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาวเท่านั้น ใครอยากฟังบรรยายแบบเจาะลึกในด้านงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงแนวคิดในการออกแบบของ ม.ล.วรุตม์ ในงานสัมมนา “ROOM x LIVING ASEAN DESIGN TALK vol.2 (Myanmar): ASEAN ARCHITECTURE DESIGN” ซึ่งครั้งนี้จะจัดขึ้นที่งาน Myanmar Build & DecorMyanmar Event Park (MEP) เมือง Yangon ประเทศ Myanmar ในวันที่ 29 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 09.45-10.30 น. สามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ ได้จากเว็บไซต์ www.livingasean.com และ www.baanlaesuan.com/designtalk


เรื่อง : Nawapat D.
ภาพ : Spaceshift Studio