TIMELESS MASTERPIECE บ้านสะท้อนศิลป์

บ้านสะท้อนศิลป์ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้รับโอกาสในการเข้าไปทำความรู้จักกับบ้านของศิลปินใหญ่ ซึ่งได้ถ่ายทอดตัวตนลงไปในทุกรายละเอียดของบ้านอย่างถึงแก่น ความพิเศษของบ้านหลังนี้ จึงไม่ได้มีแค่จิตวิญญาณแห่งศิลปะที่อบอวล อยู่ในทุกอณูเท่านั้น แต่ตัวบ้านยังมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของการอยู่อาศัยได้อย่างน่าทึ่ง

บ้านสะท้อนศิลป์
เพดานในสตูดิโอจัดแสดงผลงานออกแบบมีความสูงพิเศษสำหรับติดตั้งงานประติมากรรมขนาดใหญ่ เลือกใช้หน้าต่างบานเกล็ดเป็นช่องแสง เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่าง

วันนี้ อาจารย์อ๊อด – วัชระ ประยูรคำ ประติมากรชื่อดังเจ้าของผลงานประติมากรรมรูปเหมือนอันทรงคุณค่า ให้เกียรติพาเราเข้าไปเยี่ยมชมบ้านกึ่งสตูดิโอศิลปะของเขา ซึ่งเป็นฝีมือการออกแบบ และควบคุมการก่อสร้างของอาจารย์เองทั้งหมด จากจุดเริ่มต้นอาจารย์อ๊อดต้องการสร้างบ้านสามชั้นสำหรับครอบครัว และงานศิลปะอันเป็นที่รัก ดังนั้นหัวใจสำคัญของบ้านหลังนี้คือ การออกแบบสเปซเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นสตูดิโอสร้างสรรค์งานประติมากรรม พื้นที่สำหรับสอนนักศึกษาศิลปะ แกลเลอรี่จัดแสดงงานศิลป์ หรือพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว โดยแทบทุกมุมภายในบ้านล้วนรายล้อมไปด้วยภาพวาดศิลปะและงานประติมากรรมมากมาย จนไม่มีความจำเป็นต้องมีของตกแต่งอื่นใดอีก

_mg_4140
บริเวณบันไดที่อยู่ติดกับห้องสตูดิโอ นอกจากเป็นขั้นบันไดแล้ว ยังเป็นพื้นที่ให้นักศึกษานั่งฟังการสอนของอาจารย์อ๊อดด้วย
sak-100115-093
แกลเลอรี่แสดงผลงานที่อยู่ชั้น 2 ของบ้าน ส่วนใหญ่เป็นงานประติมากรรม แนวเรียลิสติกบุคคลสำคัญ

เมื่อเข้ามาถึงประตูทางเข้าหลัก เราได้พบกับสตูดิโอขนาดใหญ่ที่มีฝ้าเพดานสูงกว่า 6 เมตร ใช้เป็นพื้นที่เก็บสะสม และจัดแสดงงานประติมากรรมที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ มีประตูเหล็กม้วนขนาดใหญ่สามบานเว้นระยะตามช่วงเสา ให้สามารถเคลื่อนย้ายงานศิลปะเข้า – ออกภายในสตูดิโอได้อย่างสะดวก

jun161019_164
คอลเล็คชั่นพระบรมรูปปั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ทำจากเรซินสีขาว วางโชว์อยู่ที่บริเวณสตูดิโอด้านในใกล้โถงบันได

ถัดจากสตูดิโอเข้าไปเป็นห้องสำหรับแสดงผลงานศิลปะ บริเวณบันไดมีการเล่นระดับเพื่อเป็นพื้นที่ให้นักศึกษานั่งฟังการสอนไปพร้อม ๆ กับซึมซับความลึกซึ้งของงานประติมากรรมชั้นครูที่ตั้งอยู่รอบ ๆ ส่วนห้องทำงานส่วนตัวของอาจารย์ได้รับการกั้นสัดส่วนให้อยู่ถัดเข้าไปด้านในของบ้าน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า อาจารย์ตั้งใจออกแบบให้พื้นที่ทำงานอยู่บนชั้นหนึ่งเพียงชั้นเดียว โดยออกแบบขนาดและเรียงลำดับการเข้าถึงพื้นที่ตามขนาดของงานศิลปะและความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้นสองจัดเป็นพื้นที่พักผ่อน ประกอบด้วยห้องครัวขนาดเล็กและแกลเลอรี่ส่วนตัว

_mg_4185 _mg_4091

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการออกแบบบ้านที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของอาจารย์อ๊อดโดยตรงคือ แสงธรรมชาติ อาจารย์ออกแบบให้ทุกห้องมีแสงธรรมชาติเข้าถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สตูดิโอที่ใช้ปั้นงานประติมากรรม ส่วนเรื่องวัสดุที่ใช้ภายในบ้านนั้น อาจารย์เลือกใช้ปูนเปลือยขัดมันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย

sak-100115-116
ระเบียงนั่งเล่นริมน้ำติดกับคลองธรรมชาติซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ ยังหลงเหลือวิถีชีวิตริมน้ำให้ได้สัมผัสกัน
sak-100115-084
ห้องนอนเลือกตกแต่งด้วยสีโทนเข้มอย่างสีด ำเพื่อความสงบสุขุม เหมาะสำหรับพักผ่อน
sak-100115-087
วัสดุและสีสันที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงช่วยแบ่งสัดส่วนและสร้างบรรยากาศระหว่างห้องน้ำกับพื้นที่ภายในบ้านได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถเปิดหน้าต่างบานเฟี้ยมเพื่อเชื่อมพื้นที่ให้โปร่งโล่ง
sak-100115-105
นอกจากงานศิลปะ อาจารย์อ๊อดยังชอบอ่านหนังสือ จึงมีหนังสือเก็บสะสมอยู่จำนวนมาก ในอนาคตจึงวางแผนจะเปิดห้องสมุดที่นิลเพชร แลนด์อาร์ตด้วย

นอกเหนือจากงานประติมากรรมต่าง ๆ บ้านหลังนี้” ก็นับเป็นอีกหนึ่งงานศิลปะที่อาจารย์อ๊อดปั้นขึ้นมาเองกับมือ โดยใส่ทั้งความรู้สึกและประโยชน์ใช้สอยไว้อย่างครบถ้วน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประติมากร ผู้มีกลิ่นของดินปั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้อย่างมีความสุขที่สุด

อ่านต่อหน้า 2 คลิก