COPENHAGEN ISLANDS สวนสาธารณะลอยน้ำ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะ

COPENHAGEN ISLANDS ต้นแบบสวนสาธารณะแห่งอนาคตในรูปแบบหมู่เกาะเคลื่อนที่

COPENHAGEN ISLANDS สวนสาธารณะลอยน้ำ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะ
COPENHAGEN ISLANDS สวนสาธารณะลอยน้ำ สวนลอยน้ำ สวนสาธารณะ

ย้อนกลับไปในปี 2018 ทันทีที่ CPH-Ø1 ต้นแบบ สวนสาธารณะลอยน้ำ แห่งอนาคตเกาะแรกของโลก ถูกทดลองปล่อยเกาะโดยการใช้เรือลากออกไปลอยละล่องเหนือผืนน้ำใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็ได้รับความสนใจจากสื่อหลายสำนักหยิบยกประเด็นนี้มาพูดถึงมากมาย

จากนั้น สวนสาธารณะลอยน้ำ แห่งแรกก็ได้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในท่าเรือ เป็นทั้งที่นั่งพูดคุยและปิกนิกริมน้ำของชาวเมือง เรื่อยไปจนถึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการภาพถ่าย

สวนสาธารณะลอยน้ำ

ชมวีดีโอ สวนสาธารณะลอยน้ำ CPH-Ø1 ที่กำลังถูกเรือลากออกไปกลางผืนน้ำจากอินสตาแกรมของ Blecher ได้ที่นี่ https://www.instagram.com/p/BlfWVXEAnSQ/

จนถึงตอนนี้ เชื่อว่าทั่วทั้งโลกเองก็อดตื่นเต้นไม่ได้เช่นกัน ที่จะรอให้ต้นแบบตัวที่เหลืออย่าง CPH-Ø2 และ CPH-Ø3 ถูกปล่อยเกาะมาให้ครบ เพื่อดูว่าผลลัพธ์สุดท้ายแล้ว สวนสาธารณะลอยน้ำ ที่จะมาในรูปแบบหมู่เกาะเคลื่อนที่ ที่สามารถย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้นี้ จะสร้างมิติแปลกใหม่ให้กับเมืองหลวงของประเทศเดนมาร์กได้มากน้อยขนาดไหน

สวนสาธารณะลอยน้ำ

Copenhagen Islands หรือ หมู่เกาะเคลื่อนที่ได้ในชื่อ “Parkipelago” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Marshall Blecher สถาปนิกและนักสร้างเกาะชาวออสเตรเลีย กับ Magnus Maarbjerg สถาปนิกแห่ง FOKSTROT ท้ายที่สุดจากโครงการไม่แสวงหาผลกำไรก็ได้รับการสนับสนุนจาก Københavns Kommune หรือ Copenhagen Municipality ให้เกิดขึ้นจริง

Parkipelago เกิดที่ผสานคำว่า Park (สวนสาธารณะ) และ Archipelago (หมู่เกาะ) เข้าด้วยกัน โดยที่โมเดลต้นแบบตัวแรกที่พวกเขาออกแบบและถูกเรียกว่า CPH-Ø1 มีขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น

หมู่เกาะนี้ยืดหยุ่นถึงกระทั่งการเคลื่อนที่แยกส่วนเพื่อให้เกิดหมู่เกาะกลางน้ำสำหรับทำกิจกรรมยิบย่อยที่แตกต่างกันไป เรื่อยไปจนถึงเคลื่อนที่พวกมันเข้าหากันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อจัดกิจกรรมซึ่งต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างสะดวก

โครงสร้างของพวกมันถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับแพ หรือกระถางยักที่ปลูกไม้ต้นพื้นถิ่นเอาไว้เป็นแกนกลางสำหรับเป็นที่ให้นกได้บินมาเกาะกิ่ง รวมถึงเป็นที่อยู่ของแมลงต่าง ๆ

ในขณะเดียวกันฐานรากของเกาะที่อยู่ใต้น้ำก็จะกลายเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ หมู่ปลา หอย เรื่อยไปจนถึงสาหร่ายทะเลได้อีกด้วย

สวนสาธารณะลอยน้ำ

วัสดุหลักผู้ออกแบบเลือกใช้คือไม้ที่นำมาจากป่าปลูกทดแทนและไม้รีไซเคิลทั้งหมด ซึ่ง CPH-Ø2 และ CPH-Ø3 ที่จะถูกปล่อยออกมาในเร็ว ๆ นี้ จะถูกสร้างขึ้นด้วยมือของช่างในลานต่อเรือทางตอนใต้ของโคเปนเฮเกน โดยใช้เทคนิคการสร้างเรือไม้แบบดั้งเดิมมาประยุกต์

ท่ามกลางอัตราการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของพื้นที่ริมท่าเรือในเมืองโคเปนเฮเกน จนส่งผลกระทบถึงพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจซึ่งลดน้อยถอยลง Copenhagen Islands จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างมากในการสร้างพื้นที่พักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ หรือสวนสาธารณะที่มีบรรยากาศร่มรื่น ซึ่งแนวคิดนี้ก็เป็นความต้องการของทั้ง Blecher และ Maarbjerg เองที่อยากนำผืนป่าเล็ก ๆ ซึ่งดูเป็นเรื่องเพ้อฝัน มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงโคเปนเฮเกนให้กลายเป็นเรื่องจริง

สวนสาธารณะลอยน้ำ

ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ เมื่อมันถูกสร้างแล้วเสร็จ CPH-Ø1-Ø3 จะกลายเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะมากสำหรับกิจกรรมหลากหลาย ทั้งการพายคายัค นอนอาบแดด ว่ายน้ำรอบเกาะ เป็นที่จอดเทียบท่าของเรือลำน้อย หรือเป็นที่นั่งตกปลาก็ตามแต่

อีกเช่นเดียวกัน มันจะเป็นต้นแบบเกาะลอยน้ำเคลื่อนที่ ที่สามารถท้าทายข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมของเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยให้มีพื้นที่พักผ่อนในลักษณะนี้ หรือแม้กระทั่งบริบทของโลกที่ระดับน้ำทะเลนับวันจะยิ่งสูงขึ้น เกาะนี้ก็จะเป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่เลวเลยว่าไหมล่ะ

Copenhagen Islands ได้รับรางวัลพื้นที่สาธารณะและรางวัลด้านการออกแบบเพื่อสังคม รางวัล Taipei International Design Awards, ได้เข้าไปอยู่ใน finalist ของ Beazley design prize ที่มอบให้โดย London Design Museum และล่าสุดก็เข้าไปอยู่ใน finalist ของรางวัล Danish Design Prize

รายละเอียดเพิ่มเติม www.copenhagenislands.com

ออกแบบ: Marshall Blecher | www.marshallblecher.com
และ Magnus Maarbjerg

เรียบเรียง: ND24
ภาพ: Copenhagen Islands

สวนสาธารณะลอยน้ำ
สวนลอยน้ำ สวนสมมุติทำได้จริงในงาน Bangkok Design Week 2018