ตามไปชมจุดที่น่าสนใจในงาน Chiang Mai Design Week 2018

 

The Act Of Thought

ศิลปะจัดวางที่มีปฎิสัมพันธ์กับผู้ชม ใช้โคมลอยเป็นสื่อ นักออกแบบแบ่งนิทรรศการเป็น 3 องก์ ดังเช่นในโรงมหรสพ องก์แรกเป็นช่วงการย้ำชัดของ “กลุ่มก้อนความคิด” องก์ที่สองเป็นช่วงที่ความคิดเชื่อมโยงและชัดเจน และองก์สุดท้ายเป็นช่วงการหยั่งรู้จากกระบวนการการทำงาน Living Spirits มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์จากศิลปะที่มีปฏิสัมพันธ์ปัจจัยต่างๆในงานออกแบบ

 

กวัดแกว่ง

เป็นการเล่าเรื่องผ่านแสงที่เคลื่อนไหวส่องกับสิ่งของเครื่องใช้ที่มีความหลากหลายของชุมชนวัดล่ามช้าง และชุมชนควรค่าม้า เพื่อแสดงถึงนัยยะแฝงของสิ่งของเครื่องใช้และผู้คนในชุมชน กลายเป็นความหลากหลายที่ถูกผสมผสานความแตกต่างจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน

 

Vestige

Vestige Lighting Installations ที่สะท้อนถึงเรื่องราวของกาลเวลา ความทรงจำ และชุมชน

HOLO-LIGHT

การเล่นกับวัสดุ ที่สะท้อนแสง และการทำงานของ แสงไฟ เวลา สภาพอากาศ และผู้คนที่มาเข้าร่วมกับผลงาน สร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน

เหนือแรงบันดาลใจ

การแสดงศิลปะแบบ “Projection Mapping” คือ การแสดงแสงสีที่ใช้เครื่องโปรเจกเตอร์เป็นสื่อ โดยสามารถแสดงได้บนวัตถุทุกพื้นผิว และไม่มีข้อจำกัดด้านรูปทรงที่จะใช้แสดง ในเทศกาลดีไซน์วีคครั้งนี้ กลุ่ม Kor.Bor.Vor. Visual Label จะจัดแสดงศิลปะในรูปแบบดังกล่าว ณ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) โดยมีศิลปินร่วมแสดงผลงานทั้งหมด 8 ท่าน การแสดงแสงสีนี้เป็นการแสดงออกซึ่งทัศนะเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่ศิลปินสัมผัสและคุ้นชิน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในจังหวัดเชียงใหม่

 

เรื่อง : Tatsareeya S.
ภาพ : อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม
ข้อมูล : Chiang Mai Design Week 2018