อาคารจากอิฐ วัสดุโบราณในการใช้งานปัจจุบัน

หนึ่งในวัสดุที่อยู่คู่กับการสร้างบ้านแปลงเมืองมาช้านานตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของวัฒนธรรมก็คือ ก้อนอิฐ ดินแดงผสมกับแกลบเผาไฟเพื่อให้กลายเป็นก้อนสีเหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีความแข็งแรงสามารถเรียงก่อเป็นรูปได้หลากหลาย เชื่อมประสานด้วยปูนสร้างให้วัฒนธรรมของมนุษย์เจริญรุดหน้าจากบ้านไม้สู่บ้านตึกเกิดเป็นอาคารบ้านเรือนและเมืองใหญ่ตามลำดับ อาคารอิฐ

แม้จะผ่านมาหลายร้อยหลายพันปีแล้วแต่การใช้อิฐในงานก่อสร้างก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย วันนี้บ้านและสวนจึงอยากจะพาคุณผู้อ่านไปพบอาคารกึ่งสาธารณะที่บรรจงเรียงร้อยความเป็นอิฐด้วยดีไซน์ร่วมสมัยและน่าสนใจ 3 แห่งด้วยกัน

STARBUCK DRIVE-THRU โดย StudioMiti

สตาร์บัควังน้อย

อาคารอิฐ อาคารอิฐ สตาร์บัควังน้อย สตาร์บัควังน้อย

 

อาคารอิฐทรงกระบอกที่ตั้งใจให้เป็นหมุดหมายในการแวะพักของคนเดินทาง ด้วยผังรูป “วงกลม” ที่เป็นรูปทรงที่รับรูปได้ง่ายเหมือนมีแรงดึงดูดให้ขับรถเลี้ยวเข้าไปรับกาแฟด้วยการใช้สอยซึ่งเป็นร้านแบบ Drive Thru นั่นเอง

การเลือกใช้อิฐในผลงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัสดุที่เรามักจะเห็นยามได้ไปเยือนจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั่นเอง โดยเป็นการสร้างแนวผนังอิฐไว้ที่ภายนอกก่อนจะแบ่งพื้นที่ใช้สอยซึ่งเป็นร้านกาแฟและพื้นที่นั่งเอาไว้ภายใน จึงทำให้สามารถแบ่งเทคนิคการก่อสร้างออกได้เป็นแบบสมัยใหม่ที่ด้านใน และเทคนิคการก่ออิฐแดงแบบดั้งเดิมที่ด้านนอก โดยไม่ลืมเอกลักษณ์ของกำแพงเมืองเก่าอย่างช่องรูปเครื่องหมาย + เอาไว้เช่นกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจากภายนอกแล้ว ยังเปิดให้เกิดลวดลายจากช่องแสงจากด้านในอีกด้วย

 

Terra Cotta Studio โดย Tropical Space

อาคารอิฐมอญ อาคารอิฐมอญ อาคารอิฐมอญ อาคารอิฐมอญ อาคารอิฐมอญ อาคารอิฐมอญ

จากโรงงานเซรามิคเดิมของครอบครัว ด้วยอายุที่มากขึ้นของคุณพ่อ ประกอบกับการที่ลูกๆเห็นว่าคุณพ่อเองก็มีงานศิลปะดินเผานอกเหนือจากงานที่ทำในโรงงานของครอบครัว ด้วยเหตุนี้เอง Terra Cotta Studio จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นทั้งสตูดิโอสำหรับทำงานศิลปะของคุณพ่อ และยังเป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะของครอบครัวอีกด้วย

การออกแบบนั้นใช้การเรียงก้อนอิฐให้เกิดช่องสลับเพื่อให้ลมสามารถพัดผ่านได้โดยสะดวก แม้จะเป็นอิฐทำมือที่แต่ละก้อนนั้นมีขนาดและรูปทรงที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่การก่ออิฐเว้นร่องห่างแบบดั้งเดิมก็ช่วยให้แนวก่อดูเป็นระเบียบได้ไม่ยาก และด้วยความหนาของการก่อผนังสองชั้นก็ทำให้ได้ความหนาที่มากพอจะป้องกันแดดยามเที่ยงและฝนที่จะสาดเข้ามาได้

การออกแบบพื้นที่ภายในนั้นใช้โครงสร้างไม้ประกอบเข้าเป็นชั้นวางผลงานรวมถึงบันไดของอาคาร โดยมีพื้นปูนแบบหล่อในที่เป็นโครงสร้างของพื้นบนชั้นสองซึ่งในเทคนิคการก่อสร้างนั้นได้ใช้แผ่นฝาสานวางลงไปในไม้แบบเพื่อให้ได้ลายสานติดมาบนผิวปูนนั่นเอง อาคารหลังนี้จึงทั้งกลมกลืนและโดดเด่นไปกับบริบทของย่านชนบทของฮอยอันในประเทศเวียดนามได้อย่างดี

อ่านต่อหน้า2