ขี้ครอก

ขมวดดง/ขี้หมู/หญ้าผมยุ่ง/ปะเท้า/ปอเส้ง/Caesarweed/Hibiscus Bur ชื่อวิทยาศาสตร์: Urena lobata L. วงศ์: Malvaceae ประเภท: ไม้พุ่มขนาดเล็ก/วัชพืช ความสูง: 1 เมตร ใบ: ใบมีรูปร่างหลายแบบ รูปไข่ถึงค่อนข้างกลม ขอบหยักตื้นหรือลึกเป็นแฉก ใต้ใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ดอก: สีชมพูอมม่วง 5 กลีบ คล้ายดอกชบา ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: กลม ผิวมีหนามเหนียว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามริมทางทั่วไปที่มีแดดจัด เป็นสมุนไพร ใบ ต้มน้ำจิบแก้ไอ และขับเสมหะ ราก ถอนพิษไข้ ตัวร้อน ฯลฯ ลำต้นมีเส้นใยเหนียวใช้ทำเชือก

หญ้าเจ้าชู้

หญ้ากล่อน/หญ้าขี้ครอก/หญ้านกคุ่ม/หญ้ากะเตรย/หญ้าน้ำลึก ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysopogon aciculatus (Retz.) Trin. วงศ์: Poaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/หญ้า ความสูง: 15-30 เซนติเมตร ลำต้น: ทอดนอนไปตามพื้นดินได้ไกล แล้วแตกรากยึดดินไว้ ใบ: มักขึ้นแน่นที่โคนต้น ค่อนข้างแข็งและแห้ง ยาว 2-7 ซม. ดอก: ช่อดอกมีก้าน ช่อตั้งตรง ดอกย่อยจำนวนมากอยู่ตามปลายก้าน กระจายเป็นช่อโปร่ง สีม่วงแดง รูปรีเรียว มีขนแข็งติดอยู่จนผลแก่ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามที่โล่ง หรือสนามหญ้า เป็นสมุนไพร ต้นใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ และถอนพิษบางชนิด ราก ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม ที่เรียกว่า หญ้าเจ้าชู้ เพราะขนแข็งบนดอกที่เกี่ยวติดเสื้อผ้า