ว่านจูงนาง

กำปองดิน/ว่านถอนพิษ/อึ่งเปราะ ชื่อวิทยาศาสตร์: Geodorum recurvum (Roxb.) Alston วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ความสูง: ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดิน เป็นหัวรูปกลมแป้นเรียงต่อกันเป็นแถว เห็นข้อปล้องชัดเจน รากออกตามข้อ ใบ: เดี่ยว รูปใบหอก แผ่นใบพับจีบ เนื้อใบหนา ดอก: ช่อดอกออกจากเหง้า เกิดก่อนหรือพร้อมกับผลิใบ ช่อยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ดอกสีขาวกลีบปากสีเหลือง โคนสีน้ำตาลแดง ดิน: อิฐมอญทุบผสมดินใบก้ามปู น้ำ: ปานกลาง พักตัวในฤดูหนาว แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ :  เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม หากนำดอกหรือต้นมาแช่น้ำมันจันทน์ หรือบดผสมสีผึ้ง แล้วเสกคาถา จะให้ผลวิเศษยิ่ง

เต่านำโชค

ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นใต้ดินเป็นหัวกลมแบน มีร่องบุ๋มตรงกลาง ผิวสีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนอวบน้ำ ใบ: ใบรูปนิ้วมือ ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกและแผ่กว้างกว่า 30 เซนติเมตรก้านใบยาวกว่า 50 เซนติเมตร ชูตั้งขึ้น สีม่วงแดง มีจุดกระสีเข้มกระจายอยู่ทั่ว ดอก: ออกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ทุกส่วนมีสารแคลเซียมออกซาเลตที่ทำให้คัน ผล: มีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกสีส้มอมแดง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง เติบโตในฤดูฝนและพักตัวในฤดูหนาว ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดีหรือดินร่วนปนทราย แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและแยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ : มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะบันดาลโชคลาภ และหากพกติดตัวจะเกิดเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น