กลับมาอีกครั้งกับงาน บ้านและสวนแฟร์ Selected 2024 งานแฟร์ต้นปีที่มาอัพเดตเทรนด์ดีไซน์แก่ทุกท่าน ในครั้งนี้ room Showcase ประกอบไปด้วย room Design Cafe ที่ได้จับมือ กับ party / space / design สตูดิโอออกแบบระดับแนวหน้าของไทย นำโดยคุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบคาเฟ่ชื่อดังมากมาย ซึ่งได้ชวน Much&Mellow Cafe ร้านกาแฟ และขนมเจ้าดังจากจังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานี ที่เสิร์ฟทั้ง Specialty Coffee และขนมอบสดใหม่ทุกวัน มาร่วมสร้างประสบการณ์พิเศษ และอบขนมเมนูเด็ดกันถึงในงานบ้านและสวนแฟร์แห่งนี้เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีงานจัดแสดง Betterism Collection 2024 ที่ได้นำเอาเศษป้ายไวนิลจากบ้านและสวนแฟร์นี้เอง กลับมาออกแบบ Upcycling เป็นเฟอร์นิเจอร์โดย More : Waste is More

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จัดแสดงงานประกวด DECAAR Design Contest ในคอนเซปต์ Facade Unfolding และ การจัดแสดงวัสดุผลิตภัณฑ์จาก LAVENZ SIMPLY และ CARRIER รวมทั้งพื้นที่ ร้านหนังสือ ที่รวมหนังสือดีไซน์ ตกแต่ง เอาไว้ให้คุณได้เลือกซื้ออย่างจุใจ


DESIGN CAFE BY P/S/D

Room Design Cafe ไฮไลต์โซน room Showcase ในงาน บ้านและสวนแฟร์ Select 2024 ที่คุณห้ามพลาด!!

room x party / space / design สตูดิโอออกแบบระดับแนวหน้าของไทย นำโดยคุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร ผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบคาเฟ่ชื่อดังมากมาย โดยครั้งนี้ได้ร่วมออกแบบ room Design Café ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก Signature Blend ธีมหลักของงานแฟร์ บรรยากาศของคาเฟ่จึงเต็มไปด้วยดีไซน์สนุก แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร!

#แตกต่าง_พิเศษ_ลงตัว
คาเฟ่ได้แรงบันดาลใจจากเทรนด์แอนะล็อก (Analog) ที่หวนกลับมาได้รับความนิยมในยุคนี้อีกครั้ง โดยผู้ออกแบบได้ตีความจากธีม Signature Blend ของงานแฟร์ที่เลือกใช้สีม่วงเข้มจากสี Mylands ผสมผสานกับนิยามของคำว่า “แตกต่าง พิเศษ ลงตัว” สะท้อนภาพความชื่นชอบในงานอดิเรกที่หลากหลาย แม้ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่กลับสามารถเข้ากันได้ ไม่ว่าจะเป็นบู๊ธดีเจ Turntable ซึ่งเป็นความนิยมที่ต่อเนื่องมาจากกระแสการเก็บสะสมแผ่นไวนิล สเก็ตบอร์ด รถแข่ง Tamiya แล้วถูกนำมาหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมกาแฟ และคาเฟ่สีม่วงสดใสได้อย่างน่าสนใจ

เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนกลางของคาเฟ่ หรือ Gathering Space ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปทรงพีระมิด และลานสเก็ตบอร์ด โดยออกแบบให้เป็นยูนิตลอยตัว เคลื่อนย้ายง่าย จัดเรียงใหม่ได้ตามการใช้งาน ผสมผสานฟังก์ชั่นได้หลากหลาย ไม่มีการกำหนดพื้นที่ Speed Bar หรือ Slow Bar ตายตัว สามารถสลับกันได้ เพื่อตอบโจทย์กิจกรรม หรือการใช้งานได้หลากหลาย อีกทั้งสามารถใช้ซ้ำนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อย ๆ เหมาะกับการออกอีเว้นต์ ทั้งยังช่วยให้พื้นที่บู๊ธดีเจ Turntable มีความน่าสนใจ และเสียงเพลงจากแผ่นไวนิลที่เปิดคลอยังสร้างมิติทางบรรยากาศให้เป็นคาเฟ่ที่ไม่เหมือนใคร

#กาแฟดีต้องมีขนมที่คู่กันMuch&Mellow Cafe ร้านกาแฟ และขนมเจ้าดังจากจังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานี ที่เสิร์ฟทั้ง Specialty Coffee และขนมอบสดใหม่ทุกวัน ครั้งนี้ party / space / design ได้ชวน Much&Mellow มาร่วมสร้างประสบการณ์พิเศษ และอบขนมเมนูเด็ดกันถึงในงานบ้านและสวนแฟร์แห่งนี้เลยทีเดียว รับรองได้ว่าทุกคนจะได้รับบรรยากาศเห็นทุกขั้นตอน เย้ายวนใจกับกลิ่นหอม ๆ และหลากเมนูที่คัดสรรมาแล้ว ณ room Design Café

#ชวนมาฟังDesignTalkนอกจากนี้ ภายในงานยังมีไอเดียการออกแบบ และเทรนด์คาเฟ่ยุคนี้ ที่สามารถเข้ามารับฟังกันได้แบบเต็มอิ่ม กับโปรแกรมเสวนาที่มีชื่อว่า The Design Clinic for SMEs ณ โซน room Showcase วันที่ 30 มีนาคม เวลา 13.00 น.


BETTERISM Collection 2024

Betterism Stool จากป้ายไวนิลที่ถูกใช้ในงานบ้านและสวนแฟร์ หลังจากจบงาน เมื่อป้ายไวนิลถูกนำมาคัดแยก จัดการด้วยกระบวนการของ MORE upcycle ให้กลายเป็นแผ่นที่นั่งที่แข็งแรง พร้อมกับคงเอกลักษณ์คงแผ่นไวนิลที่ไม่เหมือนวัสดุอื่นๆ

BETTERISM: Good Design for a Better World Room Books X MORE – Waste is More ชุดเฟอร์นิเจอร์นี้ประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ขาเก้าอี้จากสเตนเลสสตีล ที่มีความทนทาน ใช้งานได้นานนับ 10 ปี และชิ้นส่วนที่นั่ง และหน้าโต๊ะผลิตจากวัสดุหมุนเวียนจากขยะ และวัสดุเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรม ในกรณีที่เกิดความเสียหาย ทาง MORE พร้อมนำวัสดุเหล่านั้นกลับเข้าสู่กระบวนการ Upcycling ผลิตเป็นชิ้นส่วนที่นั่งของเก้าอี้ตัวใหม่ในเวอร์ชั่นถัดไป นอกจากนี้ เก้าอี้ชุดนี้ยังได้รับการออกแบบให้สามารถปรับเปลี่ยนส่วนที่นั่ง รวมทั้งมีอุปกรณ์ในการยึดจับปรับการจัดวางได้อย่างหลากหลายรูปแบบในอนาคตอีกด้วย


room x LAVENZ SIMPLY
LIVE SIMPLY, BUT SIGNIFICANT

พาชมคอลเล็กชั่นอ่างล้างหน้าแบบวางบนเคาน์เตอร์ ดีไซน์ที่ไม่ซ้ำใคร สร้างบรรยากาศให้การใช้ห้องน้ำอย่างสนุกสนาน สามารถเลือกขนาด และสีสันของอ่างได้อย่างหลากหลาย บ่งบอกความพิเศษเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์การใช้งานด้วยวัสดุ Solid Surface Satin Matte พื้นผิวพิเศษเฉพาะของลาเวนซ์

BASIN

อ่างล้างหน้าผลิตจากวัสดุหินสังเคราะห์สมัยใหม่ SOLID SURFACE SATIN MATTE  ที่พัฒนาขึ้นให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าวัสดุหินธรรมชาติทั่วไป ด้วยนวัตกรรมการผลิตในกระบวนการหล่อขึ้นรูปแบบ  Rigorous Mold Casted Technology ให้ความเรียบเนียนสวยงาม มีสีสันที่สดใสสวยงาม วัสดุเป็นเนื้อเดียวกันทั่วทั้งชิ้นงาน มีคุณสมบัติพิเศษที่ให้อายุการใช้งานได้ยาวนาน ซ่อมแซมได้เมื่อเสียหาย และทำให้เหมือนใหม่ได้เสมอ

  • COLORFUL
    มีสีสันสวยงามตลอดอายุการใช้งาน
  • DURABILITY
    ทนกรด ด่าง และสารเคมี วัสดุแข็งแรงทนทานรับประกันนานถึง 10 ปี
  • NON-POROUS
    วัสดุไม่มีรูพรุน ความหนาแน่นสูง ไม่ดูดซึมน้ำและความชื้น ทำความสะอาดง่าย
  • Hygienic / Anti-Bacteria
    ยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียได้ถึง 99.99%

CABINET

ตู้ผลิตจากวัสดุแผ่นไม้พิเศษที่ทนความชื้นสูง HMR (High Moisture Resistance Board) ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ลดอัตราการขยายตัวในเนื้อไม้ ช่วยเพิ่มแรงต้านการหดตัวและคลายตัวความหนาของไม้ ดังนั้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในห้องน้ำที่ต้องสัมผัสกับความชื้นทุกวัน จึงยังมีความแน่นหนา ทนทาน และยังมีความเรียบเนียนสูง เมื่อนํามาใช้ปิดผิวจะได้พื้นผิวที่แน่นหนา เรียบเนียน สวยงามตามความต้องการ

  • NATURAL SURFACE
    ให้ลวดลายและพื้นผิวสัมผัสเหมือนวัสดุธรรมชาติ
  • WATERPROOF
    วัสดุสามารถทนทานความชื้นได้ดี
  • SCRATCH PROTECTION
    ใช้งานสบายใจสามารถป้องกันรอยขีดข่วน

BETTERISM Talk

𝐏𝐃𝐌 𝐁𝐑𝐀𝐍𝐃: 𝐂𝐎𝐌𝐌𝐔𝐍𝐈𝐂𝐀𝐓𝐈𝐎𝐍 𝐅𝐎𝐑 𝐒𝐔𝐒𝐓𝐀𝐈𝐍𝐀𝐁𝐋𝐄 𝐃𝐄𝐒𝐈𝐆𝐍 𝐏𝐑𝐎𝐃𝐔𝐂𝐓พบกับ! คุณดิว ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้ง PDM BRAND ที่จะมาเผยเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ของ PDM การผสมผสานการออกแบบกับความยั่งยืน เทคนิคการสื่อสารผลิตภัณฑ์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค รวมไปถึงแนวทางการสื่อสาร และต่อยอดไอเดีย Sustainable Design Product
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567
13.00 – 14.00 น.
ณ room Showcase ฮอลล์ EH103
ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง: https://amarinfair.com/event/bs-select-2024/activity/295


𝐄𝐌𝐏𝐎𝐖𝐄𝐑𝐈𝐍𝐆 𝐄𝐍𝐓𝐑𝐄𝐏𝐑𝐄𝐍𝐄𝐔𝐑𝐒 𝐈𝐍 𝐒𝐔𝐒𝐓𝐀𝐈𝐍𝐀𝐁𝐋𝐄 𝐌𝐀𝐓𝐄𝐑𝐈𝐀𝐋𝐒: เคล็ดลับสร้างธุรกิจด้วยวัสดุยั่งยืนเสวนาแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ประกอบการวัสดุยั่งยืน โดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร ผู้ก่อตั้ง loqa และ คุณเชียร์-ชนน วระพงษ์สิทธิกุลผู้ก่อตั้ง Harvbrand รวมทั้งสนทนาถึงแนวทางปรับเปลี่ยนธุรกิจเดิมของคุณให้ก้าวเข้าสู่ Circular Economy ดำเนินรายการโดย วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์คอนเทนต์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืนของ room
24 มีนาคม 2567
15.00-16.30
ณ room Showcase ฮอลล์ EH103
ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง: https://amarinfair.com/event/bs-select-2024/activity/343


DESIGN CLINIC for SME – TALK

𝗦𝗺𝗮𝗹𝗹 𝗖𝗮𝗳𝗲 𝗗𝗲𝘀𝗶𝗴𝗻 & 𝗧𝗿𝗲𝗻𝗱𝘄𝗮𝘁𝗰𝗵 𝟮𝟬𝟮𝟰 ออกแบบคาเฟ่ไซส์เล็กให้โดดเด่น พร้อมอัปเดตเทรนด์ดีไซน์ในธุรกิจคาเฟ่ยุคนี้ โดย คุณศุภรัตน์ ชินะถาวร จาก party / space / design
30 มีนาคม 2567
13.00-14.30 น.
ณ room Showcase ฮอลล์ EH103
ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง: https://amarinfair.com/event/bs-select-2024/activity/340

𝗨𝗻𝗹𝗼𝗰𝗸𝗶𝗻𝗴 𝗡𝗲𝘄 𝗖𝗼𝗺𝗺𝗲𝗿𝗰𝗶𝗮𝗹 𝗩𝗮𝗹𝘂𝗲 𝘁𝗵𝗿𝗼𝘂𝗴𝗵 𝗥𝗲𝗻𝗼𝘃𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 รีโนเวทอาคารเก่าสู่พื้นที่ธุรกิจใหม่ โดย คุณธนชาติ สุขสวาสดิ์ และ คุณกานต์ คำแหง จาก pommballstudio
สร้างมูลค่าใหม่ให้อาคารเก่าผ่านการรีโนเวตอย่างไรให้โดดเด่นด้วยดีไซน์ และตอบโจทย์ความเป็นจริงในโลกธุรกิจ พร้อมอัปเดตเทรนด์ดีไซน์ในกระแสของคาเฟ่ หรือร้านอาหารยุคนี้
30 มีนาคม 2567
15.00-17.00 น.
ณ room Showcase ฮอลล์ EH103
ลงทะเบียนสำรองที่นั่ง: https://amarinfair.com/event/bs-select-2024/activity/338


20 วัสดุจากนวัตกรรม ธรรมชาติ และงานคราฟต์

นวัตกรรมจากวัสดุเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าต่อยอดให้ธุรกิจ

ปัจจุบันเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมมีมากมายหลายตันต่อปี ตั้งแต่อุตสาหกรรมเกษตรไปจนถึงอุตสาหกรรมพลาสติก และอื่น ๆ นอกจากผลผลิตที่นำมาเพื่อการอุปโภค บริโภค การนำเศษเหลือทิ้งนั้นมากำจัดอย่างถูกวิธีก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ปัจจุบันเทรนด์นวัตกรรมวัสดุหมุนเวียนเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน (Circular Economy ) แทบจะเป็นนโยบายหลักของหลายองค์กรที่จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ Circular Economy นำไปสู่ Circular Design โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาช่วยทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์และฟังก์ชั่นการใช้งานที่เปลี่ยนไปจากผลผลิตเดิมอย่างน่าสนใจและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

วัสดุธรรมชาติและงานคราฟต์ ทางเลือกยั่งยืนที่ไม่ใช่เพียงเทรนด์อีกต่อไป

ย้อนกลับไปยังภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ถูกตีความสู่ปัจจุบัน เมื่องานคราฟต์จากชุมชนมักผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่ได้จากในพื้นที่ หรือผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่วัสดุที่ยั่งยืนเพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เทรนด์วัสดุรักษ์โลกที่ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาเหล่านี้เข้าไปแทรกตัวอยู่ในทุก ๆ วงการ ทั้งเทคโนโลยี แฟชั่น ไปจนถึงวัสดุก่อสร้าง เช่น ในงานตกแต่งทางสถาปัตยกรรม ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความยั่งยืน ถือเป็นทางเลือกอันดับแรกที่ต้องทำ

2 แนวทางที่เป็นทั้งวัสดุจากธรรมชาติ และวัสดุจากงานคราฟต์ภูมิปัญญาของชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งเพิ่มมูลค่ารายเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาศิลปะหัตกรรมของไทยให้ร่วมสมัยมากขึ้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน งานคราฟต์จึงมาจากหลายสาขาความเชี่ยวชาญ เช่น งานสิ่งทอ งานจักสาน งานไม้ งานเซรามิก ฯลฯ ซึ่งเมื่อรวมกับวัสดุธรรมชาติพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต เลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยลดการปล่อยมลพิษ Carbon Footprint จากการขนส่งจากต่างประเทศได้อย่างมหาศาล นอกจากการต่อยอดภูมิปัญญา ความเชี่ยวชาญเดิม เพื่อตอบรับกระแสโลกและความต้องการของผู้บริโภคที่กระจายในกลุ่มตลาดให้กว้างสู่สากลมากขึ้นอีกทั้งสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กับงานคราฟต์ไทยสู่ความยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

room Books ร่วมกับ CEA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency) และ ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center) ขอนำเสนอวัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลวัสดุไทย TCDC Material Database โดยมีบางวัสดุได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูลวัสดุระดับนานาชาติจาก Material ConneXion เพื่อร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับนักออกแบบ และผู้ประกอบการสู่แนวทางวัสดุที่ตอบสนองต่อทั้งธุรกิจและงานออกแบบ โดยเฉพาะในแง่ของความยั่งยืนที่เปิดกว้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม: www.tcdcmaterial.com
อีเมล: [email protected] โทร. 0-2105-7400 ต่อ 254, 241
ตั้งแต่เวลา 10.30-19.00 น. (ปิดวันจันทร์)
เนื้อหา: ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center)

Egg Shell (E Marble)
รหัสวัสดุ MI : 00306-16
โดย บริษัท โซไนต์ อินโนเวทีฟ เซอร์เฟสเซส จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/th/search-material/7/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81/info/MI00306-16
วัสดุ: กระเบื้องผสมเปลือกไข่
รายละเอียด: วัสดุปิดผิวที่มีส่วนผสมของเศษเปลือกไข่เพื่อการตกแต่ง ผลิตด้วยเทคนิคแบบดั้งเดิม ดั้งเดิม โดยนำเศษเปลือกไข่ 40% มาผสมกับเรซินเนื้อแข็งสีต่าง ๆ สามารถผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์สวยงาม หรือเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมระหว่าง เปลือกไข่และหินสังเคราะห์ หล่อขึ้นรูปเป็นแผ่นในแม่พิมพ์ เมื่อคงสภาพแล้วจึงนำไปขัดผิวให้เรียบจุดเด่น: วัสดุมีความแข็งแรง ทนทาน  มีความหนาตั้งแต่ 12 ถึง 15 มิลลิเมตร 
ลักษณะการใช้งาน: สามารถนำมาทำเป็นโต๊ะหินอ่อน ใช้ปูพื้นผิวโต๊ะทำงาน เคาน์เตอร์ครัว และปูผนัง ที่มีความเรียบหรู และเป็นเอกลักษณ์

Green Rock
รหัสวัสดุ MI : 01046-01
โดย บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B9…/info/MI01046-01
วัสดุ: วัสดุเม็ดเซรามิกมวลเบาสังเคราะห์
รายละเอียด: ผลผลิตจากกระบวนการเผาวัตถุดิบที่ได้จากของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม นำมาขึ้นรูปในอุณหภูมิสูง มีรูพรุน มี 2 ขนาด คือ 4-6 มิลลิเมตร และ 7-11 มิลลิเมตร
จุดเด่น: น้ำหนักเบา แข็งแรง และดูดซึมความชื้นได้ดี สามารถเป็นฉนวนกันเสียง ฉนวนกันร้อน และกักเก็บความเย็นได้
ลักษณะการใช้งาน: สามารถนำมาใช้ทดแทนหินในงานคอนกรีต เช่น ผนังคอนกรีตพรีคาสต์ (precast) บล็อคก่อผนัง (Green Block) หรือในงานหินเทียมและวัสดุตกแต่งภายนอก (facade) ได้ สามารถนำมาทำเป็นโต๊ะหินอ่อน ที่มีความเรียบหรู และเป็นเอกลักษณ์

ไมโครสโตน
รหัสวัสดุ MI : 01038-02
โดย บริษัท แมทเด๊ป จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01038-02
วัสดุ: แผ่นวีเนียร์หินที่บางเฉียบเพียง 1.0 มิลลิเมตร
รายละเอียดแผ่นวีเนียร์หินที่บางเฉียบเพียง 1.0 มิลลิเมตร นวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี ที่สกัดจากหินธรรมชาติ 100% ด้วยเทคโนโลยีการลอกหินขั้นสูงและเสริมความแข็งแรงด้วยใยผ้าคอตตอนด้านหลังแผ่นหิน ลักษณะคล้ายหนังและกระดาษ
จุดเด่น: มีความยืดหยุ่นสูงสามารถดัดโค้งได้ไม่จำกัด และพับรัดเข้ามุมได้
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน ห่อหุ้มเฟอร์นิเจอร์ และงานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้หลากหลายประเภท เช่น เคสโทรศัพท์ กระเป๋า โคมไฟ

แผ่นอะคูสติกพิมพ์ลายกราฟิก
รหัสวัสดุ MI : 00414-05
โดย บริษัท เฟลเทค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม: https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI00414-05
วัสดุ: เส้นใยโพลีเอสเตอร์ (PET) 100% ซึ่งรีไซเคิลจากขวดพลาสติกใช้แล้ว 60%
รายละเอียด: เส้นใยโพลีเอสเตอร์ถูกเชื่อมประสานด้วยกระบวนการอบความร้อน ไม่มีส่วนผสมของกาว ปราศจากฟอร์มัลดีไฮด์ หรือสารอินทรีย์ไอระเหย (VOCs) ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้อยู่อาศัย แผ่นอะคูสติกมีขนาด 1,220 x 2,800 มิลลิเมตร มีความหนาตั้งแต่ 7 – 12 มิลลิเมตร มีสีมาตรฐาน 38 สี และสามารถพิมพ์สีพิเศษ และลวดลายต่าง ๆ ได้ โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับของตัววัสดุ
จุดเด่น: วัสดุนี้มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง (NRC) ที่ 0.45 ตามมาตรฐาน AS ISO 354-2006 ซึ่งสามารถลดเสียงรบกวนได้ประมาณ 45% มีคุณสมบัติกันไฟตามมาตรฐานของเทศบัญญัติยุโรป CE Marking ค่าความคงทนของสีที่ระดับ 3 ตามมาตรฐาน ISO 105-B02 และสามารถนำไปขอรับมาตรฐานอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม LEED ได้ ในเรื่องการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลและคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมถึงทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะนำไปกรุฝ้าเพดานหรือปูผนังเพื่อดูดซับเสียงภายในอาคาร 

Seamix Collection
รหัสวัสดุ MI : 01110-01
โดย THINKK Studio
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B9…/info/MI01110-01
วัสดุ: Seamix Collection
รายละเอียด: เป็นวัสดุที่มาจากเศษการประมง และอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งมีขยะล้นเหลือเป็นปริมาณมากในแต่ละวัน โดยผลิตจากเศษกระดองปู (Crabstone) หรือเปลือกหอยนางรม (Oysterstone) หรือเปลือกแมลงภู่ (Musselstone) 25% หล่อขึ้นรูปในแม่พิมพ์ร่วมกับซีเมนต์ 70% สีและสารเติมแต่งอื่น ๆ 5% เมื่อชิ้นงานแห้งจึงนำไปขัดแต่ง และเคลือบผิว ลักษณะชิ้นงานที่ได้จะคล้ายหินขัด ผลิตเป็นแผ่นที่ความหนาเริ่มต้น 3-4 เซนติเมตร
จุดเด่น: ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของความกว้างและความความยาว แต่หากในกรณีที่ชิ้นงานมีขนาดใหญ่จะมีการเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงสำหรับรับน้ำหนักของตัววัสดุเอง และรับน้ำหนักตามการใช้งานหากผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ Seamix Collection จึงมีความแข็งแรง ผลิตได้หลากสี
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับเป็นวัสดุตกแต่ง หรือออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้

ยางพาราเคลือบป่าน
รหัสวัสดุ MI : 00993-02
โดย บริษัท เทพเทกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม: https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI00993-02
วัสดุ: แผ่นยางพาราธรรมชาติ 100%
รายละเอียด: แผ่นยางพาราธรรมชาติ 100% ไม่ผสมยางสังเคราะห์ ผ่านกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า Dunlop Process โดยใช้ระบบไอน้ำ เคลือบกับผ้าป่านด้วยกาวยางธรรมชาติ สามารถออกแบบรูปร่าง สี และขนาดได้ตามความต้องการ รวมทั้งสามารถเลือกวัสดุอื่น ๆ มาเคลือบหรือหล่อยางได้ตามต้องการ เช่น หนัง หรือผ้า
จุดเด่น: มีความยืดหยุ่น ป้องกันเสียง และลดแรงกระแทกได้ดี
ลักษณะการใช้งาน: สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ทั้งเฟอร์นิเจอร์ เช่น พรมหรือเบาะรองนั่ง สินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น พื้นรองเท้า กลุ่มบรรจุภัณฑ์ เช่น บล็อกรองกันกระแทก

วัสดุทดแทนไม้จากเส้นใยธรรมชาติ
รหัสวัสดุ MI : 01009-01
โดย REHUB Studio
สืบค้นเพิ่มเติม: https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01009-01
วัสดุ: วัสดุทดแทนไม้ผลิตจากเส้นใย
รายละเอียด: วัสดุทดแทนไม้ผลิตจากเส้นใยที่ได้จากของเหลือทางการเกษตรที่หาได้ในประเทศ เช่น ใบสับปะรด ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ใยกัญชง ใยนุ่น โดยมีส่วนผสมของวัสดุธรรมชาติสูงถึง 85 – 90% ใช้งานภายนอก สั่งผลิตโดยเลือกส่วนผสมที่ต้องการเองได้มากกว่า 1 วัสดุ เพื่อให้ได้สัมผัสและคุณสมบัติที่ต้องการ ตัววัสดุจะทิ้งกลิ่นหอมจากธรรมชาตินั้น ๆ และจะค่อย ๆ จางไปตามกาลเวลา
จุดเด่น: มีความแข็งแรง ทนทาน มีสารเคลือบกันน้ำ แต่ไม่ควรแช่น้ำ
ลักษณะการใช้งาน:เหมาะกับนำมาขึ้นรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายใน วัสดุปิดผิว แม้แต่เครื่องประดับ เช่น แหวน หรือกำไลข้อมือ

Redust แผ่นรีไซเคิลจากเศษเฟอร์นิเจอร์
รหัสวัสดุ 01037-01
โดย HARV brand
สืบค้นเพิ่มเติม
https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01037-01
วัสดุ: แผ่นรีไซเคิลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในโรงงานเฟอร์นิเจอร์
รายละเอียด: แผ่นรีไซเคิลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เช่น ขี้เลื่อย ขอบพีวีซี และเศษแผ่นไม้ชิ้นเล็ก ที่นำมาอัดเป็นแผ่นวัสดุใหม่ด้วยเรซิน โดยเริ่มจากการทำแม่พิมพ์สำหรับหล่อขึ้นรูป และนำเศษวัสดุต่าง ๆ มาหล่อเรซินทีละชั้น
จุดเด่น: ช่วยลดการใช้เรซินลงมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการหล่อเรซินทั่วไป สามารถเลือกใส่เศษวัสดุเพื่อเกิดลวดลายที่ต่างกันได้ รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนสีสันของวัสดุได้ตามต้องการ ขนาดและรูปร่างของวัสดุขึ้นอยู่กับขนาดแม่พิมพ์ และชนิดของเศษวัสดุที่เลือกมาใส่ สำหรับขี้เลื่อยไม้และเศษขอบพีวีซีสามารถขึ้นรูปได้ไม่จำกัด
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับนำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ สามารถใช้ทดแทนแผ่นไม้ในการทำท็อปโต๊ะ และประกอบกับงานแผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดเป็นแผ่นขาเก้าอี้หรือส่วนต่าง ๆ ของเฟอร์นิเจอร์ได้

กระดาษจากดอกไม้
รหัสวัสดุ MI : 01020-01
โดย LUKYANG
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01020-01
วัสดุ: วัสดุแปรรูปกระดาษจากดอกไม้
รายละเอียด: วัสดุแปรรูปกระดาษจากดอกไม้ผลิตจากดอกไม้ที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติ และจากเศษดอกไม้เหลือทิ้งจากธุรกิจดอกไม้ ทั้งดอกคำฝอย ดอกอัญชัญ ดอกดาวเรือง และดอกไม้ชนิดอื่น ๆ โดยการนำดอกไม้ไปผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นกระดาษด้วยวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งใช้เทคนิคเดียวกันกับการทำกระดาษสา
จุดเด่น: ผสมผสานกับเทคนิคเฉพาะของแบรนด์ LUKYANG สามารถขึ้นรูปด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น อัด พับ
ลักษณะการใช้งาน: ผลิตภัณฑ์อย่างโคมไฟ หรือแจกัน พร้อมย่อยสลายตามธรรมชาติได้ 100%

เส้นใยกล้วยอัด
รหัสวัสดุ MI : 01012-01
โดย Hyperdesign Lab
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01012-01
วัสดุ: เส้นใยกล้วยอัดจากต้นกล้วยเหลือทิ้งในฟาร์มท้องถิ่น
รายละเอียด: เส้นใยกล้วยอัดจากต้นกล้วยเหลือทิ้งในฟาร์มท้องถิ่น ผ่านกระบวนการบ่มเพื่อให้คลอโรฟิลล์หมด และนำเส้นใยมาอัดขึ้นรูป มีความแข็งแรงสูง น้ำหนักเบา ไม่สามารถกันน้ำได้ 100% แต่สามารถเคลือบกันน้ำแบบ Water Repellent ได้ พร้อมเคลือบสารกันรังสียูวีในตัว
จุดเด่น: ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เคลือบสีธรรมชาติได้ตามต้องการ เช่น คราม น้ำตาลจากแกนสีเสียด เหลืองเข้มจากดอกทองกวาว เหลืองอ่อนดอกสุพรรณนิการ์ และสีดำจากมะพร้าวเผา
ลักษณะการใช้งาน: สามารถนำไปอัดขึ้นรูปในแม่พิมพ์ได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น ผนังประดับ แจกัน โต๊ะ เก้าอี้

ฉนวนเส้นใยสับปะรด
รหัสวัสดุ MI : 01056-02
โดย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01056-02
วัสดุ: วัสดุฉนวนกันเสียงและกันความร้อนภายในอาคารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ รายละเอียด: ผลิตจากเส้นใยของใบสับปะรด (PALF) ที่เป็นผลพลอยได้จากการเพาะปลูกซึ่งปกติจะถูกทิ้งไว้ในท้องไร่ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและ PM2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นมลภาวะอนุภาคละเอียด ประกอบด้วยเส้นใยของใบสับปะรด 30% และเส้นใยพอลีเอสเตอร์ 70% เป็นวัสดุทางเลือกแทนฉนวนใยแก้ว มีสีเบจธรรมชาติและสามารถหุ้มผ้าเพิ่มได้ ผ้ามีสารเคลือบหน่วงไฟจากองค์ประกอบของเกลือฟอสเฟตอินทรีย์ ซึ่งเป็นสารเติมแต่งมาตรฐานสำหรับวัสดุฉนวนและสารหน่วงไฟที่เติมเข้ามายังเพื่อเพิ่มความต้านทานความร้อนให้สูงขึ้น
จุดเด่น: แผ่นเส้นใยนี้ทำจากวัสดุที่ปลูกทดแทนใหม่ได้ มีคุณสมบัติกักเก็บเสียงดีเยี่ยม มีผิวสัมผัสพรุนและน้ำหนักเบา ลูกค้าสามารถกำหนดสีสัน ขนาด ความหนาและองค์ประกอบได้ตามต้องการ
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะนำไปตกแต่งภายในรถยนต์และทำฉนวน

ไม้อัดบล็อกจากแกนกัญชง
รหัสวัสดุ MI : 00353-06
โดย บริษัท ดีดีเนเจอร์คราฟท์ จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม:
https://www.tcdcmaterial.com/th/material/9/ไม้/info/MI00353-06
วัสดุ: ไม้อัดบล็อกจากแกนต้นกัญชง เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากธรรมชาติที่มักถูกกำจัดทิ้ง
รายละเอียด: ผลิตขึ้นจากการบดแกนต้นกัญชงที่เหลือทิ้งในขนาดที่ต่างกัน พร้อมอัดขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ แต่ไม่เกิน 45 x 30 เซนติเมตร เลือกความหนาบางของไม้ได้ระหว่าง 1 – 4 เซนติเมตร
จุดเด่น: เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้ง สามารถเติมสีสันตามธรรมชาติ ตัดแต่งตามขนาดที่ต้องการได้
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับใช้ในงานตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงใช้ในเชิงก่อสร้างเพื่อทดแทนไม้อัดจากไม้ประเภทอื่นได้

กระเบื้องและอิฐจากเศษเซรามิก
รหัสวัสดุ MI : 01013-01
โดย โลกา
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B9…/info/MI01013-01
วัสดุ:กระเบื้องและอิฐจากเศษเซรามิกของอุตสาหกรรมต่าง ๆ
รายละเอียด: กระเบื้องและอิฐจากเศษเซรามิกของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กว่า 80 – 90% ที่ผ่านการขึ้นรูปทางพันธะเคมี (Non-toxic Chemical) จึงไม่ต้องเผาที่ความร้อนสูง ทำให้ประหยัดพลังงานในการผลิต และหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ ผิวสัมผัสด้าน มีสีสันให้เลือกถึง 9 สี พร้อมขนาดและรูปแบบที่หลากหลาย
จุดเด่น: เมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้วสามารถทุบทิ้งและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อได้
ลักษณะการใช้งาน: สามารถใช้เป็นวัสดุตกแต่งอาคาร วัสดุก่อสร้างได้

แผงอะคูสติกผลิตจากเศษเหลือทางการเกษตร
รหัสวัสดุ MI : 01016-02
โดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญไตรภพ
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01016-02
วัสดุ: แผงอะคูสติกผลิตจากขยะการเกษตรและกระดาษรีไซเคิล
รายละเอียด: แผงอะคูสติกผลิตจากขยะการเกษตรและกระดาษรีไซเคิล ประกอบด้วยฟางข้าว 40% เปลือกเมล็ดกาแฟ 30% และเยื่อกระดาษรีไซเคิล 30% เป็นการนำเศษเหลือทางการเกษตรที่มักต้องเผาทำลายกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งช่วยลดมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอน และเพิ่มการอัพไซเคิลวัตถุดิบ มีคุณสมบัติกระจายเสียงในตัวและยังสามารถดูดซับความชื้น ผลิตโดยการผสมวัตถุดิบทั้งหมดและเทลงในแม่พิมพ์ จากนั้นนำไปบีบอัด ทำให้แห้ง และทำสี แล้วนำมาจัดเรียงบนแผ่นกระดาษแข็งกันไฟลาม ใช้สีย้อมธรรมชาติหรือสีอะคริลิก เพื่อให้ได้รูปแบบที่หลากหลาย
จุดเด่น: เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานวัสดุสามารถนำกลับมาผลิตเป็นแผ่นใหม่ได้ มีค่าการนำความร้อนเฉลี่ย 23.8°C อยู่ที่ 0.046 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ซึ่งเป็นคุณสมบัติของฉนวนที่ดี ปราศจากฟอร์มาลดีไฮด์ และไม่มีใยแก้วหรือแร่ใยหิน สามารถต้านทานเปลวไฟในระดับปานกลาง
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับงานออกแบบภายใน องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม การตกแต่ง ฯลฯ

E-CO DANKWIAN POTTERY
รหัสวัสดุ MI : 01026-01
โดย PeckPeck Studio
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B9…/info/MI01026-01
วัสดุ: แผ่นดินเผาจากเศษเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักจากกระบวนการผลิต
รายละเอียดนำมาขึ้นรูปใหม่โดยมีส่วนผสมหลักของวัตถุดิบอยู่ 3 ชนิด ที่ผ่านการบดและผสมกันตามอัตราส่วน 1) ดินด่านเกวียน 40% 2) ทรายด่านเกวียน (ทรายลำน้ำมูล) 30% 3) GROG (เครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักเสียหาย) 30%
จุดเด่น: นำไปเผาในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้เผาเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป (900 องศาเซลเซียส) เพื่อลดใช้พลังงานในการเผาไหม้ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ลักษณะการใช้งาน:สามารถใช้ในงานตกแต่งภายในได้ เช่น ผนังบ้านหรือห้องต่าง ๆ และสามารถขึ้นรูปเป็นชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผาตามต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็น ถ้วย ชาม ไห เป็นต้น

กระดาษปาหนัน
รหัสวัสดุ MI : 00667-02
โดย วิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์เตยปาหนันบ้านดุหุน
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI00667-02
วัสดุ: กระดาษปาหนัน (PANAN PAPER)
รายละเอียด: ผลิตจากวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในงานหัตถกรรมจักสานเตยปาหนัน ประกอบไปด้วยเยื่อกระดาษจากเส้นตอกเตยปาหนัน 95 % และ CMC 5 % ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีเส้นตอกเหลือเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ย 10 – 30 % ของงานจักสานแต่ละชิ้น จึงนำมาแปรรูปเป็นกระดาษ มีน้ำหนักเบา
จุดเด่น: มีลักษณะพื้นผิวที่ดูโดดเด่นจากกระบวนการผลิตของเยื่อกระดาษตั้งแต่แบบหยาบจนถึงแบบละเอียด มีสีธรรมชาติแบบดั้งเดิม สามารถผลิตได้ขนาด A4 – ขนาด A1
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับ ทำบรรจุภัณฑ์ โคมไฟจากกระดาษปาหนัน เป็นต้น ข้อควรระวังในการใช้งาน ไม่ควรสัมผัสความชื้น

ผ้าทอจากหญ้าสามเหลี่ยม
รหัสวัสดุ MI : 01102-01
โดย อีนาง
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01102-01
วัสดุ: ผ้าทอจากหญ้าสามเหลี่ยม 45% ฝ้าย 35% ใยข่า 15% และวัสดุกันน้ำ 5%
รายละเอียด: ต้นหญ้าสามเหลี่ยมที่ปลูกในจังหวัดน่านและเก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้ง เป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและยังไม่เคยถูกทอร่วมกับเส้นใยข่ามาก่อน ผ้าทอไม่ผ่านการย้อม แต่อาศัยสีธรรมชาติในตัวเส้นใยเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ชิ้นงาน หญ้าสามเหลี่ยมมี 3 สี ได้แก่ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลเข้ม
จุดเด่น: เส้นใยมีความเงางาม มีคุณสมบัติต้านทานตัวมอดและคราบต่าง ๆ การเคลือบสารกันน้ำช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ขนาดและรูปแบบการทอสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ ผลิตได้หน้ากว้างที่สุด 40 นิ้ว มีโครงสร้างค่อนข้างแข็ง สามารถโค้งตัวได้อย่างอิสระในแนวความยาวผ้า แต่จะอ่อนตัวได้เพียงเล็กน้อยในแนวหน้ากว้าง เส้นใยมีลักษณะเหมือนโครงแข็งที่อ่อนตัวได้
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะทำบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอภายในบ้าน แผ่นรองจาน งานออกแบบภายใน ฯลฯ


เส้นด้ายผักตบชวา
รหัสวัสดุ MI : 01002-01
โดย บริษัท สยามรุ่งเรือง จำกัด
สืบค้นเพิ่มเติม: https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01002-01
วัสดุ:เส้นด้ายผักตบชวา
รายละเอียด: เส้นด้ายนี้ที่ไม่ผ่านกระบวนการฟอกย้อมทางเคมี ประกอบด้วยเส้นใยฝ้าย 75% และผักตบชวา 25% ผลิตโดยการใช้เส้นใยจากลำต้นผักตบชวา ผสมกับฝ้ายด้วยเครื่องจักรระบบอุตสาหกรรม และปั่นเป็นเส้นด้ายสามารถนำไปย้อมสีธรรมชาติได้
จุดเด่น: เส้นด้ายเหนียว มีความติดทนของสี สามารถซักและถูกน้ำได้แบบเส้นด้ายทั่วไป แต่แนะนำให้ซักด้วยมือเพื่อเป็นการถนอมเส้นใย
ลักษณะการใช้งาน: สามารถทำงานถัก งานทอผ้า เป็นงานเคหะสิ่งทอ งานตกแต่งภายใน

หนังเทียมจากเปลือกโกโก้
รหัสวัสดุ MI : 01063-01
โดย วิสาหกิจชุมชนคุ้มเพชรโกโก้
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01063-01
วัสดุ: ผลิตภัณฑ์จากส่วนของเปลือกโกโก้
รายละเอียด: ผลิตภัณฑ์จากส่วนของเปลือกโกโก้ วัตถุดิบเหลือจากภายในชุมชน ประกอบไปด้วยเปลือกผลโกโก้ 60% ผ้า20% กาว 20% ผ่านการผลิตด้วยมือ เริ่มจากการต้มผลสดโกโก้ จนได้เส้นใยและทำการบด จากนั้นนำมาผสมกับตัวประสาน แล้วขึงบนผ้ารอให้แห้งตามธรรมชาติ หนังมีผิวสัมผัสเป็นเอกลักษณ์คล้ายหนังสัตว์ทั้งลวดลายและสีสันล้วนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
จุดเด่น: มีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน และหลังจากการใช้งานสามารถย่อยสลายคืนกลับสู่ธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับนำไปเป็นวัสดุทดแทนหนัง

หนังกาบกล้วย
รหัสวัสดุ MI : 01039-01
โดย ตานีสยาม
สืบค้นเพิ่มเติม https://www.tcdcmaterial.com/…/%E0%B8…/info/MI01039-01
วัสดุ: หนังไม่เบียดเบียนจากกาบกล้วยตานี(VEGEN LEATHER FROM BANANA)
รายละเอียด: แปรรูปด้วยขั้นตอนจากภูมิปัญญาและนวัตกรรมสิ่งทอ จากแถบอำเภอเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี ใช้กาวจากน้ำยางกล้วยสูตรเฉพาะของตานีสยาม ไร้สารเคมีในการผลิต
จุดเด่น: ผิวสัมผัสและคุณสมบัติเทียบเท่าหนัง เหนียว นุ่มลื่น ทนทาน ทนรอยขีดข่วนเล็ก ๆ กันน้ำ น้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับหนัง
ลักษณะการใช้งาน: เหมาะสำหรับนำไปตัดเย็บขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นทดแทนหนังสัตว์ได้ เช่น กระเป๋า หมวก ปกสมุด เคสโทรศัพท์ จนไปถึงวัสดุปิดผิวตกแต่งภายใน อย่างแผ่นรองโต๊ะ หรือวอลเปเปอร์