บ้านปาร์คนายเลิศ ชมบ้านไม้สักโบราณจากไม้สักทองอายุ 105 ปี

เปิดบ้านปาร์คนายเลิศ เรียนรู้การอนุรักษ์ บ้านไม้ โบราณ และชมงานฝีมือจากไม้จากของสะสมต่างๆ ผ่านนิทรรศการ “เรื่องเล่าผ่านไม้” โดยมีคุณวทัญญู เทพหัตถี ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์โบรารณสถานและสถาปัตยกรรม สถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการบูรณะเรือนไม้สักโบราณบ้านปาร์คนายเลิศมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีต รวมไปถึงการอนุรักษ์งานไม้ของบ้านปาร์คฯ พร้อมเยี่ยมชมงานศิลปะไม้โบราณล้ำค่าที่หาดูได้ยาก บ้านไม้สัก

“บ้านปาร์คนายเลิศ” เรือนไม้ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 ด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันมีอายุมากถึง 105 ปี ออกแบบโดยนายเลิศ เศรษฐบุตร หรือ เลิศ สะมันเตา ผู้ก่อตั้งปาร์คนายเลิศและผู้ริเริ่มธุรกิจหลายอย่างที่กลายเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน  บ้านไม้สัก

บ้านปาร์คนายเลิศ

คุณวทัญญู เทพหัตถี ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์โบรารณสถานและสถาปัตยกรรม

คุณวทัญญูเล่าว่า แรกเริ่มนายเลิศได้เดินทางมาถึงบริเวณทุ่งบางกะปิ (ชื่อของละแวกที่ตั้งปาร์คนายเลิศในปัจจุบัน) แล้วได้กว้านซื้อพื้นที่แถวนี้ เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศ เนื่องด้วยพื้นที่บริเวณนี้เดิมทีเป็นท้องนา ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย จึงมาถมที่แล้วสร้างบ้านพักตากอากาศไว้พักผ่อน รวมถึงสร้างสวน ที่เรียกว่าเป็นสวนสาธารณะเอกชนแห่งแรกให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้งาน ตัวบ้านแบ่งเป็นเรือน 2 หลัง หลังแรกใช้เป็นที่พัก หลังที่สองไว้รับแขก ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเพราะเป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี และในสมัยนั้นไม้สักยังเป็นไม้ที่หาได้ทั่วไป ราคาไม่แพงเหมือนปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อสังเกตฝ้าเพดาน บันไดและราวบันไดจะเห็นการใช้ไม้เป็นชิ้นๆ ซึ่งไม้ทั้งหมดนี้ เป็นไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมต่อเรือของนายเลิศ 

ฝ้าเพดานจากเศษไม้

ในตอนที่คุณวทัญญูเข้ามาบูรณะซ่อมแซมบ้านก็พบว่าตัวบ้านชำรุดเยอะ ไม่มีเสาเข็ม จึงทำให้บ้านทรุดทั้งหลัง คุณวทัญญูจึงได้ทำการดีดบ้านขึ้นมาประมาณ 1 เมตร ลงเสาเข็มให้ใหม่ และเลือกใช้ไม้เก่าในการซ่อมแซมบ้านทั้งหมด ซึ่งในการซ่อมแซมนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้งานทั้ง 3 รูปแบบด้วยกัน โดยปรับปรุงเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ ปรับปรุงเพื่อให้เจ้าของบ้านใช้งานได้ และแบบสุดท้ายเพื่อรองรับคนนอกในการใช้สถานที่จัดงาน ซึ่งในการปรับปรุงครั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยนี้เป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น ไม่ดูขัดกันจนเกินไป

ห้องรับแขก ที่เจ้าของยังใช้รับแขก และรับรองสำหรับผู้ที่ใช้บริการสถานที่สำหรับจัดงาน
ห้องรับแขกที่จัดแสดงของสะสมตั้งแต่สมัยอดีต กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ไปในตัว

หากสังเกตดีๆ ที่นี่ยังคงฝ้าเพดานไว้แบบเก่า มีจั่วระบายความร้อนรอบด้าน เพราะในสมัยก่อนไม่มีเครื่องปรับอากาศทำให้การสร้างบ้านไม้สมัยก่อนจะทำการกั้นห้องแค่ให้รู้ว่ากั้น แต่จะไม่กั้นไปถึงฝ้า เพื่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี นอกจากนั้นยังทาสีขาวบนเพดานตามสไตล์บ้านแบบดั้งเดิมเพื่อให้แสงสะท้อนกับสีขาวซึ่งจะทำให้บ้านดูโปร่งและสว่างมากขึ้น

พื้นบริเวณทางเชื่อมของเรือนทั้งสองหลัง จะมีลักษณะคล้ายปาร์เก้ ตัวไม้จะกว้าง 1 นิ้ว หนา 2 นิ้ว ไม่มีรอยตะปูด้านบน แต่จะเชื่อมต่อโดยการตีตะปูด้านข้าง เหมือนต่อจิ๊กซอว์ไปเรื่อย ๆ ติดเป็นแผ่นแข็ง ๆ ซึ่งทำจากเศษไม้ของอุตสาหกรรมของนายเลิศ เมื่อขึ้นมาจากทางเชื่อมจะเป็นเรือนนอน ซึ่งสันนิษฐานว่า แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้น่าจะใช้เป็นพื้นที่จัดงานสังสรรค์ รับรองแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งในตอนนี้ได้จัดเป็น Living Museum หรือพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชม โดยบริเวณนี้ได้นำของสะสมของนายเลิศ มาจัดแสดงเผื่อจำลองบรรยากาศในสมัยก่อนให้ได้ชมกัน

จัดแสดงของสะสม งานไม้เก่าๆ ของนายเลิศ เพราะนายเลิศเป็นคนที่ชื่นชอบงานไม้มาก
ชุดเก้าอี้สไตล์ตะวันออกสมัยราชวงศ์หมิง มีที่วางแขนและที่วางเท้าอีกทั้งมีพนักพิงที่โค้งมนเพื่อความสะดวกสบายตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลักพรรณไม้ เก้าอี้พับลักษณะนี้เป็นของชนชั้นสูงเบาะนั่งใช้เทคนิคการสาน มักใช้ตกแต่งภายในบ้านและสวนหรือใช้สำหรับการเดินทาง
ห้องรับประทานอาหารที่อดีตเคยรับรองทั้งราชวงศ์ รวมไปถึงแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถไปชมกันได้ที่นิทรรศการ “เรื่องเล่าผ่านไม้” ตั้งแต่วันนี้ -31 ตุลาคม 2563 นี้ (เปิดเฉพาะวันพุธ – วันอาทิตย์)
รอบเข้าชมเวลา 9.30 น. 11.30 น. 14.30 น. และ 16.30 น.
ค่าเข้าชม 250 บาท
สถานที่ บ้านปาร์คนายเลิศ ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 02 253 0123 หรือ E-mail: [email protected]  Facebook: Nai Lert Park Heritage Home 

ห้องที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ซึ่งเป็นลูกสาวของนายเลิศ
ลงมาด้านหลังบ้านจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว และมีทางลงไปบริเวณท่าน้ำ


เรื่อง: Tatsareeya S.
ภาพ: สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

บ้านไม้ บ้านไม้สัก ไม้สัก เรือนไม้ เรือนไม้สัก lบ้านไม้สัก บ้านไม้สัก บ้านไม้สัก บ้านไม้สัก บ้านไม้ บ้านไม้ บ้านไม้ บ้านไม้ บ้านไม้ บ้านไม้ l l l l l l l l l l l l l ll l l l l l l ll l l l l l l l l