SACICT CRAFT TREND GURU PANEL 2021 ระดมสมองผ่านเทรนด์ใหม่ของงานคราฟต์

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้จัดงานเสวนาระดมสมอง SACICT Craft Trend GURU PANEL 2021 ขึ้นเพื่อหารือแนวทางสำหรับปี 2021 เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมงานหัตถศิลป์ไทยให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และเป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีสากล

ในปีนี้ SACICT เชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญ (guru) จากหลากหลายสาขามาพูดคุยระดมสมองเหมือนเช่นเคย โดยการประชุมจะจัดขึ้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ณ GLOWFISH SATHORN โดยครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านจะเสวนานำเสนอความเห็นกันภายใต้แนวคิด  “FLUIDITY – ถ่ายเท ประสาน สร้างสรรค์ หลากหลาย”

FLUIDITY - ถ่ายเท ประสาน สร้างสรรค์ หลากหลาย

FLUIDITY แนวโน้มการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ว่าด้วย การถ่ายเท และสอดประสานกันขององค์ความรู้แห่งของหัตถศิลป์อย่างไร้เส้นแบ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย และไร้กรอบจำกัด เมื่อเรามององค์ความรู้แห่งหัตถศิลป์ให้เปรียบเสมือนหยดน้ำโปร่งใสที่พร้อมเคลื่อนไหล หลอมรวม และเปลี่ยนแปรสีสันรูปทรงอย่างอิสระไปตามสิ่งรองรับ ไร้ซึ่งกรอบและกฎเกณฑ์ ไร้ซึ่งข้อจำกัดแห่งการประยุกต์สร้างสรรค์ เมื่อนั้นช่างฝีมือก็ย่อมปฏิบัติตนดุจธารน้ำใส ที่รินไหลสู่แหล่งความรู้ใหม่ ๆ และย่อมเกิดการต่อยอดพัฒนาขององค์ความรู้ได้อย่างไม่รู้จบ

ภายใต้แนวคิด FLUIDITY ประกอบด้วย 3 เทรนด์ย่อย ได้แก่ CRAFT CIRCULARITY, CRAFT CITIZEN และ CRAFT CLOUD ซึ่งเป็นแนวโน้มความนิยมในกระแสโลกที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแนวทางงานหัตถศิลป์เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ 

CRAFT CIRCULARITY
หัตถกรรมจากทรัพยากรหมุนเวียน https://www.baanlaesuan.com/sacict-craft-trend/gallery/trend-01

ปัญหาสภาพภูมิอากาศ​ มลภาวะ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ สิ่งแวดล้อม กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างจริงจัง เมื่อเศรษฐกิจแบบทางตรง (Linear Economy) ผลิตใช้ทิ้ง ที่เราทุกคนคุ้นเคยคือสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โลกเต็มไปด้วยขยะ ไม่ว่าจะย่อยสลายได้เร็วหรือช้า แต่พลังงานและทรัพยากรมหาศาลที่ถูกใช้ไปเพื่อการผลิตก็ไม่อาจย้อนคืน

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งพยายามยืดระยะเวลาของทรัพยากรให้หมุนเวียนอยู่ในระบบการใช้งานได้นานขึ้น ไม่ว่าจะด้วยระบบการให้เช่าแทนการซื้อขาด ระบบซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพ  ระบบการแยกขยะและรีไซเคิล ฯลฯ จึงได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นทางออกใหม่ของอุตสาหกรรมในโลกอนาคต และได้รับการนำไปประยุกต์ใช้งานจริงโดยหลายภาคธุรกิจ เพื่อมุ่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในภาพรวม

อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ่งแวดล้อมคือประเด็นระดับโลกที่เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง ธุรกิจขนาดเล็กอย่างงานหัตถกรรมในระดับครัวเรือนหรือชุมชนจะมีส่วนในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ได้อย่างไร หากยังไม่มีความพร้อมในการออกแบบผลิตภัณฑ์และระบบที่เอื้อต่อการหมุนเวียนทรัพยากร งานหัตถกรรมก็อาจมีส่วนร่วมในวงจรการแปรรูป (Upclycling) วัตถุดิบใช้แล้วจากอุตสาหกรรมสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้

การผสมผสานงานฝีมือดั้งเดิมเข้ากับแหล่งวัตถุดิบทดแทน อย่างเช่น เส้นใยจากการรีไซเคิลสิ่งทอ ไม้ไผ่จากโครงสร้างเก่า ฯลฯ จึงอาจนำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ และมิใช่แค่เพียงเรื่องของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงงานบริการ หรือระบบการผลิตที่ดึงชุมชนมามีส่วนร่วม เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมในวงกว้างอีกด้วย

  • Yinka Ilori ศิลปินและนักออกแบบทำงานร่วมกันผู้คนในชุมชนเพื่อสร้างเก้าอี้ตัวใหม่จากเก้าอี้เก่าที่กลายเป็นขยะ โดยใช้สีสันสดใสและลวดลายที่สะท้อนความเป็นไนจีเรียน บ้านเกิดของเขา ภาพจาก http://yinkailori.com 

  • เก้าอี้เอ้าต์ดอร์ที่ทำจากร่มชูชีพเก่า ซึ่งเป็นสิ่งทอสั่งเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยยืดอายุการใช้งานวัสดุในประโยชน์ใช้สอยใหม่ ออกแบบโดยสตูดิโอ LAYER ร่วมกับแบรนด์แฟชั่น RÆBURN ภาพจาก https://layerdesign.com

 

CRAFT CLOUD
ความรู้ที่ทุกคนเข้าถึงได้  https://www.baanlaesuan.com/sacict-craft-trend/gallery/trend-03

องค์ความรู้ด้านการผลิตงานหัตถกรรมในอนาคต จะถูกถ่ายทอดไปอยู่บนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น ผู้ที่ต้องการต่อยอดงานคราฟท์ดั้งเดิมของตัวเองสามารถเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ จากองค์ความรู้ของผู้อื่นๆ บนโลกออนไลน์ เช่นเดียวกับผู้ต้องการเผยแพร่งานคราฟท์ของตนเองก็ต้องสร้างเรื่องราวเพื่อเล่าถึงคุณค่าการทำงานของตน เกือบทั้งหมดนี้จึงเกิดเป็นมวลความรู้ก้อนใหญ่อยู่บนอากาศที่ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของโดยตรง เว้นแต่เทคนิคเฉพาะบางอย่างจริงๆ เท่านั้น แต่ก็ช่วยให้เกิดการทดลองอะไรใหม่ๆ ได้มากมาย จากทั้งช่างฝีมือ นักออกแบบ และสร้างให้เกิดการกระตุ้นในการซื้อสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย

อาทิเช่น รายการที่ทำเสนอขั้นตอนการทำสินค้าหัตถกรรม ทั้งบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่าง You Tube และ Facebook หรือการปล่อยให้ดาวน์โหลดแบบการผลิตสินค้าอย่างเป็นสาธารณะ หรือแม้แต่การมีคลาสเรียนบนโลกออนไลน์ที่สอนในเรื่องเฉพาะทาง

นอกจากหน่วยงานเอกชนที่เผยแพร่แล้ว องค์กรภาครัฐก็อาจมีส่วนรวมในสร้างองค์ความรู้ที่เป็นสาธารณะนี้ให้เกิดขึ้นได้ เพื่อสืบสานงานหัตถกรรมให้คงอยู่สืบไปด้วย เช่นเดียวคลังความรู้ชั้นดีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

  • ดีไซเนอร์ oda ร่วมกับแบรนด์ pdm ออกแบบเก้าอี้ไม้ขึ้นมา และปล่อยสัดส่วนชิ้นงานและการผลิตให้ทุกคนดาวน์โหลดฟรี ในแนวคิดเชิงสาธารณะให้ไปจ้างช่างไม้ในละแวกบ้านที่ต้องการสามารถไปผลิตเองได้

  • คลิปต่างๆ บน You Tube แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตชิ้นงานเข้าไม้ด้วยกาวแล้วกลึงเป็นถาด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถดูเทคนิคการทำงานไม้ที่หลากหลายได้จาก You Tube  ภาพ: Thomas Anton Geurts

  • Masterclass คลาสเรียนความรู้เฉพาะด้านบนโลกออนไลน์ ที่มีคลิปผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับสากลในหลายแขนง  

GLOBAL CRAFT CITIZEN
หัตถกรรมไม่จำกัดขอบเขต
https://www.baanlaesuan.com/sacict-craft-trend/gallery/trend-02

เพราะความหลากหลายนั้นงดงาม หากแต่เราในฐานะประชากรของโลก กลับถูกแบ่งแยกด้วยสงคราม ค่านิยม ความเชื่อ ทั้งเรื่องเพศและชาติพันธุ์ มาแสนนานจนยากจะสืบค้น หลายศตวรรษมาแล้วที่การแบ่งแยกได้นำโลกสู่ความวุ่นวาย ความเหลื่อมล้ำ ไปจนถึงความขัดแย้งรุนแรง หากบางที งานหัตถกรรมที่รุ่มรวยไปด้วยภูมิปัญญาและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนที่จะทำให้คนทุกคนได้ตระหนัก และแสดงออกถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น อัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงการได้เป็นเจ้าของนิยามความงามในแบบของตนได้อย่างแท้จริง โดยไม่ถูกตัดสินจาก “ความงามสากล” ที่มีอยู่ในโลก

ความเป็นเอเชียคืออะไร จำเป็นไหมที่จะต้องถูกจำกัดอยู่แต่ในเอเชีย เครื่องประดับและกระโปรงจำกัดไว้แค่ให้ผู้หญิงจริงหรือไม่ เราต้องลดหุ่นแค่ไหนเพื่อให้ใส่ชุดคอลเลคชั่นใหม่ได้ “สวยงาม”

หากงานคราฟต์คือศิลปะที่ไม่มีเพศ ไม่มีกรอบ ไม่มีเส้นแบ่ง เมื่อนำมันมาลบล้างการแบ่งแยกทางสังคมในแต่ละผลิตภัณฑ์แล้ว ก็อาจสร้างโอกาสให้ผลิตภัณฑ์แบบใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน อันจะแสดงถึงความแตกต่างหลากหลาย ทั้งทางเพศ​ ชาติพันธุ์ ความงาม และนำประโยชน์ให้กับสังคมโลกอย่างเป็นวงกว้างได้จริง

  • ไร้พรมแดน

เราเชื่อว่าภูมิปัญญาของงานหัตถกรรมในแต่ละมุมโลกนั้นแลกเปลี่ยนกันได้ รวมถึงมีความคล้าย หากแต่รุ่มรวยและหลากหลายไม่สิ้นสุด การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่โลกดิจิทัลได้ทำลายพรมแดนทางกายภาพไปแล้วโดยสิ้นเชิง

  • Geisha Handbag Series โดย Deloss Webber นำเอาเทคนิคการสานตะกร้าแบบญี่ปุ่น สร้างด้วยไอเดียการทำกระเป๋าถือแบบตะวันตก เพื่อสะท้อนไลฟ์สไตล์และภาระของเกอิชา รวมถึงยังบรรจุหินแกรนิต เพื่อแสดงวัสดุธรรมชาติ ล้อความเป็นฟังก์ชันสมัยใหม่และความล้าสมัยในเวลาเดียวกัน

เก้าอี้ Savannah Dining Chair โดยแบรนด์ Yothaka เก้าอี้หวายที่ถูกพันด้วยเชื่องร่มสีขาว-ดำ โดยได้ไอเดียจากความสนใจในหลากหลายวัฒนธรรมของคุณสุวรรณ คงขุนเทียนผู้ออกแบบ นำเสนอในสไตล์แม๊กซิมัลลิสต์ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นงานหัตถกรรมอย่างเต็มที่

  • เก้าอี้ Savannah Dining Chair โดยแบรนด์ Yothaka เก้าอี้หวายที่ถูกพันด้วยเชื่องร่มสีขาว-ดำ โดยได้ไอเดียจากความสนใจในหลากหลายวัฒนธรรมของคุณสุวรรณ คงขุนเทียนผู้ออกแบบ นำเสนอในสไตล์แม๊กซิมัลลิสต์ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นงานหัตถกรรมอย่างเต็มที่

  • เป็นเจ้าของร่วม

งานหัตกรรมที่รับเอาภูมิปัญญาจากท้องถิ่นใดๆ มาต่อยอด หากขาดมิติในเรื่องความสัมพันธ์ของผู้สร้าง งานหัตถกรรมนั้นก็คงจะเป็นได้เพียงการเล่นกับสไตล์ หรือแรงบันดาลใจที่ผิวเผิน เราเชื่อในการทำงานหัตถกรรมที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ ไปจนถึงการผลิตงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบและผู้ครอบครองความรู้ในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ไม่เฉพาะแต่กับเจ้าของความรู้ แต่กับทั้งชุมชนใหญ่ของประชากรหัตถกรรมทั้งหมดอย่างแท้จริง

  • ผลงานจากศิลปิน Fanglu Lin ผู้เข้ารอบสุดท้ายของ Loewe Craft Prize 2020 ผู้ผสานเทคนิคการมัดย้อมชองชาวเผ่าไป๋ (Bai) ในหมู่บ้าน Zhoucheng ประเทศจีน สร้างงานศิลปะร่วมสมัย โดยการร่วมทำงานกับกลุ่มชุมชนในสถานที่จริง

  • เก้าอี้ Loom ออกแบบโดย Plural Dersigns เกิดจากการออกแบบเค้าโครงของเก้าอี้ไว้ และนำแผงพนักโลหะส่งต่อให้ชุมชนเครื่องจักรสาน สานผักตบชวาด้วยเทคนิคของท้องถิ่นจนเก้าอี้สมบูรณ์
  • ความงามที่หลากหลาย

นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนความต่างของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และองค์ความรู้ของผู้สร้าง ความหลากหลายของมนุษย์นั้นเป็นพรมแดนใหม่ที่เราเชื่อว่างานหัตถกรรมนั้นช่วยทำลายเส้นแบ่งเรื่องความงามได้ และเมื่องานออกแบบและงานคราฟท์รวมเอาความหลากหลายของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง ก็จะก่อให้เกิดโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่สิ้นสุด

  • แบรนด์เสื้อผ้า 69 ในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกตัวเองว่าเป็นเสื้อผ้า Non-Gender และ Non-Demographic ที่นำเสนอเสื้อผ้าที่จะดูทันสมัยอยู่เสมอทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  • SUN SUN เสื้อผ้า Handmade ไม่จำกัดเพศ (Unisex) โดยผู้ออกแบบที่นิยามตัวเองว่าเป็น Androgynous หรือคนที่มีทั้งความเป็น Masculine และ Feminine ในคนเดียว เสื้อผ้าของ SUN SUN เป็นแบบ Custom-made เน้นความฉูดฉาด และขนาดที่มีตั้งแต่ S จนถึง XXXL

ร่วมฟังเสวนาครั้งนี้ได้ฟรี สำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ http://bit.ly/2SxNAlq