แมลงศัตรูพืช เป็นแมลงที่ทำให้พืชผักเสียหายได้ โดยแมลงพวกนี้จะเข้ามากัดกินใบจนเป็นรอยแหว่ง ดูดกินน้ำเลี้ยงจนผลและใบหงิกงอ เป็นพาหะนำพาเชื้อไวรัสจากอีกต้นหนึ่งสู่อีกต้นหนึ่ง จนกระทั่งพืชผักที่ปลูกไม่สามารถนำมารับประทานได้เลย
แมลงศัตรูพืช เหล่านี้สามารถแบ่งตามลักษณะการเข้าทำลายได้ 2 ประเภท คือ แมลงปากดูด และ แมลงปากกัด
แมลงปากดูด (Sucking) เป็น แมลงศัตรูพืช ที่มักอาศัยอยู่ตามยอดอ่อน ใบอ่อน ใต้ใบ ซอกใบต่างๆ โดยจะใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้ใบพืชเหี่ยว ม้วน หงิกงอก มีรอยไหม้ ลำต้นแคระ ไม่พอยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุโรคพืชแพร่กระจายอีกด้วย
แมลงปากกัด (Chewing) ชอบกัดกินยอดใบจนกุด หรือทำให้ใบพืชเป็นรูพรุนจนเหลือแต่เส้นใบและก้านใบ ซึ่งทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโตเพราะขาดใบที่ใช้สังเคราะห์แสงสร้างอาหาร
จะเห็นได้ว่าแมลงเหล่านี้มีอันตรายต่อพืชผัก ดังนั้นก็ควรกำจัดเมื่อเริ่มสังเกตเห็น แต่จะให้กำจัดอย่างถูกวิธีได้นั้น เราก็ต้องรู้จักแมลงไม่ดีเหล่านี้กันก่อน

เพลี้ยอ่อน (Aphid)
มีลำตัวอ่อนนิ่มสมชื่อ รูปร่างค่อนข้างกลม ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นกลุ่มก้อนเกาะอยู่ใต้ใบพืช นอกจากนี้ยังถ่ายมูลออกมาเป็นน้ำหวานทำให้เชื้อราเจริญบนต้นพืช และเป็นพาหะของโรคไวรัสในพืชหลายชนิด
อาการที่พบ : ส่วนยอด ใบ ใบอ่อนหงิกงอและแคระแกรน
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อนและฤดูหนาว
พืชอาหาร : พืชตระกูลแตงและถั่วต่างๆ โหระพา พริก มะเขือเทศ ผักสลัด เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

เพลี้ยไฟ (Thrips)
เป็นแมลงขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยมีปีกคล้ายขนนก 2 คู่ ซึ่งเพลี้ยไฟมีหลายชนิด มักเรียกตามชื่อของพืชที่มันเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยไฟโหระพา เพลี้ยไฟพริก เป็นต้น
อาการที่พบ : ใบ ยอดอ่อน ตาดอก และดอก มีอาการหงิกงอและแคระแกรน ใบด่างเหลือง มีรอยแผลสีน้ำตาล
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : พริก มันฝรั่ง แตงกวา เมลอน มะนาว กล้วยไม้ ผักสลัด มะม่วง เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

เพลี้ยแป้ง (Mealybug)
เป็นแมลงที่เคลื่อนไหวช้า ลำตัวปกคลุมด้วยไขสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง ทำให้สังเกตได้ง่ายโดยเห็นเป็นกลุ่มก้อนสีขาวเกาะอยู่ตามยอดอ่อนและใบอ่อนของพืช นอกจากนี้ยังถ่ายมูลที่เป็นน้ำหวานออกมาทำให้เป็นแหล่งเพาะราดำ
อาการที่พบ : ใบ ใบอ่อน ยอดอ่อน และผล มีลักษณะหงิกงอและแคระแกรน
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : ผักและผลไม้หลายชนิด พริก มะเขือเทศ กระเจี๊ยบเขียว กล้วย น้อยหน่า หม่อน เป็นต้น
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

ไรแดง (Red Spider Mite)
มีขนาดเล็กมาก แต่ยังพอสามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ โดยจะเห็นเป็นจุดสีแดงเล็กๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ ไรแดงมักจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบและส่วนยอดของพืช อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มและสร้างเส้นใยปกคลุม ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เอาไว้
อาการที่พบ : ใบมีจุดสีขาวเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปและหากปล่อยไว้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้ง ส่วนยอดจะชะงักการเจริญเติบโต
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : ส้ม มะละกอ ขนุน มะนาว มะกรูด แตงโม และถั่วชนิดต่างๆ
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด

มวนเขียว (Green Stink Bug)
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากแทงเข้าไปในผล ดูดกินน้ำเลี้ยงทั้งผลอ่อนและผลแก่ ทำให้การพัฒนาของผลเสียหาย
อาการที่พบ : ผิวของผลไม้เป็นรอยด่าง ด้านในของผลมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ และถ้าโดนดูดกินมากผลก็จะร่วงหล่นได้
ช่วงที่ระบาด : ฤดูร้อน
พืชอาหาร : พืชตระกูลส้มเกือบทุกชนิด มะนาว มะกรูด
วิธีการกำจัด : ฉีดพ่นด้วย เชื้อราบิวเวอร์เรีย บาสเซียนา (Beauveria bassiana) โดยเชื้อราจะเข้าสู่ตัวแมลงผ่านรูหายใจ ผนังลำตัว จากนั้นก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในตัวแมลง จนกระทั่งเส้นใยทะลุผนังลำตัวของแมลงออกมา และทำให้แมลงตายในที่สุด