รวมบ้านสไตล์อีสานน่าอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ

 แม้ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ และมีทรัพยากรธรรมชาติงดงามมากเพียงใด หากแต่ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว บ้านสไตล์อีสานมีการนำเสนอให้เห็นไม่มากเท่าที่ควร

ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามขนบธรรมเนียมของคนท้องถิ่น ทำให้รูปแบบของเฮือนอีสานหรือเรือนไทยอีสานดูเรียบง่ายกว่าเรือนไทยภาคกลางที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถึงอย่างไรก็เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่นอย่างงดงาม เหมือนเช่นบ้านทั้ง 4 หลังที่เรานำมาให้ชม แม้ไม่ใช่รูปแบบของเรือนอีสานดั้งเดิม ทว่าก็มีแนวคิดและกลิ่นอายบางประการมาผสมผสานให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่และทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติเหมือนเช่นที่เคยเป็นมา    บ้านไม้อีสานอยู่สบาย

สงบร่มรื่นในบ้านไทยอีสาน

เจ้าของ : คุณศักดา – คุณอรพินท์ ศรีสังคม
ออกแบบ : อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล นิยม
สถาปนิกโครงการ : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ และคุณอรพิมพ์ ตันติพัฒน์
ตกแต่งภายใน : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์

บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน ชานบ้าน ห้องนอนไม้
ด้วยความที่เจ้าของบ้านชื่นชอบบ้านเรือนไทยมาตั้งแต่เด็ก บวกกับได้รับอิทธิพลมาจากคุณพ่อซึ่งหลงรักวัฒนธรรมอีสาน ผู้ออกแบบจึงนำลักษณะที่สำคัญของการปลูกเรือนอีสานมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ เช่น การออกแบบพื้นที่ชั้นล่างให้เป็นเหมือนใต้ถุนโล่ง เพื่อให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติรอบตัว โดยเฉพาะทุ่งปอเทืองหน้าบ้าน มีชานหลังคายื่นออกไปเป็นพื้นที่อเนกประสงค์และรับแขกได้
บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายเรือนสามหลังที่มีชานแดดผูกติดกันตรงกึ่งกลาง เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวกทุกพื้นที่ เรือนแต่ละหลังมีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันแดดและฝน ชั้นล่างใช้ผนังดินอัดเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนหน่วงความร้อนให้บ้านเย็นลงในช่วงกลางวัน ส่วนหลังคาไม้ก็ปรับไปใช้หลังคาไม้ซีดาร์ วัสดุส่วนใหญ่เลือกใช้ไม้เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งดูดและคายความร้อนได้รวดเร็ว >>> อ่านต่อ 


บ้านไม้สองชั้นที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม

เจ้าของ : คุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ และคุณนิตญา ผ่านสำแดง
ออกแบบ : บริษัทสถาปนิก สเปซไทม์ จำกัด โดยคุณกรรณิการ์ รัตนปรีดากุล
ประสานงานการก่อสร้าง : เฮ็ดดีไซน์สตูดิโอ โดยคุณปองพล ยุทธรัตน์

บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน ครัวไทย บ้านไม้ บ้านอีสาน
บ้านไทยอีสานที่กลมกลืนไปกับบริบทของสังคมชนบทในจังหวัดอุดรธานี ไม่ว่าจะเป็นรั้วบ้านที่มองเห็นกันได้ระหว่างภายในกับภายนอกบ้าน ชานระเบียงต่าง ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก หรือลานหน้าบ้านที่มักกลายเป็นที่วิ่งเล่นของเด็ก ๆ ในละแวกบ้าน โครงสร้างหลักของบ้านหลังนี้เลือกใช้โครงเหล็ก H-Beam ส่วนการออกแบบภายในเน้น “ความโปร่ง” นอกจากจะสบายตาแล้ว ยังช่วยให้กระแสลมในบ้านพัดผ่านได้ดี ทำให้ทั้งบ้านอยู่ในสภาวะน่าสบาย ไม่ร้อนอับ >>> อ่านต่อ


บ้านบุญโฮม บ้านไม้ชั้นเดียวท่ามกลางความเงียบสงบของชนบทแท้

เจ้าของ: คุณวาทินี สุดตา
ออกแบบ: S Pace Studio โดยคุณทวิชากร เหล่าไชยยงค์ และคุณปัณณพัฒน์ เพ็ชรจรัส
วิศวกรโครงสร้าง:คุณบดินทร์ มหาราช

บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน ห้องรับประทานอาหาร
บ้านอีสานโมเดิร์นที่มีหลังคาหน้าจั่วขนาดใหญ่ โดดเด่นด้วยชานหน้าบ้านขนาดกว้างขวางเพื่อรองรับญาติๆและเพื่อนบ้านที่หมั่นแวะเวียนมาทักทาย ด้านบนทำหลังคาหน้าจั่วขนาดเล็กกรุหลังคาลอนใสเพื่อช่วยนำแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงด้านล่างอย่างทั่วถึง ซึ่งไอเดียการออกแบบบ้านนั้นมาจากการตีความวิถีชีวิตที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยของคนอีสาน ผสมผสานกับรูปแบบของบ้านที่ทันสมัย สะอาดตา และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว >>> อ่านต่อ


บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

เจ้าของ : คุณจัตวา ชุณหบุญญทิพย์ และคุณอนุสรา แท่นพิทักษ์
สถาปนิก:  S Pace Studio

บ้านอีสาน บ้านอีสาน ชั้นหนังสือ
บ้านอีสานร่วมสมัยที่เกิดจากการตีความ “วิถีความเป็นอยู่” ของผู้คนในอีสาน โดยมีจุดเด่นที่การปรับการใช้งานพื้นที่ใต้ถุนให้แปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่แบบผังเปิดต่อเนื่องกันระหว่างบ้านกับสวนได้อย่างลงตัว เจ้าของบ้านมีความประทับใจต่อเรื่อง “ฟ้าบ่กั้น” วรรณกรรมจากปลายปากกาของ “ลาว คำหอม” หรือคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2535 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เปรียบได้กับภาพตัวแทนของวิถีคนชนบทอีสาน จึงทำให้เริ่มต้นความคิดในการทำบ้านที่ร้อยเรียงความเป็นอีสานทั้งอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังตั้งชื่อ “ฟ้าบ่กั้น” เป็นชื่อของบ้านหลังนี้ด้วย  >>> อ่านต่อ 


เรือนภาคอีสาน

เรือนในสำเนียงอีสานเรียก “เฮือน” เฮือนถาวรในภาคอีสานมี 3 รูปแบบเด่น ๆ คือ

บ้านอีสาน
เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว แต่ยื่นขยายชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ส่วนที่ยื่นออกไปนี้เรียกว่า “เกย”

 

เฮือนแฝด เป็นเฮือนหลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน และใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยมีเฮือนหนึ่งเป็นเฮือนนอน มีผนังครบทุกด้าน เรียก “เฮือนใหญ่” อีกเฮือนอาจมีผนัง 3 ด้าน ใช้เชื่อมระหว่างชานภายนอกกับเฮือนนอน

 

เฮือนโข่ง คล้ายเฮือนแฝด แต่แยกโครงสร้างออกจากกัน ทำให้เกิดช่องทางเดินตรงกลางเชื่อมต่อพื้นที่ โดยสามารถรื้อแยกเฮือนโข่งไปปลูกในที่ใหม่ได้ เฮือนอีสานมักมีเฮือนไฟเป็นส่วนทำครัวแยกออกไปต่างหาก มีหลังคาลาดชันน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และมักพบลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อ

รวบรวม : Tarnda บ้านไม้อีสานอยู่สบาย

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room

รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

WHEREDER POSHTEL โฮสเทลเอกลักษณ์อีสานกลางเมืองอุดรธานี