บ้านและสวนแฟร์ 2022
28 ต.ค. - 6 พ.ย. 2565
อิมแพ็ค เมืองทองธานี



ผังทั้งหมดของงาน


 

Garden of Ideas “สวน (ที่อยู่แล้ว) ต้องรอด”

แนวคิด “สวน (ที่อยู่แล้ว) ต้องรอด” คือแนวคิดในการจัดสวนที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรักสวนรักต้นไม้ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาและยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ กระแสปลูกต้นไม้ฟอกอากาศยังคงได้รับความนิยมแรงไม่ตก แปลงผักปลอดสารพิษยังคงได้รับความสนใจ ในขณะที่ผู้คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ทำงาน ท่องเที่ยว ต้นไม้และสวนผักที่เคยสร้างไว้ครานั้น จะเติบโตต่อไปได้อย่างไร หากคนปลูกหรือตัวเรานั้นขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โซน Garden of Ideas ในงานบ้านและสวนแฟร์ midyear 2020 จะทำหน้าที่เติมเต็มความรู้ผ่านประสบการณ์ที่เล่าเรื่องไอเดียการจัดสวนในขนาดพื้นที่ต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่บ้านของคุณได้ไม่ยาก ทางรอดของสวนยุคโควิด ที่คนปลูกต้องรอดและสวนก็ต้องรอดด้วยเช่นกัน แนะนำวิธีการดูแลตั้งแต่การเลือกภาชนะ วัสดุปลูก ไปจนถึงการควบคุมสภาพแสงที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและไอเดียปลูกผักประหยัดเนื้อที่ ไม่ว่าจะมีพื้นที่แบบไหนก็ทำสวนได้

นอกจากนี้ยังเอาใจคนรักษ์โลกด้วยไอเดียจัดสวนที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามธีมหลัก ECO – chic การใช้ชีวิตในแบบรักษ์โลกเป็นเรื่องง่าย เช่น มุมสวนที่ใช้ของตกแต่งจากไม้ไผ่ การเพิ่มฟังก์ชันให้ของเก่าที่ช่วยลดขยะแถมยังได้ของแต่งสวนใหม่ที่ไม่เหมือนใคร และอีกหลากหลายไอเดียมากมายที่รอให้คุณเข้ามาชมด้วยตัวเอง 

 

คีย์โฮลปลูกผัก ทางรอดเมื่ออยากปลูกผักปลอดสารพิษ

คีโฮล Keyhole Garden คือแปลงปลูกผักที่มีท่อทำปุ๋ยหมักอยู่ในแปลง ส่วนเหตุผลที่เรียกว่าคีย์โฮลเพราะ หน้าตาเหมือนรูกุญแจที่มีทางเดินไปยังรูตรงกลางสำหรับใส่เศษอาหารจากครัวเรือน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักให้ผักในแปลง ผักจะดูดปุ๋ยหมักจากท่อในดินไปใช้ในการเจริญเติบโต ประโยชน์ของการทำคีย์โฮลคือช่วยลดขยะอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นรูปแบบสวนผักที่ช่วยประหยัดน้ำ โดยรดน้ำแค่ในส่วนของท่อปุ๋ยหมักแล้วน้ำจะกระจายไปยังแปลงดินที่มีชั้นหินด้านล่างช่วยเก็บความชื้นไว้ คีย์โฮลเริ่มต้นจากทวีปแอฟริกาที่มีภูมิประเทศแห้งแล้ง ยากต่อการทำเกษตร การทำแปลงผักคีย์โฮลจึงช่วยให้ชาวแอฟริกามีผักรับประทานในครัวเรือนได้ทั้งปี ซึ่งความสำเร็จตรงนี้ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก รวมทั้งในเมืองไทยเองด้วย

สำหรับคนที่ไม่มีเวลาดูแลแปลงผัก ทั้งรดน้ำและใส่ปุ๋ย คีโฮล คือทางรอดที่คุณควรมีในสวนของคุณ

 

สวนสวยจากเศษวัสดุเหลือใช้ ลดขยะให้โลก

คลิกชมไอเดียจัดสวนด้วยวัสดุเหลือใช้

แบบสวน























สวนสไตล์จั๊งค์ Junk Garden หรือการนำของเหลือใช้มาประดับตกแต่งสวนเป็นอีกไอเดียทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ชอบดัดแปลงตกแต่งสวน เข้ากับเทรนด์รักษ์โลกในตอนนี้ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดเงินในการซื้อหาของแล้ว เรายังได้สนุกกับการคิดสร้างสรรค์นำของที่ว่ามาจัดวางให้ออกมาสวยงามได้ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าสวนสไตล์นี้คือการนำของเหลือใช้มาทำเป็นภาชนะปลูกต้นไม้ เท่านั้นไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ ขวดน้ำ ถ้วย ชาม กะละมังเก่า แต่ความจริงแล้วเรายังสามารถดัดแปลงเป็นของตกแต่งสวนในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น นำป้ายเก่ามาตกแต่งผนัง ใช้เก้าอี้ไม้วางกระถาง นำของสะสม มาจัดวางเป็นมุมโชว์ของไปเลย หรือจะเปลี่ยนโฉมทาสีใหม่ก็ได้

<< อ่านเพิ่มเติม >>

 

เลี้ยงไก่เพื่อเก็บไข่ สร้างอาหารเองในรั้วบ้าน

แบบเล้าไก่

การสร้างเล้าไก่ หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่ มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อการออกไข่ของไก่ หากโรงเรือนตั้งอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ลดปริมาณฝุ่นละอองรวมทั้งกลิ่นได้ดี พื้นโรงเรือนไม่อับชื้นหรือเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรก ไก่จะไม่เจ็บป่วยและให้ไข่ได้ดี การสร้างโรงเรือนควรตั้งตามแนวยาวทิศตะวันออก-ตก หากตั้งโรงเรือนขวางแสงอาทิตย์จะทำให้มีพื้นที่สำหรับไก่หลบความร้อนจกแสงแดดได้น้อย ทำให้เสียเนื้อที่โดยเปลประโยชน์เมื่อแสงแดดส่องในตอนบ่าย ตัวโรงเรือนอาจตั้งเฉียงออกจากแนวทิศตะวันออก -ตกได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 7 องศตามแนวทิศตะวันออกไปทางทิศใต้แลสุขภาพไก่ในแต่ละฤดู

<< อ่านเพิ่มเติม >>

 

พืชผักในสวนทำสมุนไพรไล่แมลง ผักและคนปลอดภัยไร้สารเคมี

สมุนไพรไล่แมลง

ผักฉันต้องรอด เมื่อถึงช่วงเวลาที่ผักเติบโต สิ่งหนึ่งที่สร้างปัญหากวนใจคือแมลงศัตรูพืช ที่มาตามธรรมชาติ และกัดกินผักที่เราปลูกมาอย่างทะนุถนอม ครั้นจะใช้สารเคมีกำจัดก็อาจจะเกิดสารตกค้างเป็นอันตรายเมื่อรับประทานผักเข้าไปได้ สมุนไพรไล่แมลง จึงเป็นอีกหนึ่งทางรอดที่จะพาทั้งผักและตัวเราให้ปลอดภัย โดยใช้พืชผักสวนครัวที่ปลูกในสวนหลังบ้านมาเป็นส่วนผสมได้ ทั้งประหยัด และปลอดภัยต่อสุขภาพ

ชมคลิปสูตรสมุนไพรอื่นๆ

<< อ่านเพิ่มเติม >>

 

แสงเทียมสำหรับปลูกต้นไม้ในมุมมืด ทางรอดของบ้านมีแสงน้อย


ส่วนใหญ่เรานิยมปลูกไม้ประดับในบ้านโดยนำกระถางตั้งปลูกกันบริเวณริมหน้าต่าง หน้าประตู ชานพักบันได ในห้องน้ำ หรือตามมุมต่าง ๆ ของบ้านที่มีแสงแดดส่องถึง เมื่อปลูกเลี้ยงได้สักระยะหนึ่งควรหมั่นนำกระถางออกไปไว้ในที่ที่ได้รับแสงเพิ่มขึ้น อย่าทิ้งให้ไม้ประดับได้รับแสงไม่เพียงพอจนส่งสัญญาณว่าเริ่มจะไม่ไหวแล้วนะ เช่น ใบมีสีซีดอ่อนลง ใบหนาลดลงจากเดิม และมีการยืดยาวของต้นและใบเพื่อเอนเอียงเข้าหาแสง แต่หากจำเป็นต้องปลูกเลี้ยงในบริเวณที่มีแสงน้อย ก็ต้องควบคุมปริมาณการให้น้ำให้พอดี ไม่มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้การเจริญเติบโตแย่ลงเมื่อแสงธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการปลูกเลี้ยงไม้ประดับในบ้าน

ปัจจุบันจึงมีการใช้แสงเทียมโดยนำหลอดไฟมาช่วยเพิ่มแสงสว่างมากขึ้น โดยเฉพาะหลอดไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี (Light Emitting Diode: LED) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจากงานวิจัยหลายแหล่งพบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ในการปลูกไม้ประดับอินดอร์ ไม่ว่าจะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide: MH) และหลอดโซเดียมความดันไอสูง (High Pressure Sodium: HPS)

ก่อนใช้แสงเทียมเพื่อปลูกไม้ประดับในบ้าน สิ่งที่มือใหม่ควรรู้เป็นเบื้องต้นก็คือเรื่องของแสง แสงธรรมชาติที่มาจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยสเปกตรัมของแสง (Light spectrum) ในช่วงความยาวคลื่น (Wavelength) ระหว่าง 200-5000 นาโนเมตร (nm) จัดแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ แสงช่วงคลื่นสั้น แสงช่วงคลื่นยาว และแสงช่วงคลื่นที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ ซึ่งการที่แสงมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ทำให้เกิดสีที่แตกต่างกันไปด้วย
แสงที่พืชนำมาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโต สร้างใบ ดอก และผล คือแสงในช่วงคลื่นที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ (Visible Light) ซึ่งเป็นแสงที่มีความยาวคลื่น 380-760 นาโนเมตร ประกอบด้วยแสงสีต่าง ๆ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และแดง โดยพืชจะดูดซึมแสงเพื่อสร้างคลอโรฟิลล์ชนิด a และ b ได้ดีที่สุดระหว่างความยาวคลื่น 400-480 นาโนเมตร (แสงสีน้ำเงิน) และระหว่าง 630-680 นาโนเมตร (แสงสีแดง)
เวลาพืชได้รับแสง พืชไม่ได้นำแสงไปใช้งานทั้งหมด เพราะจะมีช่วงแสงบางช่วงที่พืชต้องการเท่านั้น ช่วงแสงนั้นเรียกว่า Photo synthetically Active Radiation (PAR) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร นั่นหมายความว่า ไม่ว่าหลอดไฟจะสว่างหรือแรงแค่ไหน ถ้าไฟนั้นมีช่วงแสงที่พืชนำไปใช้ได้น้อย ก็ถือว่าประสิทธิภาพในการนำไปใช้ปลูกต้นไม้ก็น้อยเช่นกัน

<< อ่านเพิ่มเติม >>


  

12 ราศี ปลูกต้นไม้ชนิดไหนดี

คลิกที่ภาพต้นไม้เพื่อดูราศีที่เหมาะสม


Related Book

keyboard_arrow_up