ปฏิทินเพาะปลูกตามดวงดาว ศาสตร์แห่งเกษตรไบโอไดนามิกส์

Gardening Moon Calendars ปฏิทินเพาะปลูก แบบไบโอไดนามิก หรือปลูกพืชตามดวงจันทร์ ไม่ใช่ศาสตร์แห่งอดีตแต่เป็นงานวิจัยสมัยใหม่ โดยนักคิดนักวิชาการต่างๆ มากมาย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และยังคงมีเกษตรกร ฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ในทั่วทุกมุมโลกยึดปฏิบัติตามแนวคิดนี้เรื่อยมา

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ส่วนหนึ่งของหลักเกษตรไบโอไดนามิกส์ เป็นแนวคิดของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ Rudolf Steiner (1861-1925) ที่บรรยายให้กับเกษตรกรในปี 1924 ได้เปิดแนวทางใหม่ในการบูรณาการความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการรับรู้ถึงจิตวิญญาณในธรรมชาติ เป็นหลักเกษตรที่ชื่อว่า Biodynamics หรือเกษตรชีวพลวัตร

Biodynamics มีการพัฒนาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 1920 ผ่านความร่วมมือของเกษตรกรและนักวิจัยจำนวนมากทั่วโลก ในหลักแนวคิดไบโอไดนามิกส์ สไตเนอร์ชี้ให้เห็นเป็นพิเศษว่าคุณภาพของดิน พืช และสัตว์ขึ้นอยู่กับการนำธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับพลังสร้างสรรค์แห่งจักรวาล ทั้งพลังดวงดาว และดวงจันทร์ การเพาะปลูกตามแนวคิดนี้จึงเป็นการเพาะปลูกตามจังหวะธรรมชาติ ที่มีอิทธิพลของดวงดาวและดวงจันทร์มาเกี่ยวข้อง เรียกว่า Gardening Moon Calendars

เกษตรไบโอไดนามิกส์ยังคงเป็นแนวทางในการทำสวน ฟาร์ม ไร่องุ่น ฟาร์มปศุสัตว์ และสวนผลไม้ที่เจริญรุ่งเรืองนับพันแห่ง (รวมถึงสวนผลไม้บางแห่งในเมืองไทย) ทั้งยังมีการปรับใช้กับรูปแบบชีวิตของเกษตรในเมือง อย่างเช่น บ้านเจ้าชายผัก คุณปริ๊นซ์ นคร ลิปคุปตถาวร ที่ทดลองทำเกษตรไบโอไดนามิกส์ ในสวนผักพื้นที่รอบบ้านของเขา รวมทั้งปรับใช้กับแปลงเกษตรขนาดใหญ่ในพื้นที่ปริมณฑล

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

คุณปริ๊นซ์อธิบายถึงแนวทางการปรับใช้ ปฏิทินเพาะปลูกตามดวงดาว Gardening Moon Calendars ไว้ว่า ไม่ต้องเคร่งครัดทำตามที่ปฏิทินกำหนดไว้แบบ 100%  สามารถปรับใช้ตามความเหมาะสมและความสะดวก โดยให้รดน้ำ ดูแลพื้นฐานตามปกติในทุกวัน และใช้ปฏิทินเพาะปลูกนี้เป็นไกด์ในการดูแลพืชผักในสวนตามที่ระบุกิจกรรมให้ทำในแต่ละวัน โดยเขาจะเว้นวันว่างไว้เป็นวันพักผ่อน 4 วันต่อเดือน คือวันพระจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น พระจันทร์เสี้ยวข้างแรม พระจันทร์เต็มดวง และพระจันทร์มืด ซึ่งก็คือวันพระเล็กและวันพระใหญ่ในแต่ละเดือนนั่นเอง

อิทธิพลของพระจันทร์ที่ส่งผลต่อพืชอย่างไร

NEW MOON PHASE : New Moon -» First Quarter (Waxing Crescent)

เป็นช่วงที่แสงจันทร์มีกำลังเพิ่มขึ้น แรงดึงโน้มถ่วงที่แข็งแกร่งที่สุด การปล่อยดิน / โลกหายใจออก / พลังงานดึงขึ้นสู่ดาวเคราะห์ชั้นบน

ปลูกพืช: พืชใบเหนือพื้นดิน ธัญพืช สนามหญ้า สมุนไพร แตงกวา

กิจกรรม : ปลูกถ่าย ตัดหญ้า และตัดแต่งใบไม้ (ช่วยให้พืชเจริญเติบโต)

FIRST QUARTER PHASE : First Quarter -» Full Moon (Waxing Gibbous)

เป็นช่วงแสงจันทร์จะแข็งแกร่งขึ้น แรงโน้มถ่วงตอนนี้น้อยลงนิดหน่อย การปล่อยดิน / โลกหายใจออก / พลังงานดึงขึ้นสู่ดาวเคราะห์ชั้นบน

ปลูกพืช: พืชผลไม้เหนือพื้นดิน (ที่มีเมล็ด เช่น มะเขือเทศ พริก ถั่วและถั่ว) ซีเรียล ธัญพืช สนามหญ้า และดอกไม้

กิจกรรม : ปลูกถ่าย ตัดหญ้า และตัดแต่งใบไม้ (ช่วยให้พืชเจริญเติบโต) การปลูกและการทาบกิ่งจะดีที่สุดหากทำสองวันก่อนพระจันทร์เต็มดวง

FULL MOON พระจันทร์เต็มดวง

เวลาพักผ่อน เฉลิมฉลอง และนั่งสมาธิ คัดเลือกพืชผักและพืชสมุนไพร

FULL MOON PHASE : Full Moon -» Last Quarter (Waning Gibbous)

เป็นช่วงแสงจันทร์กำลังลดลง แรงดึงโน้มถ่วงลดลง ดินดูดซับ / ดินหายใจเข้า / พลังงานดึงลงสู่ราก

ปลูกพืช: พืชใต้พื้นดิน พืชที่มีราก เช่น มันฝรั่ง แครอท และหัวหอม ปลูกต้นไม้ ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้ยืนต้นที่มีรากหยั่งลึก

กิจกรรม : เก็บเกี่ยวพืชผลทั้งหมด ใส่ปุ๋ย ย้ายปลูก ตัดหญ้า และตัดแต่งกิ่งใบ (เพื่อลดการเติบโต)

LAST QUARTER PHASE : Last Quarter -» New Moon (Waning Crescent)

เป็นแสงจันทร์ลดลง แรงโน้มถ่วงลดลง ดินดูดซับ / ดินหายใจเข้า / พลังงานดึงลงสู่ราก

ระยะเป็นหมัน (Barren phase) : เวลาพักผ่อน และเตรียมพร้อมสำหรับพระจันทร์ใหม่

กิจกรรม : เก็บเกี่ยวและจัดเก็บพืชผล ใส่ปุ๋ย ทำลายวัชพืช ตัดหญ้า และตัดแต่งใบไม้ (ช่วยให้พืชเจริญเติบโต) หลีกเลี่ยงการหว่านเมล็ด

จำแนกพืชให้ปลูกตามวัน

หลักสำคัญของ ปฏิทินเพาะปลูกตามดวงดาว คือการปลูก ดูแล แต่ละประเภทให้ตรงตามวันที่สอดคล้องกับอิทธิพลของดวงดาวและดวงจันทร์ แบ่งประเภทของพืชเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

วันใบไม้ (ธาตุน้ำ)

เป็นเวลาที่เหมาะสมในการหว่าน ย้าย และปลูกพืชที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ใบและลำต้น เช่น กะหล่ำปลี สลัด ผักกาด ผักโขม หัวหอม คะน้า เคล (ผักกินใบ) พืชใบควรเก็บเกี่ยวในวันดอกไม้ (หรือวันผลไม้) ไม่แนะนำให้เก็บเกี่ยวในช่วงที่มีใบไม้ (ผลิตผลจะเหี่ยวเร็ว)

วันผลไม้ (ธาตุไฟ)

เป็นเวลาที่เหมาะสมในการหว่าน ย้าย และปลูกพืชที่ให้ผลและเมล็ดพืช เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ ถั่วลันเตา ข้าวโพด ฟักทอง ถั่ว ซีเรียล บวบ เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ผลไม้ต่างๆ (ผักกินผล ผลไม้) การเก็บเกี่ยวในวันที่ผลไม้ช่วยให้ผลไม้และเมล็ดพืชมีคุณภาพในการเก็บรักษาดีขึ้น พืชกินใบควรเก็บเกี่ยวในวันดอกไม้ (หรือวันผลไม้)

วันราก (ธาตุโลก)

เป็นเวลาที่เหมาะสมในการหว่าน ย้าย และปลูกพืชราก ผักราก ไม้หัว เช่น แครอท หัวผักกาด มันฝรั่ง บีทรูท กระเทียม หัวหอม ต้นหอม ควรเก็บไม้ผลไว้ในวันราก

วันดอกไม้ (ธาตุอากาศ)

เป็นเวลาที่เหมาะสมในการหว่าน ย้าย เพาะปลูก และเก็บเกี่ยวพืชดอกหรือสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค ดอกไม้ถ้าตัดช่วงนี้จะมีกลิ่นหอมแรงและทนนานกว่า ควรเก็บเกี่ยวพืชใบในช่วงวันดอกไม้นี้

วิธีใช้ ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว

ปฏิทินเพาะปลูกตามดวงดาวนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ mooncalendar.astro-seek.com ซึ่งได้คำนวณวันเพาะปลูกไว้ตลอดทั้งปี และมีการปรับเปลี่ยนให้ตรงกับปฏิทินจันทรคติของเมืองไทย

วิธีดูปฏิทินแบบเข้าใจง่ายๆ คือให้สังเกตรอบวันของพืชแต่ละชนิดจะมีระยะประมาณ 9-12 วัน หมายความว่า หากเพาะเมล็ดผักเคลในวันไบไม้ อีก 9 -12 วัน จะตรงกับวันใบไม้อีกให้ย้ายปลูกต้นกล้าเคลที่เพาะไว้ และเมื่อตรงกับวันใบไม้อีก ให้ใส่ปุ๋ย หรือย้ายกระถางให้ใหญ่ขึ้น แล้วเก็บเกี่ยวในวันดอกไม้ ไม่ควรเก็บในวันใบไม้เพราะตรงกับธาตุน้ำ พืชกินใบพืชกินต้นจะเหี่ยวเฉาเร็วในวันนี้     

การใช้งานปฏิทิน ให้ตั้งต้นที่เลือกชนิดพืชที่ต้องการปลูกก่อนว่าเป็นพืชในวันใบไม้ วันราก วันดอกไม้ หรือวันผลไม้ แล้วจึงเทียบข้อมูลที่ระบุไว้ในปฏิทิน ทั้งนี้ ระยะเวลาการปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยวของพืชแต่ละชนิด ให้อิงตามระยะที่เหมาะสมของพืชเป็นหลัก วันที่ระบุในปฏิทินแนะนำใช้เป็นแนวทางเพื่อส่งเสริมให้พืชมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น   

ปฏิทินเพาะปลูกตามดวงดาวนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ mooncalendar.astro-seek.com ซึ่งได้คำนวณวันเพาะปลูกไว้ตลอดทั้งปี และมีการปรับเปลี่ยนให้ตรงกับปฏิทินจันทรคติของเมืองไทย ในแต่ละเดือนของปี 2024 วันไหนควรปลูกพืชอะไร เซฟเก็บไว้แล้วทำตามได้เลย

เมษายน April

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

พฤษภาคม May

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

มิถุนายน June

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

รกฎาคม July

ปฏิทินเพาะปลูก ตามดวงดาว ปลูกพืชตามดวงจันทร์

สิงหาคม August

กันยายน September

ตุลาคม October

พฤศจิกายน November

ธันวาคม December

อ้างอิง

https://www.biodynamics.com/steiner.html

https://mooncalendar.astro-seek.com/gardening-moon-calendar-farmers-guide

https://biodynamics.in/planting-calendar/

เรื่อง JOMM YB

ภาพประกอบ ไผ่ทอง