ห้องกันเสียง

ห้องกันเสียง สร้างโลกสงบที่เป็นส่วนตัว

ห้องกันเสียง
ห้องกันเสียง

มาดูไอเดียทำ ห้องกันเสียง สำหรับบ้านที่อยู่ติดถนนมีรถวิ่งไปมาตลอด เกิดมลภาวะทางเสียงที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย ลองมาดูวิธีป้องกันเสียงดังและเสียงสะท้อนภายนอกว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ห้องกันเสียง

หลายคนอยากทำ ห้องกันเสียง เพราะเสียงรบกวนจากนอกบ้านได้กลายเป็นปัญหาหนึ่งที่คู่กับบ้านไปเสียแล้ว โดยเฉพาะบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็กตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน จนทำให้การออกแบบหรือวางตำแหน่งห้องพักเพื่อบล็อกเสียงทำได้ค่อนข้างลำบาก จึงมักต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางเสียงอย่างเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ยังพอมีวิธีลดเสียงรบกวนจากภายนอกให้เบาลงได้ โดยการสร้างฉนวนกันเสียงให้ประตู-หน้าต่าง และผนังบ้าน เพื่อให้อากาศที่เป็นตัวนำเสียงรั่วซึมเข้ามาภายในบ้านน้อยที่สุด โดยขอแบ่งออกเป็นหัวข้อ ดังนี้

สร้างฉนวนให้ประตู-หน้าต่าง

ประตูและหน้าต่างเป็นจุดที่เสียงสามารถผ่านเข้ามาได้ง่าย ดังนั้นเราต้องพยายามทำให้มีรอยรั่วของเสียงน้อยที่สุดด้วยการอุดช่องว่างระหว่างรอยต่อวัสดุ สำหรับรอยต่อระหว่างแผ่นกระจกกับกรอบประตู-หน้าต่าง หรือวงกบ ควรอุดด้วยซิลิโคนยาแนวให้สนิท

ห้องกันเสียง

1. ส่วนรอยต่อระหว่างบานกรอบกับบานกรอบและบานกรอบกับวงกบ ก็อาจใช้แผ่นโฟมยางชนิดที่ใช้สำหรับทำงานฝีมือ (สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านเครื่องเขียน) มาตัดให้ได้ขนาดกว้างประมาณครึ่งนิ้ว ยาวเท่ากับความสูงบานประตู-หน้าต่างและกรอบวงกบ นำมายึดติดกับวงกรอบบานประตู-หน้าต่างและบริเวณวงกบไม้ที่มักมีช่องว่างเล็ก เพื่อลดการรั่วซึมของอากาศและช่วยบังรอยของบานประตู-หน้าต่างให้สนิทมากขึ้น สำหรับสีของแผ่นโฟมยางนั้นควรเลือกให้กลมกลืนกับบานประตู-หน้าต่างด้วย

ห้องกันเสียง

2. แต่หากบ้านไหนที่มีทุนมากหน่อย ขอแนะนำให้เปลี่ยนบานกระจกใหม่เป็นกระจกกันเสียงสองชั้น (Double Glazing) หรือจะเปลี่ยนมาใช้ประตู-หน้าต่างสองชั้น (บานนอกเปิดออก บานในเปิดเข้า) ก็กลายเป็น ห้องกันเสียง ที่ช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากนอกบ้านได้ดีกว่าบ้านที่ใช้กระจกธรรมดา

กระจกกันเสียง
กระจกกันเสียง

3. การออกแบบบานประตูให้เป็นฉนวนในตัว ด้วยการติดฉนวนข้างในบานประตูเพื่อทำให้บานประตูมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันเสียงมากขึ้น ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเสียงให้บ้านได้เหมือนกัน

ห้องกันเสียง

สร้างผนังกันเสียง

ก่อนที่จะสร้างบ้าน หากทราบว่าที่ดินของเราอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังรบกวน ก็ควรออกแบบบ้านให้เป็นผนังก่ออิฐสองชั้นหรือผนังอิฐมวลเบา ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนที่ดีกว่าการใช้ผนังก่ออิฐชั้นเดียว แต่หากเป็นบ้านที่สร้างแล้ว อาจแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งฉนวนกันเสียงให้ผนังบ้านอีกที ปัจจุบันมีทั้งแบบไฟเบอร์กลาส (ใยแก้ว) และแบบพอลิเอทิลีน (พีอี) ให้เลือกใช้ แล้วปิดทับด้วยแผ่นยิปซัมบนโคร่งคร่าวที่ยึดติดกับผนังบ้านอีกที

ห้องกันเสียง

การปรับสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน

การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอกบ้านด้วยการปลูกต้นไม้พุ่มหนาๆกั้นระหว่างบ้านกับถนน จริงๆแล้วไม่ช่วยเรื่องการกรองเสียงนัก แต่การปลูกต้นไม้รอบๆบ้านนั้นสามารถช่วยกรองฝุ่นละอองจากถนนหน้าบ้านได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากมีพื้นที่รอบบ้านเหลือพอ ควรปลูกต้นไม้ไว้ด้วยก็จะดี

ผนังแนวตั้ง
สวนข้างบ้าน

การปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านอีกวิธีหนึ่งคือก็คือ การใช้อุบายสร้างเสียงกลบเสียง หรือวิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง ด้วยการสร้างนำพุ น้ำตก หรือเลี้ยงนกไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อให้เสียงที่เราสร้างขึ้นช่วยกลบเสียงดังจากเครื่องยนต์นอกบ้าน แม้จะไม่ใช่การลดเสียงดังจากเครื่องยนต์นอกบ้าน แต่วิธีนี้ก็สามารถช่วยกลบเสียงที่เราไม่พึงประสงค์ได้

น้ำพุ
น้ำตก
กรงนก

เรื่อง : กองบรรณาธิการบ้านและสวน

ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน

การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี ตามหลัก WELL Building Standard

30 วัสดุก่อสร้าง – ตกแต่งบ้านต้องรู้จัก