GalileOasis Boutique Hotel บูทีคโฮเทลในตึกเก่า เล่าบรรยากาศใหม่ผ่านวัสดุหมุนเวียน

GalileOasis Boutique Hotel เก็บโครงสร้างเก่ามาเล่าใหม่ กับบูทีคโฮเทลในพื้นที่ของคนรักศิลปะ ภายในโครงการ GalileOasis สถานที่ที่เป็นเสมือนโอเอซิส เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ และเป็นชุมชนแห่งการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ ซ่อนตัวอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ย่านบรรทัดทองของชุมชนบ้านครัว ชุมชนเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ย้อนไปที่ตั้งของโครงการ GalileOasis นี้ เคยเป็นเวิ้งตึกแถวจำนวน 20 คูหา อายุ 50 ปี ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยจริงมาก่อน ก่อนหมดสัญญาเช่า และมีสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก กระทั่งอาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง อาจารย์สอนด้านการละคร และครอบครัว ได้เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์กลุ่มคณะละครสองแปด เข้ามาเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้สเปซแหล่งรวมคนรักงานศิลปะ และพื้นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่นี่จึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยยังคงโครงสร้างและสภาพเดิมของตึกแถวไว้บางส่วนเพื่อบอกที่มาที่ไปของสถานที่ ภายใต้บทบาทใหม่ เปลี่ยนที่นี่ให้เป็นโอเอซิสล้อมรอบด้วยต้นไม้ และความเคลื่อนไหวอันมีสีสันไปกับงานศิลปะ วัฒนธรรม และไลฟต์สไตล์สุดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งพื้นที่คาเฟ่ โรงละคร ร้านแผ่นเสียง ร้านอาหารอิตาลี ร้านฟิชแอนด์ชิปส์ ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนลืมความวุ่นวายภายนอก ชักชวนทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนให้ได้มาใช้พื้นที่พักผ่อนร่วมกันอย่างเป็นมิตร ขณะที่ชั้นบน 2 และ3 ของตึกแถวทั้งสองฝั่ง ได้รับการแบ่งพื้นที่เพื่อเปิดเป็นบูทีคโฮเทลจำนวน 19 ห้อง […]

Polyformer เปลี่ยน ขวดพลาสติก (PET)ให้กลายเป็นวัสดุพร้อมพริ้นต์ได้ทันที

นี่คือ เครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพื่อ เปลี่ยนขวดพลาสติก(PET)ให้กลายเป็นวัสดุพร้อมพริ้นต์ได้ทันทีด้วยเครื่องพิมพ์ที่เปิดให้โหลดแบบ Open Source และพริ้นต์ใช้เองได้! เพราะกว่า 90% ของขยะพลาสติกทั้งโลกนั้นมาจากขวดพลาสติก(PET) จะดีกว่าไหมถ้าเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถใช้งานขยะเหล่านี้เป็นวัตถุดิบได้โดยตรง นักออกแบบ Reiten Cheng ได้ออกแบบเครื่องพิมพ์นี้อย่างมุ่งมั่น เพื่อลดขั้นตอนการรีไซเคิลลงให้สั้นที่สุด เพราะจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งกลายเป็นขยะ กว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนรีไซเคิลนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เวลาที่เสียไป แต่ยังรวมถึงทรัพยากรและพลังงานที่ต้องใช้ไประหว่างทางอีกด้วย การทำงานของเครื่อง Polyformer นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักๆก็คือ การสร้างวัตถุดิบสำหรับพิมพ์ หรือที่เรียกว่าเส้นพลาสติก Filament และส่วนที่นำเข้าสู่การพิมพ์นั่นเอง Filament นั้นส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อความชื้นซึ่งจะเป็นผลให้การพิมพ์นั้นขาดช่วงไม่ราบรื่นได้ การสร้างวัตถุดิบพร้อมใช้โดยตรง ในทางทฤษฏีจึงเป็นการลดขั้นตอนการเก็บที่เสี่ยงต่อความชื้น ทั้งยังสามารถผลิตเพียงเท่าที่ต้องการได้อีกด้วย ขั้นแรกนั้นเมื่อได้ขวดพลาสติกเก่าที่จะนำมาใช้ป้อนเข้าสู่เครื่อง เครื่องจะเป็นการตัดให้ขวดนั้นกลายเป็นริ้วเส้นก่อน เมื่อเครื่องจับปลายริ้วพลาสติกได้ก็จะเริ่มกรีดเข้าสู่ขั้นตอนผลิตโดยอัตโนมัติ เมื่อริ้วพลาสติกผ่านเข้าไปยังเครื่องทำความร้อนภายใน ริ้วเหล่านั้นจะถูกหลอมและเกลาให้ได้รูปเป็นเส้น Filament จัดเก็บเข้าสู่กระสวยต่อไป เมื่อขวดหนึ่งหมดก็ใส่ขวดต่อไปเครื่องจะเชื่อม Filament เหล่านั้นให้กลายเป็นเส้นต่อเนื่องกันจนเต็มกระสวย หรือเท่าที่ต้องการในการใช้งานนั่นเอง จากนั้นก็นำกระสวยไปติดตั้งลงในเครื่องพิมพ์เพื่อใช้งานเป็นอันจบขั้นตอน Reiten Cheng ตั้งใจออกแบบเครื่องนี้แบบ Open Source หรือก็คือแพลตฟอร์มเปิดที่ใครก็สามารถโหลดไปพริ้นต์ใช้งาน และร่วมกันพัฒนาได้ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงต้องการการพัฒนาอีกมาก […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

เยื่อกระดาษกันกระแทกจากเศษลัง Re-Krafts x Re-Hyacinths

นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เราประหยัดวัสดุไปได้ถึงกว่าเท่าตัว ดูดี มีความรักษ์โลก เพราะใช้วัสดุธรรมชาติผสมวัสดุรีไซเคิล ทำไมเราต้องซ้อนพลาสติกกันกระแทกหนาหลาย ๆ ชั้น เวลาจะส่งของบรรจุในกล่องพัสดุ หลายคนคงเคยสงสัย และกลุ้มใจกับจำนวนพลาสติกกันกระแทกมากมายเหล่านั้น เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่มากับกล่องพัสดุ นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้วัสดุกันกระแทกและทำหน้าที่เป็นกล่องไปในตัว Re-Krafts x Re-Hyacinths หนึ่งในงานออกแบบที่ชนะรางวัล DEmark, Thailand ในปีนี้ คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบด้วยการสร้างความงามจากวัสดุกันกระแทกภายในออกสู่ความงามภายนอก ซึ่งเกิดจากการผสมเศษเยื่อกล่องกระดาษลังที่เหลือใช้ หรือหมดสภาพการใช้งาน มาผสมกับเยื่อปอสา ซ้อนกลางด้วยผักตบชวาอบแห้งสำหรับกันกระแทก และเพื่อลดการใช้ผักตบชวาในปริมาณมาก จึงผลิตด้วยกระบวนการซ้อนเยื่อกระดาษลงบนแม่พิมพ์เซรามิกในโครงการพัฒนาดอยตุง โดยนำเสนอเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชุดของขวัญชุดกาแฟ Espresso เผาด้วยเปลือกแมคคาดาเมีย ตกแต่งภายนอกด้วยเศษผ้าทอจากดอยตุง และสีครามธรรมชาติ นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในการสร้างนิยามความงามใหม่จากเป้าประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์นั้นถูกรังสรรค์จากฟังก์ชันการใช้งานอย่างแท้จริง ออกแบบโดย จักรายุธ์ คงอุไร [email protected] ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ fb.com/DEmarkthailand fb.com/MaeFahLuangFoundation ภาพ: ทีมออกแบบมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

Chang Green Oasis พื้นที่สีเขียวในงานบ้านและสวนแฟร์ select ที่มอบความร่มรื่น ความรื่นรมย์และความยั่งยืน

บ้านและสวนแฟร์ select สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คนรักบ้านต่างมาร่วมเปิดประตูสู่งานดีไซน์ที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตและความยั่งยืน ทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อมและชุมชนไปพร้อมกัน โดยเฉพาะที่โซน Chang Green Oasis พื้นที่สีเขียวบรรยากาศร่มรื่นกลางงาน ที่จัดไว้ให้ผู้คนได้มาแวะพักดื่มกาแฟ Asian Blend ล้อมวงพูดคุย ฟังดนตรีรื่นรมย์ และร่วมกิจกรรมเสวนาเรื่องการจัดการขยะอย่างยั่งยืนโดยเหล่าตัวจริง ที่ทำงานผลักดันเรื่องขยะในแวดวงต่าง ๆ ของประเทศไทย Chang Green Oasis ออกแบบพื้นที่ทั้งโซนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่นำวัสดุเหลือใช้มา Upcycling เป็นผลิตภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ และหลังจบงาน ข้าวของเหล่านี้จะถูกนำไป Upcycling อีกครั้ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ อีก นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่เกิดขึ้นใน Change Green Oasis จะถูกคัดแยกอย่างถูกต้อง ทำให้สามารถส่งบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นไปรีไซเคิลได้ อย่างไม่มีปัญหาการปนเปื้อนของขยะอาหาร เราจะชวนคุณไปดู 5 ความยั่งยืนที่ Chang Green Oasis ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการจัดโซนในงานแฟร์ที่มอบทั้งความร่มรื่น ความรื่นรมย์และความยั่งยืนไปพร้อมกัน นั้นเป็นไปได้และทำได้เป็นอย่างดีด้วย 01 คัดแยก ‘ขยะ’ เพื่อไม่ให้เป็น ‘ขยะ’ […]