รางจืด

กำลังช้างเผือก/เครือเขาเขียว/ดูเหว่า/รางเย็น
ชื่อวิทยาศาสตร์: Thunbergia laurifolia L.
วงศ์: Acanthaceae
ประเภท:ไม้เลื้อย อายุหลายปี
ลำต้น: หรือเถามีเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวสด
ใบ: เดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปไข่เรียวยาว ออกตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบหรือหยักเล็กน้อย
ดอก: ออกเป็นช่อกระจะห้อยลงมาตามซอกใบหรือตามข้อ แต่ละช่อมี 3 – 4 ดอก ใบประดับสีขาว มีจุดประสีแดง ดอกขนาดใหญ่รูปแตร ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วงอ่อน สีฟ้าหรือสีขาว ภายในดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน เมื่อดอกร่วงจะติดฝักตรงปลายแหลมคล้ายปากนก
ผล: ฝัก เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก
อัตราการเจริญเติบโต:ปานกลาง
ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: เต็มวัน
ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้เลื้อยริมรั้ว กำแพง หรือทำซุ้ม ใบตากแห้งชงเป็นชาดื่ม มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับสภาพอากาศในเมืองไทย หรือนำใบมาโขลกให้ละเอียดผสมน้ำซาวข้าว กรองเอาเฉพาะน้ำให้ผู้ที่กินยาฆ่าแมลงดื่ม เพื่อถอนพิษก่อนนำส่งโรงพยาบาล

รางจืด กินยังไงให้ปลอดภัย ช่วยล้างพิษ