ว่านมหากาฬ

gynura2
ว่านหัวน่วม

คำโคก ผักกาดดิน ผักกาดนกเขา ว่านหัวน่วม หนาดแห้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Gynura pseudochina (L.) DC. var. hispida Thwaites
วงศ์: Asteraceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี
ความสูง: 15 – 30 เซนติเมตร มีรากสะสมอาหารรูปรี
ใบ: เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบจักลึกเป็นพูตื้น สีเขียวเข้มปนน้ำตาล เส้นใบสีเขียว มีขนสั้นปกคลุม
ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมม่วง ดอกย่อยจำนวนมาก สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: เต็มวัน
ขยายพันธุ์: ปักชำ
การใช้งานและอื่นๆ : เป็นไม้ประดับที่ดึงดูดผีเสื้อได้ดีมาก หากปลูกในที่ร่มต้นมักทอดเลื้อยจนเกะกะและไม่ออกดอก เป็นว่านที่ใช้คู่กับว่านมหาปราบ ควรปลูกไว้ทั้งสองชนิดจะช่วยป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงได้ เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน หากกินหัวจะช่วยดับพิษร้อนแก้พิษไข้เซื่องซึม กระสับกระส่าย แก้อักเสบ หรือนำ ใบสดมาโขลกผสมสุราปิดพอกฝีหรือหัวลำมะลอกช่วยถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน   ชาวจีนเรียกว่า อังตังปึง อังตังปี ชนิดเดียวกับว่านหัวน่วม ต่างกันที่แผ่นใบใหญ่กว้าง ขอบใบหยักเว้าลึก เกือบถึงกึ่งกลางใบ เป็นว่านทางคงกระพันเช่นกัน