ว่านมหาจักรพรรดิ

ว่านกาจับหลัก ว่านพระยากาเผือก ว่านห้าร้อยนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma sp.
วงศ์: Zingiberaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี
ความสูง: 50 – 80 เซนติเมตร
ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อยรูปทรงกลมรี แตกแง่งเล็ก ๆ จำนวนมาก เรียงซ้อนกันเป็นชั้น เนื้อในหัวสีเหลืองอ่อน
ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบมีแถบด่างสีขาว
ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเทียม ใบประดับตอนล่างสีเขียวอมเหลืองอ่อน ตอนบนมีสีขาวอมชมพูอ่อน ดอกสีเหลือง
ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง เมื่อถึงฤดูหนาวจะพักตัว ควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เหง้าเน่าเสียหาย
แสงแดด: ครึ่งวัน
ขยายพันธุ์: แยกเหง้า
การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านคงกระพันชาตรี ช่วยป้องกันภัยให้กับบ้านเรือน โบราณเชื่อว่า ถ้านำหัวบดผสมกับว่านพระตบะปั้นเป็นรูปพระฤๅษี เสกด้วยคาถาอิติปิโสแปดทิศ 7 จบแล้วกินจะช่วยให้คงกระพันชาตรี ♦  นักเลงว่านโบราณเรียกว่า ว่านอรหันต์แปดทิศ ภายหลังมีผู้ตั้งชื่อไว้อีกหลายชื่อ เช่น ว่านพระยากาเผือก ว่านกาจับหลักและ ว่านห้าร้อยนาง