หางนาคบก

กูดน้ำข้าว/ตีนตุ๊กแก/Tralling Maidenhair/Walking Maidenhair Fern
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Adiantum caudatum L.
วงศ์: Adiantaceae
ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน
ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก มีเหง้าสั้นๆ
ใบ: ยาวและอ่อนโค้ง ก้านใบสีน้ำตาลเข้มถึงม่วงดำ มีเกล็ดตล้ายขนปกคลุม แกนกลางใบสีน้ำตาลแดง ใบรูปแถบยาว ปลายแหลม ปลายใบยืดยาวออกไป ไม่มีใบ แต่จะเกิดเป็นต้นใหม่เล็กๆ ขึ้นมา ใบประกอบแบบขนนก ขนาด 2-4×20-60 เซนติเมตร ใบย่อยรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ส่วนปลายใบเป็นรูปพัด ขอบด้านบนหยักมน สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนบางๆ
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก
น้ำ: น้อย-ปานกลาง
แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง
ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ แยกต้นใหม่ที่เกิดตรงปลายใบ
การใช้งานและอื่นๆ: พบในเขตร้อน ในประเทศไทยพบตามป่าผลัดใบในทุกภาค ขึ้นตามพื้นดินหรือซอกหินที่ค่อนข้างแห้ง