© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
โรงเรือนเกษตร แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งชื่อตามขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับนำส่งผักส่งสู่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเดียวกันกับพื้นที่แห่งนี้นั่นคือ Lit hotel และ Reno hotel จากเดิมที่เป็นสวนผลไม้ การพัฒนาอาคารเพื่อป้องกันสภาพอากาศและแมลงรบกวน จึงทำให้ PHTAA ได้เข้าไปร่วมออกแบบและวางผัง หรือ Masterplan ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมแห่งนี้ โรงเรือนหลักมีลักษณะเป็นซุ้มโค้ง 2 อาคาร วางตามแนวแกนที่ไม่ขวางทางน้ำ โดยอาคารที่ 1 ไล่ความสูงตั้งแต่ 2.75 เมตร ไปจนถึง 5.00 เมตร เพื่อใช้สำหรับปลูกพันธุ์ไม้ที่มีขนาดสูงได้ในอนาคต โดยในตอนนี้ได้มีการปลูกผักสวนครัวบ้างแล้ว เช่น ใบงา โรสแมรี่ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี พริก โหระพา ส่วนโรงเรือนที่ 2 มีความสูง 3.00 – 7.50 เมตร เพื่อปลูกแคนตาลูป มะเขือเทศ ลูกฟิก ขึ้นฉ่าย ผักสลัดต่าง ๆ […]
ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!
เมื่อถึงคราว รีโนเวทตึกเก่า ใหม่ ก็ต้องมาพร้อมการปรับปรุงพื้นที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ กับไอเดียการเปลี่ยนมุมอับของซอกตึกให้น่าเดิน อีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ช่วยแก้ปัญหาความอึดอัดคับแคบของพื้นที่ในเขตเมือง O Building คือผลงานการ รีโนเวทตึกเก่า ขนาด 3 ชั้น ในเมืองมูซาชิโนะ (Musashino) ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้กลายเป็นอาคารหลังใหม่ที่มาพร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานใหม่ ออกแบบโดย Yohei Kawashima architects ที่นี่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดจำกัดที่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายการรีโนเวทอาคารของญี่ปุ่น โดยสถาปนิกได้นำแผนการถอยอาคารออกจากอาคารหลังอื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ด้วยการออกแบบให้มีบันไดอยู่ภายนอกไว้ด้านข้าง แล้วสร้างทางเดินด้านล่าง เป็นผลพื้นที่แต่ละชันของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียบง่ายและเท่าเทียมกันทั้ง 3 ชั้น สำหรับทางเดินด้านล่างของอาคาร ได้ออกแบบให้สามารถทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนน 2 สาย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเดินเข้าอาคารได้จากถนนทั้งสองฝั่ง ผ่านช่องว่าง หรือซอกตึกที่คับแคบ แต่เนื่องจากไซต์นี้อยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์และมีอาคารหลังอื่น ๆ ที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว ตั้งขนาบข้างจนชิดขอบของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางเดินระหว่างซอกตึกที่ทั้งมืด คับแคบ และค่อนข้างอึดอัด ด้วยการสร้างกระจกครึ่งบานตามทางเดิน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวทางเดินทั้งสองฝั่ง นำพาผู้คนไปสัมผัสกับธรรมชาติและเป็นประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายตาและผ่อนคลาย ท่ามกลางชุมชนและตึกสูงของเมืองใหญ่ โดยรั้วกระจกนี้จะช่วยสะท้อนมิติการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา และสะท้อนมิติด้านข้างของอาคารและด้านหลังของอาคารที่อยู่ติดกัน บางครั้งก็จะสังเกตเห็นการซ้อนทับของมุมมองทั้งสอง เป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผล […]
“Wyndham Clubhouse” อาคารอิฐ ที่ถูกใช้เป็นคลับเฮ้าส์ หรือส่วนต้อนรับ ซึ่งเกิดจากวัสดุสามัญ นำพาทุกคนเข้าสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวที่มีชื่อว่า Wyndham Garden Phú Quốc ในพื้นที่ชายฝั่งของฟูโกว๊ก (Phú Quốc) เมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามของเวียดนามใต้ ในฐานะที่ใช้เป็นจุดติดต่อแรกสำหรับรับแขก บทบาทของ อาคารอิฐ ซึ่งใช้เป็นส่วนต้อนรับก่อนนำสู่รีสอร์ตสุดชิลที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ราวกับเป็นป่าสีเขียวในกล่องคอนกรีตนี้ สถาปนิกจาก MIA Design Studio ได้เน้นการออกแบบอาคารให้เป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ สำหรับมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า ในบทบาทที่เปรียบเสมือนปราการด่านแรกก่อนเข้าสู่พื้นที่รีสอร์ส่วนตัว ภายใต้รูปลักษณ์อาคารอิฐทรงลูกบาศก์เรียบง่ายสีแดงเอิร์ธโทน ซึ่งก่อสร้างจากอิฐจำนวนมหาศาลที่ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนได้ในทันที โดยมาจากความปรารถนาในการนำเสนอมุมมองใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมอิฐที่หลอมรวมทั้งรูปแบบโมเดิร์นและความดั้งเดิมไว้ด้วยกัน สำหรับความดั้งเดิมที่ถูกนำมาใช้นี้ ผู้ออกแบบหมายถึงการเน้นใช้ “อิฐ” วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นเปลือกอาคารที่สะท้อนถึงความประณีต และความแม่นยำของช่างประจำท้องถิ่น ในการนำอิฐมาเรียงต่อกันจนเกิดแพตเทิร์นสวยงาม.แม้ตัวอาคารจะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ก็มีความเข้าใจในภูมิอากาศเขตร้อนได้อย่างดี ด้านหน้า หรือทางเข้าหลัก จึงออกแบบให้มี Canopy ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและฝนก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร พื้นที่ภายในอาคารช่วงเวลากลางวันให้ความรู้สึกปลอดโปร่งและเย็นสบาย เพราะมีชั้นอิฐช่วยป้องกันความร้อน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องแสง นำพาแสงสว่างได้อย่างทั่วถึง เกิดการระบายอากาศและลมตามธรรมชาติได้ดีเยี่ยม ส่วนในเวลากลางคืนอาคารอิฐหลังนี้จะให้ภาพลักษณ์ที่เป็นเหมือนกล่องไฟขนาดใหญ่ สาดแสงเงาของไฟสีส้มให้ลอดผ่านออกมาตามช่องอิฐ ซึ่งเกิดจากการเรียงก้อนอิฐแบบเว้นช่องตามแพตเทิร์นที่ออกแบบไว้ ภายในมีการสร้างพื้นที่พักผ่อนแยกเป็นสัดส่วน ชั้นล่างใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยแบ่งเป็นโซนล็อบบี้ […]
โรงงาน ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สเปซดีต่อใจ ใคร ๆ ก็อยากไปทำงาน พื้นที่ทำงานที่ดีต่อคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการทำงานของคุณให้ดียิ่งขึ้น
P.Sherman The Enjoyable Ground คอมมูนิตี้ เพื่อนบ้านย่านฝั่งธนฯ ใช้พื้นที่โรงงานเก่าของที่บ้าน ซึ่งเคยใช้เพียงแค่เล่นสเก็ตบอร์ดกับเพื่อน ๆ มารีโนเวทใหม่ให้กลายเป็น Neighborhood Mall
การทำงานในแวดวงครีเอทีฟปัจจุบันเป็นเรื่องการเปิดกว้าง การออกไปหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ หรือได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้คน ถือเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานด้านนี้ จะดีแค่ไหนหากมีสถานที่ที่ตอบโจทย์ สามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างมีสีสัน ไว้คอยต้อนรับเหล่าครีเอทีฟได้มาพบปะเจอะเจอกันเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจ
คุยกับ ตวง-วรุณ เกียรติศิลป์ ช่างภาพแฟชั่น ถึง W39 studio สตูดิโอถ่ายภาพเปิดใหม่ ด้านหลังเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับการรูปได้ทุกมุมของบ้าน
Basel Pavilion พาวิเลียน อเนกประสงค์ ทำหน้าที่เป็นทั้งศาลาพักคอย ชานชาลา เวที พื้นที่จัดนิทรรศการ และนี่คือสถาปัตยกรรมเพื่อสาธารณะที่ตั้งใจเชื่อมโยงผู้คนกับเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชานเมืองที่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมเก่าของ ของ Dreispitz ทางตอนใต้ของ บาเซิล สวิตเซอร์แลนด์
โรงพยาบาลนั้นอาจเป็นสถานที่ที่มากกว่าการรักษา เพราะการดูแลสุขภาพต่างๆ ทำให้ผู้คนต้องแวะเวียนไปใช้บริการอยู่ตลอดเวลา โรงพยาบาลสัตว์ นั้นก็เช่นกัน แต่เมื่อภาพจำของโรงพยาบาลคือสถานที่ที่ดูอึมครึมไปด้วยความเจ็บป่วย เป็นสถานที่ที่ไม่น่าเข้าไปใกล้มากนัก จะดีกว่าไหมถ้าโรงพยาบาลสัตว์เป็นสถานที่แสนอบอุ่น ดูสดใสในทุกครั้งที่เข้าไปใช้บริการ และเป็นเรื่องที่ดีในการดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณ
เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือสถานที่ซึ่งเป็นดั่งมหาวิหารแห่งคาร์เทียร์ แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของโลก และนี่คือศิลปะแห่งการแปลงโฉม ที่สถาปนิกชั้นยอดกำลังจะปรับให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้ก้าวสู่ยุคสมัยถัดไป เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือจุดกำเนิดและแหล่งความทรงจำร่วมของเมซง จึงมีฐานะเป็นหนึ่งในสามวิหารแห่งคาร์เทียร์ โดยอีกสองแห่งอยู่ที่ถนนบอนด์สตรีท กรุงลอนดอน และถนนหมายเลข 5 (5th Avenue) ในนิวยอร์ก นั่นเอง ที่แห่งนี้คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของฌานน์ ตูแซงต์และหลุยส์ คาร์เทียร์ คือแหล่งกำเนิดรูปแบบเชิงสุนทรียศาสตร์และสร้างสรรค์ของแบรนด์ที่มีความเป็นหนึ่งแต่มีมากกว่าหนึ่ง มีเอกลักษณ์และเป็นสากล จึงเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจไม่รู้จบ สำหรับการรังสรรค์สมบัติล้ำค่าแห่งอดีตและอนาคต อาคารใหม่ที่ได้ฤกษ์เผยโฉมในวันนี้เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นของสมัยใด แต่ให้ความเคารพทุกสมัย ไม่ติดกับสไตล์ใด แต่เชิดชูทุกสไตล์โดยไม่มีการยกเว้น และได้นำรหัสแห่งปารีสมาตีความใหม่อย่างเสรีและใส่ความเป็นละครลงไป นำเสนอความเป็นเมืองหลวงฝรั่งเศสในแบบฉบับที่อลังการ งดงามดังบทกวี และไร้กาลเวลา จากวิวหลังคาไปจนถึงทัศนมิติ และสมบัติลับล้ำค่าของเมือง วิสัยทัศน์เชิงสถาปัตยกรรมนี้เป็นสไตล์คาร์เทียร์ทั้งหมด และค้นพบพลังในทุกยุคสมัย ทุกวัฒนธรรม ในการที่จะตรึงความงามและความเป็นสากลของแต่ละยุคและแต่ละวัฒนธรรมออกมา ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความพิสุทธิ์ ความโอ่อ่าในสไตล์อพอลโลเนียนและไดโอนิเซียน ด้วยพื้นที่ที่โอ่โถงและเปิดรับแสงสว่าง จึงเป็นสถานที่สำหรับใช้ชีวิตและพบปะกันเพื่อการสร้างสรรค์และจินตนาการ เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ เชิญคุณมาร่วมการเดินทางอันล้ำค่า สู่ใจกลางจักรวาลคาร์เทียร์ ด้วยสถาปัตยกรรมที่มองลึกสู่ภายใน จึงทำให้อาคารนี้เป็นที่ตั้งอันอบอุ่นใกล้ชิดสำหรับอัญมณีที่เลิศล้ำและช่วงเวลาที่ไม่อาจลืม การมาบรรจบกันระหว่างอนาคตกับอดีต […]
HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]