© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Lil house คาเฟ่ในบ้านหลังคาจั่ว 2 ชั้น เรียบง่าย ที่ดูธรรมดาแต่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของทุ่งนาและท้องฟ้า ผสานบริบทและกลิ่นอายของธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของเชียงราย ผ่านฝีมือการออกแบบของ ALSO Design studio ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 159 ตารางเมตร ตอบโจทย์การอยู่อาศัย และมีฟังก์ชันของคาเฟ่ขนาด 38 ที่นั่ง การออกแบบจึงให้ความสำคัญกับมุมมองและความรู้สึกของผู้ใช้งาน ทั้งลูกค้าคาเฟ่และผู้อยู่อาศัยที่ต้องใช้สเปซร่วมกัน โดยสะท้อนข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งกลางธรรมชาติ ภายใต้งบประมาณที่สมเหตุสมผล Lil house จึงมีลักษณะเป็น “บ้าน” อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งของทุ่งนาและสวนต้นไม้ใหญ่ โดยมีการลดทอนฟังก์ชั่นของบ้านบางส่วน และเพิ่มเติมด้วยฟังก์ชั่นของคาเฟ่ สะท้อนวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ พร้อมแฝงความอบอุ่นไว้ทุกมุม บริเวณทางเข้าสร้างความน่าสนใจด้วยแผ่นเหล็กดัดโค้งสีขาว โค้งรับกับประตูทางเข้า เมื่อก้าวเข้าไปภายในร้าน บันไดวนสีขาวเป็นจุดนำสายตา และเป็นส่วนที่เชื่อมชั้นบนและชั้นล่างเข้าด้วยกัน โดยพื้นที่ชั้นล่างจะเป็นส่วนของคาเฟ่แบบอินดอร์ ในขณะที่บันไดวนพาขึ้นไปสู่ชั้นลอย ที่มีที่นั่งเป็นลักษณะบาร์ ต่อเนื่องกับระเบียงภายนอก ซึ่งมีที่นั่งแบบเอ้าต์ดอร์ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศ และการสัมผัสรับรู้ทั้งสายตา เสียง และความรู้สึกของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ ส่วนระเบียงของรองรับการใช้งานในฐานะ “บ้าน” เชื่อมต่อกับส่วนห้องนอนและห้องน้ำอีกด้วย คาเฟ่แห่งนี้ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ในทุกมุมมอง ทั้งจากระยะไกล จากผู้ใช้งานภายนอก และผู้ใช้งานภายใน องค์ประกอบต่างๆ […]
แพ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่เป็นแพลากนาม PLA2 ของรีสอร์ตอย่าง Z9 Resort ที่ดึงลักษณะทางธรรมชาติของปลาชะโด มาลดทอนให้ดูโมเดิร์น
ออกแบบร้านตัดผม ที่ซ่อนอยู่ในอาคารเก่าอายุ 34 ปี ของเมืองอาตามิ จังหวัดชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ให้มีบรรยากาศน่าสนใจกับการใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่าง เสาไม้ และอะลูมิเนียม ผสานด้วยเทคนิคและกระบวนการกึ่ง DIY สุดประณีต Hair Atelier Bruno คือตัวอย่างของการ ออกแบบร้านตัดผม ที่นำแนวคิดแบบ DIY มาจับ ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สามารถใส่กระบวนการแนวคิดสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนชั้นล่างของอาคารขนาด 5 ชั้น ที่อยู่หันหน้าออกไปยังถนนใกล้สี่แยกของเมือง จากจุดเด่นของทำเลที่พลุกพล่าน Yuji Tanabe Architects จึงออกแบบร้านให้สามารถมองเห็นการตกแต่งที่น่าสนใจด้านใน ผ่านผนังกระจกใสที่กรุอยู่โดยรอบ ขณะเดียวกันก็พรางสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ด้วยฉากกั้นที่ทำจากเสาไม้โค้งไปตามแนวพื้นที่ใช้งาน ฉากกั้นไม้ที่กล่าวถึงนี้ สถาปนิกใช้ชื่อเรียกว่า Ku-ki Bei (หมายถึงผนังอากาศ) เป็นเสาไม้ที่เรียงรายเป็นช่วง ๆ เพื่อแยกส่วนพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ยังยอมปล่อยให้แสง ลม และแมว! ของเจ้าของร้านเดินผ่านไปได้ และเมื่อมอง Ku-ki Bei ขนานไปกับแนวสายตา เสาไม้นี้ก็จะกลายเป็นแนวช่วยพรางสายตาไปในตัว โดยเสาไม้ทั้งหลายนี้จะถูกเชื่อมต่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมชุบอโนไดซ์หนา 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งตัดด้วยเลเซอร์ […]
หลังจาก The Baristro, Asian Style จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนทำให้ต้องออกแบบโซนพักผ่อนนั่งเล่นเพิ่มเติมต่อจาก Speed Bar และ Slow Bar จนกลายเป็นพื้นที่เฟสใหม่ภายใต้ธีม Thai house vibe DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio ด้วยการจำลองบรรยากาศบ้านไทย เพื่อสร้างความรู้สึกสบายเป็นกันเอง โดยไม่ละทิ้งโจทย์เด่นของการออกแบบ อย่างการสอดแทรกวัฒนธรรมสไตล์เอเชียที่ทุกคนคุ้นเคย เพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมเยือนเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีประสบการณ์ร่วมไปพร้อมกัน ครั้งนี้ pommballstudio ได้ออกแบบเฟสใหม่ให้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กับการออกแบบที่ไม่ซับซ้อนได้มู้ดแบบบ้านไทย โดยจำลองบรรยากาศเหมือนเดินขึ้นมาบนบ้าน สิ่งแรกที่จะพบเห็นคือ “เติ๋น” หรือชานบ้าน (ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ) ซึ่งทำการจัดวางเบาะนั่งนุ่ม ๆ พร้อมหมอนอิงทรงสามเหลี่ยม ให้ลูกค้าได้นั่งผ่อนคลายอิริยบถ เหมือนมาพักผ่อนอยู่บนบ้านจริง ๆ ก่อนนำสู่ด้านในที่ออกแบบมุมด้านหนึ่งให้ยกพื้นสูง วางที่นั่งสไตล์ญี่ปุ่น และเบาะนั่งแบบไทย ซึ่งเป็นสองวัฒนธรรมที่นิยมการนั่งพื้นเหมือนกัน เหมาะกับคนที่ต้องการนั่งพักแบบสบาย ๆ ทั้งยังมีโซนที่นั่งแบบเก้าอี้ให้นั่งห้อยขา แล้วแต่ลูกค้าจะเลือกตามอัธยาศรัย นอกจากฟังก์ชันการใช้งานที่เรียบง่ายแล้ว การออกแบบของที่นี่ยังคงมีแนวคิดเชื่อมโยงกับกลิ่นอายความเป็นธรรมชาติ ผ่านการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ซึ่งเป็นไม้เก่าหาได้ง่ายทั้งจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน […]
หอสมุดวังท่าพระ โฉมใหม่ หลังผ่านการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ก่อนที่จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งช่วงปลายปีนี้ (หรือจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลง)
โรงเรียนอนุบาล ที่มีแนวคิดคือพื้นที่ที่เปี่ยมไปด้วยการผจญภัย จิตวิญญาณ และความสงสัยใคร่รู้ ภายใต้การโอบล้อมไว้ด้วยเทือกเขาทาเทยาม่า
KIDS SMILE LABO NURSERY เนิร์สเซอรี่ ที่ถอดลักษณะของป่าในเมืองอัตสึงิทั้ง 8 รูปแบบ มาไว้บนชั้นสองของอาคารให้เด็ก ๆ ได้ผจญภัยและเรียนรู้
Papa Beach Pattaya ร้านอาหารที่แฝงตัวอยู่อย่างลับ ๆ เชิงผาริมหาดบ้านอำเภอ โดดเด่นด้วยทำเลเยี่ยมที่มาพร้อมวิวทะเลแบบพานอรามาสุดสายตา นอกจากบรรยากาศน่าสบายที่เกิดจากธรรมชาติ การออกแบบให้มีมุมนั่งรับประทานอาหารหลากหลายรูปแบบ ยังช่วยสร้างบรรยากาศพักผ่อนให้ Papa Beach Pattaya มีสีสันได้อย่างน่าประทับใจ จากแรงบันดาลใจเหนือจินตนาการที่บอกเล่าเรื่องราวของ “เรือสำราญที่ลอยมาเทียบท่าบนเกาะ” ได้รับการตีความให้เกิดเป็นรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมตัวอาคารไม้ไผ่ ที่เปรียบเสมือนเรือลำใหญ่ที่จอดเทียบริมหาดทรายท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ที่สร้างความร่มรื่น รายล้อมด้วยประติมากรรมไม้ไผ่ดูแปลกตา ทางเข้าอาคารโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่เรียงรายเหมือนเสากระโดงเรือ นำสายตาตลอดแนวทางเดินสู่ด้านใน ผนังเพ้นต์ภาพลวดลายไลฟ์สไตล์ชาวเกาะ ต้อนรับทุกคนเข้าสู่ด้านในร้านอาหาร ซึ่งตกแต่งในรูปแบบรีสอร์ตริมทะเล(Coastal Design) มุมเคาน์เตอร์บาร์ทรงโค้งออกแบบให้คล้ายกับห้องควบคุมเรือ กรุกระเบื้องสีขาวเรียบง่าย ขับเน้นให้โครงสร้างไม้ไผ่บนฝ้าเพดานโดดเด่นยิ่งขึ้น เสมือนพื้นที่พักผ่อนใต้ร่มมะพร้าวที่เรียงรายบนชายหาด เก้าอี้สานแพตเทิร์นขาว-ดำ และโต๊ะลายหินขัดสดใส เพิ่มรายละเอียดน่าสนุกให้ทุกมุม อาคารหลักเชื่อมต่อกับส่วนอัฒจันทร์สำหรับนั่งรับลมทะเล หรือชมพระอาทิตย์ตกดิน ส่วนด้านล่างมีมุมสระว่ายน้ำเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศพักผ่อนแบบบีชคลับ รองรับการจัดงานสังสรรค์ริมสระได้ด้วย ทำให้ที่นี่เป็นทั้งร้านอาหาร และพื้นที่พักผ่อนสไตล์ชายหาดที่ไม่ซ้ำใคร IDEA TO STEAL ผนังด้านหน้าบริเวณทางเข้ามีแนวกำแพงไผ่สับฟาก เปรียบเสมือนกราบเรือ เว้นช่องให้แสงธรรมชาติสร้างแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ส่วนกำแพงอาคารอีกด้านใช้การมุงจาก สร้างพื้นผิวธรรมชาติต่างสัมผัส เข้ากับโครงสร้างไม้ไผ่ได้อย่างดี ที่ตั้ง 137 ถนนสุขุมวิท ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี […]
คาเฟ่สีดำบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่นี้ ตั้งอยู่ในย่านถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าของตั้งใจเปิดควบคู่ไปกับธุรกิจโฮสเทลที่อยู่ด้านบน เพื่อให้คนทั่วไปแม้ไม่ใช่ลูกค้าโฮสเทลสามารถเข้ามานั่งเล่นได้ ภายใต้ความเข้มเท่คมคายตามแบบฉบับชายหนุ่มผู้หลงใหลรถคลาสสิก คาเฟ่เชียงใหม่ ที่นี่มีไอเดียการตกแต่งมาจากงานอดิเรกและความชื่นชอบในการสะสมรถคลาสสิกของคุณจักรพล นิยมสิริ ผู้เป็นเจ้าของ โดยทีมสถาปนิกจาก ALSO design studio ได้หยิบคาแรกเตอร์ดังกล่าว มาใช้ถ่ายทอดโดยล้อไปกับดีไซน์ของโฮสเทล ด้วยการนำกลิ่นอายที่จะพาทุกคนเชื่อมโยงเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือยุคแห่งการทำงานระหว่างคนกับเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการผลิตรถยนต์ การออกแบบคาเฟ่จึงอิงหลักการออกแบบในสไตล์อินดัสเทรียล โดดเด่นด้วยความสวยงามที่มาจากการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุแต่ถูกลดทอนความเป็นดิบบางส่วนลงเพื่อให้เข้ากับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ ภายใต้โทนสีเทา-ดำ อันเป็นสีที่มาจากเนื้อแท้ของวัสดุปูน/คอนกรีต และสีดำด้านของเหล็กโลหะ การตกแต่งเน้นวัสดุที่มีลักษณะเหมือนกับตัวอาคารของโฮสเทลอย่าง การนำคอนกรีตบล็อกมาทำเป็นฐานเคาน์เตอร์บาร์ ท็อปทำจากแผ่นคอนกรีตเปลือย ตลอดจนการปล่อยผิวผนังให้เป็นปูนเปลือยฉาบเรียบไม่ทาสี และโชว์ท่องานระบบที่เลียนแบบท่อรถยนต์แบบไร้ฝ้าปกปิด ส่วนเฟอร์นิเจอร์จัดวางแต่เพียงน้อยชิ้น เน้นเท่าที่จำเป็นในการใช้งานจริง เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโฮสเทล โคมไฟและของตกแต่งรอบ ๆ ถอดรูปแบบมาจากลักษณะของรถ ความเงาของสเตนเลส และเหล็กสีดำที่ถูกสอดแทรกในองค์ประกอบต่าง ๆ โดดเด่นด้วยรูปภาพรถคลาสสิกสีขาว-ดำ บอกเล่าความชอบและรสนิยมของเจ้าของ ช่วยให้ร้านมีเสน่ห์ และแตกต่างจากคาเฟ่ในแนวอินดัสเทรียลทั่วไป แม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างดิบกระด้างและหนาหนัก แต่ก็ยังมีการเลือกใช้กระจกมาเป็นช่องแสงขนาดใหญ่ให้ร้านมีมิติจากแสงเงา อีกทั้งเส้นสายของเฟรมกระจกสีดำยังช่วยเพิ่มลูกเล่นให้การมองเห็น กำหนดแสงและบรรยากาศของร้าน ให้สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เผื่อการใช้งานคาเฟ่ที่อาจจะปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ได้ในอนาคต พักสายตากับวิวสวนสีเขียวด้านนอกที่เน้นงานฮาร์สเคปเป็นหลัก โดยทำล้อไปกับรูปแบบของการออกแบบเปลือกอาคารโฮสเทลด้านนอก ด้วยการนำคอนกรีตบล็อกมาจัดเรียงซ้อนกันเพื่อเป็นขอบที่นั่งแบบเรียบง่าย พื้นโรยด้วยหินกรวด และไม้ใบเขียวที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่น ลดความดิบกระด้างของวัสดุและสเปซ ให้ผู้ใช้งานสามารถออกมานั่งพักผ่อนได้อย่างโปร่งสบาย […]
ZAIWAN VILLAGE หมู่บ้านเก่าแก่ที่ถูกปรับปรุงให้มีชีวิตชีวาด้วยงานออกแบบที่กระตุ้นให้คนในชุมชนออกมาใช้พื้นที่ และมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนและผู้คน
ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]
รีโนเวตบ้านเก่า ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์บีชเฮ้าส์ โดยตั้งใจให้ลูกค้าได้สัมผัสและอิ่มเอมไปกับบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมกับเบอร์เกอร์แสนอร่อยในมือ ขั้นตอนการ รีโนเวตบ้านเก่า สองคูหาขนาดสองชั้นนี้ เรียกว่าสถาปนิกจาก Studio anettai ได้ลอกคราบหน้าตาของอาคารเดิมออกจนเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นผนังด้านนอกอาคาร และห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน ได้ถูกทุบและปรับผังการใช้งานใหม่ เหลือไว้แต่โครงสร้างหลัก ซึ่งต้องการโชว์เนื้อแท้ของพื้นผิวอันเปลือยเปล่า เช่น เสา คาน และโดยเฉพาะผนังอิฐที่ทาทับด้วยสีขาวบาง ๆ โดยมีมุมไฮไลท์อยู่ที่ผนังอิฐด้วยการนำหลอดไฟนีออนสีชมพูมาขดเป็นรูปเบอร์เกอร์ขนาดยักษ์ ประดับด้วยรูปกิจกรรมริมชายหาด ช่วยสร้างกิมมิกน่ารัก ๆ เข้ากับคอนเซ็ปต์ของร้าน ที่ต้องการให้ทุกคนนึกถึงบรรยากาศสบาย ๆ ยามไปเที่ยวทะเล ร่วมด้วยของตกแต่งอย่าง ไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์และโคมไฟหวายสไตล์ทรอปิคัล พรรณไม้เขตร้อน ตลอดจนถึงฝ้าไม้ไผ่สำหรับตกแต่งใต้ท้องพื้นและฝ้าเพดาน โซนที่นั่งชั้นล่างนี้ สถาปนิกได้เจาะพื้นที่ทำเป็นโถงดับเบิ้ลสเปซทะลุขึ้นไปถึงชั้นสอง เพื่อสร้างบรรยากาศให้ที่นั่งรับประทานเบอร์เกอร์ชั้นล่าง และชั้นลอยดูโปร่งสบาย ขณะที่ชั้นสองสถาปนิกได้เปลี่ยนช่องแสงด้านหน้าให้เป็นกระจกใสสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ช่วยเปิดรับแสงให้สามารถส่องลงมาถึงด้านล่างได้ในช่วงกลางวัน ลูกค้าสามารถนั่งชมวิวถนนด้านนอกได้เต็มสายตา เป็นการเชื่อมต่อมุมมองและความรู้สึกถึงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน โดยลูกค้าที่อยู่ชั้นบนสุดนี้ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสีสันและความคึกคักของร้านไม่ถูกตัดขาด เชื้อเชิญให้อยากแวะเวียนมานั่งพูดคุย และกินเบอร์เกอร์อร่อย ๆ ดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งความสุขได้แบบยาว ๆ ตั้งแต่ช่วงเวลากลางวัน […]