50 แบบบ้านไทยพื้นถิ่น บ้านอยู่สบายแบบไทยๆ ที่ไม่ทิ้งรากเหง้าดั้งเดิม
แบบบ้านไทยพื้นถิ่น เป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะแปรไปตามสภาพแวดล้อม เกิดจากการหยิบใช้วัสดุใกล้ตัว ใช้เทคนิควิธีหรือภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ทั้งยังเป็นตัวแทนบ่งบอกวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม การแก้ปัญหา และการปรับตัวของผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ
แบบบ้านไทยพื้นถิ่น ในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัว
อ่านเพิ่มเติม : รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค
แบบบ้านไทยพื้นถิ่น ทั้ง 50 หลังที่นำมาให้ชมกันนี้มีแนวคิดในการนำบ้านพื้นถิ่นมาออกแบบให้ตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ลองดูเป็นแนวทางสำหรับนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ตามต้องการ
บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา
- เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านล้านนาอยู่สบาย
- สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์
- ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ
- ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า)
- ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร
บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย >> อ่านต่อ



บ้านไม้ เรือนล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดของขุนเขา
- เจ้าของ : พันตำรวจเอกเกรียงศักดิ์ กัลยาวัฒนเจริญ
บ้านพื้นถิ่นสไตล์ล้านนาที่สร้างจากหลองข้าวหรือเรือนยุ้ง โดยปรับให้กว้างขึ้น ชั้นบนใช้เป็นห้องนอน ส่วนชั้นล่างที่เป็นใต้ถุนปกติหลองข้าวจะมีระดับความสูงไม่มากนัก จึงต้องทำฐาน เพื่อวางเสาเพิ่มความสูง ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งาน ซึ่งมีทั้งมุมนั่งเล่น รับแขก รับประทานอาหาร และครัวเปิด โดยออกแบบให้ตัวบ้านเปิดรับวิวทิวเขา จึงสัมผัสได้ถึงความรู้สึกแสนสบาย >> อ่านต่อ



เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูงพื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น
- เจ้าของ: คุณสมยศ สุภาพรเหมินทร์ และคุณอูซาบุโระ ซาโตะ
- ออกแบบ: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
- สถาปนิกที่ปรึกษา: คุณธีรพล นิยม
- สถาปนิกโครงการ: คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์
- ผู้รับเหมา: คุณประทิว ยาใส
จุดเด่นของบ้านเฮือนธรรมหลังนี้คือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของบ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆ แล้วความงามของบ้านหลังนี้คือการที่สถาปัตยกรรมและชีวิตสามารถเรียงร้อยไปด้วยกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติและวิถีแห่งความสมถะ ลักษณะเป็นหมู่เรือนที่ประกอบเข้าเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมในบริบทที่ลงตัวกับคำว่า “ธรรม” ซึ่งมาจาก “ธรรมชาติ” และ “ธรรมดา” อันเป็นความสมถะของชีวิต โดยบริเวณกึ่งกลางของหมู่เรือนเป็นที่ตั้ง “ศาลาธรรม” มีไว้สำหรับการพบปะกันของคนในบ้านและเป็นลานอเนกประสงค์ในร่มสำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดเสวนาธรรม รวมทั้งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไม้ด้วย >> อ่านต่อ



“บ้านเขียนไข” โฮมสตูดิโอในบ้านไม้สไตล์พื้นถิ่น
- เจ้าของบ้าน : คุณบุษราพรรณ ไพรทอง และ คุณสาโรจน์ ยอดยิ่ง
- ออกแบบ : Sher Maker โดยคุณธงชัย จันทร์สมัคร และคุณพัชรดา อินแปลง
บ้านไม้สไตล์พื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา งดงามด้วยแนวคิดและวิถีชีวิตเรียบง่าย เป็นโฮมสตูดิโอและพื้นที่แห่งแรงบันดาลใจของศิลปิน “เขียนไขและวานิช” การออกแบบบ้านไม่ได้มีแนวคิดที่ซับซ้อน ด้วยเจ้าของบ้านเพียงแค่อยากอยู่ในบรรยากาศที่สงบและใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมให้มากที่สุด บ้านจึงมีความเป็นพื้นถิ่นชนบท ไม่ได้ทำให้มีทางเข้า-ออกชัดเจน แต่ใช้ลักษณะเปิดพื้นที่โล่งอย่างบ้านชนบท ไม่มีรั้วมิดชิดหรือมีประตูหลักที่ล็อกแล้วปิดได้ทั้งหลัง ซึ่งเข้ากับบริบทรอบบ้านที่มีความเรียบง่าย เพื่อนบ้านเป็นกันเอง >> อ่านต่อ



“บ้านสวนอธิษฐาน” บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย
- เจ้าของ: คุณศุภวุฒิ บุญมหาธนากร
- ออกแบบ: Jaibaan Studio
- รับเหมาก่อสร้าง: Banjerd Atelier
- ช่างไม้: คุณพงศกร ยืนน้อย (สล่ากิ้ว)
บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย หลังนี้มีชื่อว่า “บ้านสวนอธิษฐาน” ซึ่งออกแบบให้มีสัดส่วนรูปทรงที่สอดคล้องกับการวางฟังก์ชันภายใน ใช้งานตามทิศแดดลมฝนได้ดี ดูกลมกลืนไปกับบ้านไม้ของชุมชนโดยรอบ >> อ่านต่อ



บ้านไม้ชั้นเดียว ภายใต้โรงเลี้ยงหมูเก่า กลางสวน
- เจ้าของ : คุณปานเดช บุญเดช และคุณรุ่ง ตั้งตะธารากุล
- ออกแบบ : บริษัทยางนา สตูดิโอ จำกัด โดยคุณเดโชพล รัตนสัจธรรม
- ตกแต่ง : คุณปานเดช บุญเดช
บ้านไม้พื้นถิ่นชั้นเดียวหลังนี้มีชื่อว่า “ขนำน้อย”สร้างขึ้นใหม่ภายใต้โครงสร้างโรงเลี้ยงหมูเดิมที่เป็นอาคารรูปทรงยาวทอดตัวจากทิศตะวันออกไปตะวันตกและมีช่องว่างระหว่างหลังคา โดยบ้านใหม่มีโครงเป็นเหล็กทำกันสนิมและทาสีแบบไม่เคลือบผิว เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติกลมกลืนไปกับเปลือกอาคารที่ประยุกต์จากรูปแบบท้องถิ่น รวมไปถึงความงามของตัวอาคารที่ล้อกับโครงสร้างหลังคาเดิมซึ่งลดหลั่นกันไป >> อ่านต่อ



บ้านพื้นถิ่น ที่รีโนเวตจากบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน
- เจ้าของ : คุณวิภาดา กฤษณามะระ
- ออกแบบ : บริษัทยางนา สตูดิโอ จำกัด โดยคุณเดโชพล รัตนสัจธรรม
บ้านพื้นถิ่น หลังนี้รีโนเวตมาจากบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนดั้งเดิมที่เคยต่อเติมดัดแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยเน้นปรับแก้ไขปัญหาเดิมของบ้าน และสร้างฟังก์ชันให้เหมาะกับวิถีชีวิตใหม่ด้วยเสน่ห์ของงานช่างฝีมือท้องถิ่น >> อ่านต่อ



บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก บ้านสวนในวิถีเกษตรพอเพียง
- ออกแบบ : ช่างเฮ็ดแบบ โดยคุณสุริยา เขาทอง
บ้านสวนสไตล์พื้นถิ่นร่วมสมัย ออกแบบเป็น บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ที่เน้นการสร้างได้เร็ว ทันสมัย แต่ยังคงความอบอุ่น อยู่สบายแบบบ้านไม้ >> อ่านต่อ



บ้านพื้นถิ่นไทย ที่อบอุ่นด้วยงานไม้เก่า
- เจ้าของ : คุณดิษฐวัฒน์ – คุณศุภาวีร์ เตียพิบูลย์
- สถาปนิก : Studio Miti โดยคุณเผดิมเกียรติ สุขกันต์
บ้านพื้นถิ่นไทยที่ออกแบบมาให้มีช่องเปิดรับแสงในทิศทางที่เหมาะสม มีช่องทางไหลเวียนของลมเพื่อระบายความร้อน ชายคายื่นยาวกันแดดกันฝน และเพิ่มมุมมองที่อบอุ่นนุ่มนวลด้วยงานไม้เก่า >> อ่านต่อ



“บ้านใต้ถุนสูงริมคลอง” เป็นสุขตามวิถีชีวิตแบบไทย
- เจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษา
- สถาปนิก : บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด
บ้านไม้ริมคลองบางมดที่ยังดำรงวิถีชีวิตริมน้ำ และคำนึงถึงหลักการออกแบบใน 3 เรื่อง คือ ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทย ตัวสถาปัตยกรรมต้องส่งเสริมวัฒนธรรมของครอบครัว และการสร้างบ้านให้พอดีกับงบประมาณ >> อ่านต่อ


