รับวิวตะวัน ที่บ้านไร่สไตล์โรงนา

บ้านสไตล์โรงนา หลังนี้ ตั้งอยู่กลางไร่พลิศาซึ่งเป็นไร่ปลอดสาร บนเส้นบายพาสชะอำ-หัวหิน มีความพิเศษตรงการวางตัวอาคาร และช่องเปิดของบ้านให้รับวิวสวย ๆ ได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินจากทิวเขาที่อยู่ล้อมรอบไปสุดตา

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Phyicalist

คุณตุ๋ย-อมรรัตน์ จันต๊ะ เจ้าของบ้าน บ้านสไตล์โรงนา แห่งนี้ มีกิจการร้านอาหารไทยในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในนาม Chat Thai ซึ่งมีการทำไร่ออร์แกนิกที่ไบรอนเบย์อยู่แล้ว จึงได้นำประสบการณ์มาทำไร่ออร์แกนิกปลูกพืชหมุนเวียนในที่ดินแห่งนี้ โดยนำวัตถุดิบบางส่วนส่งกลับไปใช้ที่ร้านอาหารในออสเตรเลียด้วย ทั้งยังมีร้านอาหารเปิดให้บริการแก่คนทั่วไปในพื้นที่ของไร่พลิศา พร้อมกับวางผังตรงกลางให้เป็นบ้านส่วนตัว รายล้อมไปด้วยความสดชื่นของไม้ดอกและไม้ใบตามความชอบ

ต้นทองอุไรออกดอกสวยสีเหลืองต้อนรับผู้มาเยือน เป็นต้นไม้ที่ชอบแดด ไม่ชอบน้ำขัง ออกดอกได้ทั้งปี
บ้านสไตล์โรงนา
บ้านสไตล์โรงนา หลังนี้ เป็นอาคารสีเทาเข้มเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ในพื้นที่ไร่พลิศา ห่างจากตัวเมืองหัวหินไปราว 20 นาที
บ้านสไตล์โรงนา
ผนังทึบ ช่องเปิด และผนังโปร่ง เรียงตัวสลับกันเป็นจังหวะของบ้านที่ทอดตัวยาว

ลักษณะของบ้านจึงมีโครงสร้างที่คล้ายกับอาคารทางกสิกรรม แต่ทำการยกสูงแบบใต้ถุนไทยให้เหมาะกับเขตร้อน บนเนินที่มีความสูง 3 เมตร จากระดับถนนปกติ สถาปนิกผู้ออกแบบคุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ แห่ง Physicalist ได้นำเสนอแนวคิดการเปิดช่องว่างเพื่อให้รับกับวิวและสายลมได้เต็มที่ วางแนวอาคารทอดตัวยาวรับด้านพระอาทิตย์ขึ้นเป็นด้านห้องนอนของคุณตุ๋ย ด้านพระอาทิตย์ตกเป็นด้านห้องนอนของคุณเทิดน้องชายคุณตุ๋ย และห้องนั่งเล่นอยู่ปลายอีกด้าน

บนชั้นที่สองของบ้านมองออกไปยังห้องนั่งเล่นซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกในยามบ่ายคล้อย ไกลออกไปเป็นวิวภูเขาที่ไม่มีอะไรกั้น

ทั้งหมดเชื่อมกันด้วยทางเดินยาว ทำหน้าที่สร้างความไหลลื่นให้กับทางสัญจรและให้อากาศถ่ายเท ภายใต้หลังคาขนาดใหญ่ซึ่งยื่นออกไปจากตัวชั้นสอง 2.5 เมตร เมื่อดูจากแปลนเราก็จะเห็นผนังทึบ ผนังโปร่ง และช่องเปิด เรียงสลับกันไปอย่างลงตัว การเปิดประตูออกจากห้องสู่พื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ใต้ชายคา จึงเหมือนการเปิดประตูสู่พื้นที่สีเขียวของไร่ในทันที

ห้องนั่งเล่นในช่วงเย็น เป็นห้องที่สมาชิกในบ้านหลังนี้ใช้นั่งเล่นเป็นประจำ ดูโปร่งตาด้วยกระจกรอบห้องเสมือนภายนอกเป็นส่วนหนึ่งของห้องนี้ด้วย

โครงสร้างที่ช่วยบังแดดเป็นชั้นๆ ลงมาเห็นได้ชัดเจนจากหลังคา โครงสร้างชั้นสองที่ช่วยบังแดดชั้นล่าง และระแนงที่ช่วยกรองแสงอีกชั้น

ชั้นล่างที่เป็นชั้นใต้ถุน เป็นโครงสร้างปูน มีครัวที่ใหญ่เผื่อไว้รองรับแขก แต่ก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายและมีความเป็นไทย สะดวกต่อการดูแลรักษา ป้องกันความชื้นต่างจากชั้นบนและหลังคาซึ่งเป็นเหล็ก และมีพื้นที่เล็กกว่าเพื่อใช้โครงสร้างของชั้นสองเป็นตัวช่วยบังแดดให้ “เหมือนเป็นบ้านของเกษตกร อาคารกลมกลืนไปกับบริบทเกษตรกรรม

ครัวด้านหน้าเป็นบานกระทุ้งเปิด ดัดแปลงมาจากโช้คของรถยนต์เพื่อช่วยรับแรง

ตัวบ้านในยามเย็น เหมือนบ้านไทยใต้ถุนสูงที่ดูโปร่งเบาด้วยโครงสร้างเหล็กด้านบนซึ่งมีความบาง เป็นเปิดโล่งในบางส่วน
ตัวบ้านในยามเย็น เหมือนบ้านไทยใต้ถุนสูงที่ดูโปร่งเบาด้วยโครงสร้างเหล็กด้านบนซึ่งมีความบาง เป็นเปิดโล่งในบางส่วน
โครงสร้างที่ช่วยบังแดดเป็นชั้นๆ ลงมาเห็นได้ชัดเจนจากหลังคา โครงสร้างชั้นสองที่ช่วยบังแดดชั้นล่าง และระแนงที่ช่วยกรองแสงอีกชั้น
ห้องนอนของคุณตุ๋ยเจ้าของบ้านในช่วงค่ำ ภายในเน้นความเรียบง่าย รับวิวธรรมชาติ
บ้านสไตล์โรงนา
บ้านไร่ดูสงบเป็นส่วนหนึ่งของไร่ปลอดสารโดยรอบ กับโครงหลังคาจั่วขนาดใหญ่เหมาะกับอากาศในเขตร้อน    

บ้านสไตล์โรงนา

บรรยากาศยามพระอาทิตย์ตกที่บ้านไร่กลางไร่พลิศา โดยมีบ้านที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับวิวความสวยงามนี้

บ้านสไตล์โรงนา
ยามโพล้เพล้ท่ามกลางธรรมชาติและตัวบ้านที่เป็นส่วนหนึ่งของบริบทเกษตรกรรม ผู้อยู่อาศัยสามารถชื่นชอบกับทองอุไร พืชไร่ที่อยู่ด้านนอก และทิวเขารอบตัว

…ตัวอาคารแทบไม่พูดอะไร แต่บริบทนั่นคือสาระ” คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ กล่าวถึงแนวคิดและภาพที่ต้องการให้เป็น สถาปัตยกรรมบ้านไร่ที่เห็นจึงใช้ความรู้และความงามในสัดส่วนที่พอเหมาะพอดี มาตอบสนองฟังก์ชั่นการใช้งานอย่างตรงไปตรงมา แต่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศท่ามกลางความเป็นธรรมชาติร่ายรอบตัวอันสวยงาม

เจ้าของ: คุณอมรรัตน์ จันต๊ะ
ออกแบบ: Physicalist โดยคุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์  
เรื่อง: สมัชชา วิราพร
ภาพ: ศุภกร ศรีสกุล