วัสดุสร้างบ้าน

3 แบบบ้านที่เพิ่มความพิเศษให้กับบ้านด้วยลูกเล่นของวัสดุแต่งบ้าน

วัสดุสร้างบ้าน
วัสดุสร้างบ้าน

เมื่อพูดถึงการออกแบบบ้านแล้ว การใช้ดีไซน์อย่างเรียบง่ายด้วย วัสดุแต่งบ้าน ที่หาได้ทั่วไปมาเป็นองค์ประกอบ ในการออกแบบตกแต่งบ้านดูจะเป็นบ้านที่ได้รับความนิยม เข้าถึงง่าย สามารถสร้างสรรค์ให้มีรูปแบบสวยงาม ในราคาที่ไม่แพงเกินไป

ในหนังสือ “บ้านธรรมดาเป็นพิเศษ” ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน มีการรวบรวมบ้านที่มีรูปแบบเรียบง่าย แต่มีการใส่รายละเอียดให้เกิดความโดดเด่น สวยงาม และได้ประโยชน์ใช้สอยเฉพาะตัว สร้างเอกลักษณ์ให้กับบ้านไม่ซ้ำแบบใคร โดยนำเอา วัสดุแต่งบ้าน ที่มีพื้นฐานการผลิตทีละมาก ๆ เช่น อิฐมอญ บล็อกซีเมนต์ เหล็กฉลุ มาเรียงร้อยใหม่ ทำให้เกิดภาษาที่แปลกตาเฉพาะตัวแต่ละบ้าน ดีไซน์เป็นผนัง ฟาซาด ฯลฯ ทั้งหมดนี้สามารถทำให้บ้านหลังใหม่มีคุณค่าเฉพาะตัวขึ้นมาได้ ลองมาดูไอเดียบ้าน 3 หลังนี้ ว่ามีการออกแบบด้วยแนวคิดนี้อย่างไรให้บ้านดีไซน์ธรรมดาดูไม่ธรรมดาขึ้นมา

ถ้ำลับของคนรักงานอดิเรก

เจ้าของ : คุณชาตรี อำมาตริยกุล
ออกแบบ : คุณคำรน สุทธิ จากบริษัท อีโค่ อาร์คิเทค

บ้านในจังหวัดภูเก็ตหลังนี้ของ คุณชาตรี อำมาตริยกุล สร้างแยกออกมาจากบ้านหลังใหญ่ แต่ก็มีฟังก์ชันการใช้งานครบครันเหมือนบ้านทั่วไปหลังหนึ่งเลยทีเดียว  เจ้าของบ้านตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อเติมเต็มความชอบในงานอดิเรกสุดโปรดอย่างการซ่อมเครื่องยนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรือหรือมอเตอร์ไซค์ โดยมีสถาปนิกคู่ใจ คุณแก้ว – คำรน สุทธิ จากบริษัท อีโค่ อาร์คิเทค มาช่วยทำให้บ้านหรือ “ถ้ำ” แห่งนี้ตรงใจเจ้าของบ้านมากที่สุด

บ้านหลังนี้ใช้เวลาออกแบบเพียง 1 เดือน และก่อสร้างอีกเพียง 3 – 4 เดือนเท่านั้น แม้ว่ามองเผิน ๆ บ้านจะดูเหมือนบ้านธรรมดา แต่ถ้าเข้ามาด้านในจะพบกับดีเทลที่ไม่ธรรมดาเลย เพราะบรรจุสิ่งจำเป็นเอาไว้ครบถ้วน ในงบประมาณเพียงหนึ่งล้านบาทเท่านั้น โดยมีพื้นที่เวิร์คชอปขนาด 5 x 6.7 เมตร เป็นพระเอกของบ้าน และเปิดโถงโล่งไปจนถึงชั้นสอง คุณแก้วอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่า

“ในเมื่อกิจกรรมหลักของเจ้าของบ้านคือการซ่อมเครื่องยนต์ สิ่งที่ตามคือเรื่องฝุ่นละออง ที่สำคัญคือเมื่อซ่อมเครื่องยนต์จะเปิดเครื่องปรับอากาศไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทำพื้นที่เปิดโล่งและระบายอากาศได้ดีจะช่วยให้เจ้าของบ้านทำงานอดิเรกได้อย่างเพลิดเพลิน บวกกับการทำพื้นและผนังปูนเปลือยขัดมันยังช่วยเสริมลุคให้เข้ากับกิจกรรมแมน ๆ โดยยังคงควบคุมงบประมาณให้ออกมาได้พอดี”

นอกจากนี้ยังมีนำแสงธรรมชาติและลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สถาปนิกออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่ไว้ระบายอากาศ แล้วทำผนังให้ลมและแสงสามารถลอดผ่านได้โดยนำก้อนอิฐมอญมาเรียงแบบตะแคงสับหว่างกัน ทำมุม 45 องศา เป็นเทคนิคที่ช่วยกันละอองฝนไม่ให้สาดเข้ามาถึงภายใน แถมทำชายคาให้ยื่นออกไปรอบบ้านด้านละ 1 เมตร บ้านหลังนี้ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน แถมยังตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกด้าน ความสำเร็จส่วนหนึ่งก็มาจากเจ้าของบ้านที่มีความเข้าใจเรื่องสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี

รายละเอียดเล็กน้อยอย่างผนังช่องลม ที่เกิดจากการนำอิฐมาเรียงแนวเฉียง ทำให้บ้านเย็นตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ การวางอิฐทำมุม 45 องศา นอกจากจะทำให้ลมพัดผ่านเข้าออกได้เป็นอย่างดียังช่วยป้องกันฝนสาดเข้าไปในอาคารได้ด้วย

หลังที่ 2