TYPE-THAI

type-thai-02

Paul Claudel กวีชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า “The secret of type is that it speaks.” หากเป็นเช่นนั้น คงไม่มีอะไรจะส่งสำเนียงความเป็นไทยได้ชัดถ้อยชัดคำมากไปกว่าตัวอักษรไทยของเราเอง ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ภาษาไทยถือกําเนิดและวิวัฒนาการไปตามความเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและกระแสความนิยมในแต่ละยุคสมัย ไม่ใช่เพียงแต่ในแง่มุมของภาษาศาสตร์ แต่ยังรวมไปถึงรูปแบบของตัวอักษรที่ได้รับการ ออกแบบขึ้นอย่างหลากหลาย ทําให้วันนี้ตัวอักษรไทยเป็นมากกว่าสื่อกลางในการจดบันทึกและสื่อสาร แต่กลับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างอัตลักษณ์แบบ “ไทยไทย” ในงานดีไซน์ได้อีกด้วย

ตลอด 730 ปีที่ผ่านมา ตัวอักษรไทยเดินทางผ่านยุคศิลาจารึกมาถึงยุคของสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน พ่อขุนรามคําแหงทรงประดิษฐ์ “ลายสือไทย” ข้ึนโดยได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรของอินเดียฝ่ายใต้ ขอม และมอญ แต่กว่าระบบตัวอักษรจะลงตัวใกล้เคียงกับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็กินเวลาล่วงมาถึงในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

01 Bangkok Recorder หรือ “หนังสือจดหมายเหตุฯ” หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก 02 ฟ้อนต์ตัวพิมพ์ไทยในยุคหมอบรัดเลย์  03 หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ผู้ทําให้การพิมพ์หนังสือภาษาไทยเริ่มแพร่หลาย  04 ฟ้อนต์ Helvetica สุดคลาสสิกจากยุค 60 ซึ่งเป็นที่นิยมของกราฟิกดีไซเนอร์และเป็นต้นแบบของ "มานพติก้า"  05 ฟ้อนต์ “ดีบีมานพติก้า” ของค่าย DB เป็นการนําฟ้อนต์ต้นฉบับมาปรับปรุงอีกครั้ง
01  Bangkok Recorder หรือ “หนังสือจดหมายเหตุฯ” หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก
02  ฟ้อนต์ตัวพิมพ์ไทยในยุคหมอบรัดเลย์
03  หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ผู้ทําให้การพิมพ์หนังสือภาษาไทยเริ่มแพร่หลาย
04  ฟ้อนต์ Helvetica สุดคลาสสิกจากยุค 60 ซึ่งเป็นที่นิยมของกราฟิกดีไซเนอร์และเป็นต้นแบบของ “มานพติก้า”
05  ฟ้อนต์ “ดีบีมานพติก้า” ของค่าย DB เป็นการนําฟ้อนต์ต้นฉบับมาปรับปรุงอีกครั้ง

 

เมื่อคณะมิชชันนารีผู้เผยแผ่ศาสนาได้เริ่มเดินทางเข้าสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับวิทยาการใหม่ ๆ ของชาติตะวันตก ซึ่งรวมไปถึงระบบการพิมพ์หนังสือ โดยในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์ Bangkok Recorder หรือ “หนังสือจดหมายเหตุฯ” หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกซึ่งช่วยจุดประกายให้การพิมพ์หนังสือภาษาไทยในเมืองไทยเริ่มแพร่หลาย เทคโนโลยีการพิมพ์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากแม่พิมพ์ไม้แกะสลักกลายเป็นตัวพิมพ์ตะกั่วในระบบเรียงพิมพ์ (Letter Press) แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีรูปแบบตัวอักษรและขนาดให้เลือกไม่กี่แบบ

จนมาถึงในพ.ศ.2510 ระบบการพิมพ์แบบออฟเซตเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแวดวงการพิมพ์ จึงมีการออกแบบตัวอักษรลอกสําหรับการทําอาร์ตเวิร์คในหลากหลายสไตล์และขนาด อย่างที่รู้จักกันดี คือตัวพิมพ์ “มานพติก้า” ออกแบบโดย คุณมานพ ศรีสมพร ซึ่งมีบุคลิกคล้ายกับ “Helvetica” ที่แสนโด่งดัง ชุดตัวอักษรน้ีเป็นต้นแบบของการประดิษฐ์อักษรไทยให้มีกลิ่นอายฝรั่งอย่างชัดเจน ซึ่งได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้การออกแบบสื่อในยุคน้ันเป็นอย่างมาก

 

วงการสิ่งพิมพ์ได้พลิกโฉมอีกครั้งอย่างจริงจัง เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวเข้ามาแทนที่ระบบการพิมพ์ยุคเก่า ในช่วงปี พ.ศ.2530 ตัวพิมพ์ตะกั่วที่มีข้อจํากัดมากมายถูกแทนที่ด้วยซอฟต์แวร์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ใครจะออกแบบตัวอักษรรูปแบบใดก็ทำได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ตัวพิมพ์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ฟ้อนต์” กลายเป็นส่วนสําคัญหลักสําหรับวงการสิ่งพิมพ์ท้ังในโลกธุรกิจและโลกศิลปะ ฟ้อนต์ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความหมาย ภายใต้รูปลักษณ์ที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทที่ผู็ออกแบบต้องการ ทฤษฎีศิลป์อาจช่วยอธิบายปรากฏการณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเรามองฟ้อนต์ท่ีแตกต่างกัน ฟ้อนต์ตัวใหญ่หนาทําให้เรารู้สึกว่าตัวอักษรกําลังตะโกนพูดกับเรา ในขณะที่ฟ้อนต์เฉียบบางไม่มีหัวบ่งบอกความโมเดิร์นที่เป็นสากล

 

type-thai-04

ในขณะเดียวกัน หากเรามองว่าตัวอักษรเป็นหน่ึงในองค์ประกอบทางกราฟิก ช่วยเติมกลิ่นอายความเป็นไทยในงานออกแบบ ความเป็นไปได้ในการใช้งานก็คงไม่มีลิมิตอีกต่อไป ไม่เพียงแต่ในงานสื่อสิ่งพิมพ์หรือบรรจุภัณฑ์ แต่ยังรวมไปถึงการตกแต่งภายใน เราอาจเลือกใช้ตัวอักษรโดยไม่ต้องคำนึงถึงความหมาย แต่เน้นการเลือกใช้รูปทรงท่ีสะท้อนเอกลักษณ์ของตัวอักษรไทยในสไตล์ต่างๆ เพื่อสร้างคาแร็คเตอร์ให้กับมุมโปรดในบ้าน

นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ก็ทําให้ผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรไม้หรือเหล็ก รูปทรงนูนสูงหรือนูนต่ำ การเพ้นต์สีหรือติดวอลล์เปเปอร์ ไม่ว่าจะวิธีไหนก็ตาม สิ่งสําคัญท่ีสุดคงเป็นการคัดเลือกฟ้อนต์ท่ีเหมาะสมในเชิงศิลปะท้ังด้วยรูปแบบและขนาดเมื่อเทียบกับสเปซ อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบันจะมีฟ้อนต์หน้าตาหลากหลายให้เราเลือกดาวน์โหลดฟรี แต่ก็ยังมีฟ้อนต์เก๋ๆอีกมากมายที่เป็นฝีมือคนไทยให้เราช่วยกันอุดหนุนมาใช้งานโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ลองแวะไปชมก่อนช็อปได้ท่ี www.dbfonts.biz, www.fontpsl.com

type-thai-05

 


 

เรื่อง : Mone
ภาพ : นันทิยา, แฟ้มภาพอมรินทร์, เอกสารประชาสัมพันธ์