BAB2020

ปฐมบทแห่ง บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 (ครั้งที่ 2) และ บทสรุปจาก ปี 2018

BAB2020
BAB2020

หลังจากที่ปิดฉากไปอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2019 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 (Bangkok Art Biennale 2018 หรือ BAB 2018)นั้นเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์และประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย ที่ศิลปินจากทั่วโลก จาก 34 ประเทศได้นำผลงานศิลปะจากทั่วโลกมากว่า 200 ชิ้นมาจัดแสดงในสถานที่สำคัญต่าง 20 แห่งทั่วกรุงเทพ สร้างความสุขให้สะพรั่งทั่วกรุงเทพฯ

(ภาพด้านบน ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ในงานเสวนา Symposium 2019 Beyond BAB เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา)

โดย บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 ที่ผ่านมา ได้หัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนโปรเจคศิลปะระดับโลกเช่นนี้ ซึ่งในระยะเวลาการจัดงานไม่ถึง 4 เดือน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้อย่างคึกคัก สร้างเงินสะพัดกว่า 4,500 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา baanlaesuan.com ได้มีโอกาสพูดคุยแบบ Exclusive กับ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการ และ ผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ถึงความสำเร็จที่ผ่านมาของ BAB 2018 และ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น BAB 2020 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 2  ของเทศกาลนี้

ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ในนามที่ปรึกษากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เล่าให้เราฟังว่า

“ทางบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่สำคัญในการที่จะช่วยกันบอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมายังประเทศไทย โครงการ บางกอกอาร์ต เบียนนาเล่ จึงเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของกรุงเทพ ในวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากกลุ่มศิลปิน ประชาชน และนักท่องเที่ยวผู้ที่รักงานศิลปะ ตลอดระยะเวลาของการจัดงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018” (Bangkok Art Biennale) อย่างต่อเนื่อง 4 เดือน ในครั้งนี้ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเข้าชมงานกว่า 3 ล้านคน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนมากกว่า 1.44 ล้านคน คณะเอกอัครราชทูต ทูตวัฒนธรรม และครอบครัวจากกว่า 20 ประเทศ หน่วยงานศิลปะ สมาคมโรงแรม พิพิธภัณฑ์ แกลลอรี่ ศิลปินจากทั่วโลก ทำให้มีเงินสะพัดกว่า 4,500 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยรายละเอียดการเข้าชมแต่ละสถานที่ จำนวนคนเข้าชมงานศิลปะเฉลี่ยทั้ง 20 สถานที่ มากกว่า 45,000 คน  ต่อวัน จำนวนผู้เข้าชมงาน BAB ที่ BACC (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) ตั้งแต่วันเปิดถึงปลายเดือนมกราคม 2562 มีมากกว่า 260,000 คน มีสถาบันการศึกษามากกว่า 80 สถาบันที่ขอเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ รวมไปจนถึงนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลังจากมีงานศิลปะ BAB เข้าไปติดตั้ง อย่างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร มีจำนวนนักท่องเที่ยว 255,278 คน วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร มีจำนวนนักท่องเที่ยว 364,060 คน วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร มีจำนวนนักท่องเที่ยว 55,808 คน ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมรวมทั้ง 3 วัด รวมนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติเฉลี่ยมากกว่า 11,000 คนต่อวัน เฉพาะชาวต่างชาติเฉลี่ยมากกว่า 6,000 คนต่อวัน สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่จัดงาน โดยงานนี้เรายังมี  BAB BOX (One Bangkok) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ One Bangkok โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์รวมการจัดงาน และข้อมูลข่าวสารหลักเกี่ยวกับการจัดงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่” ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศิลปิน ชิ้นงานศิลปะ การเดินทางชมงาน พื้นที่ติดตั้งแสดงผลงาน โดยในส่วนของกระแสตอบรับจาก Media ทั้งไทยและต่างประเทศที่มีต่อ BAB ได้รับการตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง Media ต่างประเทศที่ให้ความสนใจลงใน New York Times, Strait Times, The Guardian, CNN, Reuters, Bloomberg เป็นต้น และมีผู้พบเห็นข่าวสารทาง Social Media 47.2 ล้านคนทั่วโลก และคนพูดถึงใน Social Media ถึง 16 ล้านคน (ไม่รวมยอดคนติดตามของ influencer นั้น ๆ)

นอกจากนี้ เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 (Bangkok Art Biennale) ยังติดอันดับ Top 10 ART ASIA PACIFIC ALMANAC 2019 ที่จัดโดย ArtAsiaPacific Magazine (AAP) และยังได้รับ รางวัลประกาศเกียรติคุณ “สุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561” ประเภทเหตุการณ์สำคัญแห่งปี โดยรับมอบจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกด้วย ท้ายนี้อยากเชิญชวนผู้ที่สนใจงาน BAB รอชมความยิ่งใหญ่ที่จะถูกจัดขึ้นในทุก ๆ สองปี โดยจะมีขึ้นอีกครั้งในปี 2020 ความสำเร็จที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการผสานความร่วมมือ ร่วมใจของเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน ซึ่งต้องขอขอบคุณที่รวมพลังกันผลักดันให้ประเทศของเราถูกขนานนามให้เป็นศูนย์กลางแห่งเมืองศิลปวัฒนธรรมระดับโลก“

สรุปตัวเลข และ สถิติสำคัญของงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018

  • บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับทั้งภาครัฐ และ เครือข่ายพันธมิตร บริษัท ห้างร้าน อีกหลายภาคส่วน โดยมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 200 ล้านบาท
  • ตลอดระยะเวลาการจัดงานมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศเข้าชมงานกว่า 3 ล้านคน (แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจํานวนมากกว่า 1.44 ล้านคน คณะเอกอัครราชทูต ทูตวัฒนธรรม และครอบครัวจากกว่า 20 ประเทศ หน่วยงานศิลปะ สมาคมโรงแรม พิพิธภัณฑ์ แกลลอรี่ ศิลปินจากทั่วโลก)
  • จํานวนคนเข้าชมงานศิลปะทั้ง 20 สถานที่จัดแสดงผลงาน เฉลี่ยแล้วมากกว่า 45,000 คน ต่อวัน
  • จํานวนผู้เข้าชมงาน BAB 2018 ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันเปิดถึงปลายเดือนมกราคม 2562 มีมากกว่า 260,000 คน มีสถาบันการศึกษา มากกว่า 80 สถาบันที่ขอเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ
  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร มีจํานวนนักท่องเที่ยว 255,278 คน, วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร มีจํานวนนักท่องเที่ยว 364,060 คน, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร มีจํานวนนักท่องเที่ยว 55,808 คน ซึ่งทําให้ มีจํานวนผู้เข้าชมรวมทั้ง 3 วัด รวมนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติเฉลี่ยมากกว่า 11,000 คนต่อวัน เฉพาะ ชาวต่างชาติเฉลี่ยมากกว่า 6,000 คนต่อวัน
  • มีผู้พบเห็นข่าวสารทาง Social Media 47.2 ล้านคนทั่วโลก และคนพูดถึงใน Social Media ถึง 16 ล้านคน (ยังไม่นับยอดรวมของ Influencer)
    *อ้างอิง : สถิติข้อมูลตัวเลขทั้งหมดจากทีมงานโครงการ BAB ลงพื้นที่สํารวจแต่ละสถานที่

 

 

 

 

(เครดิตภาพ Graphic จาก Bangkok Art Biennale)

เมื่อถามถึงการจัดงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะทำงานได้เริ่มเตรียมงานสำหรับปีหน้าแล้ว ซึ่งใน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020  ศิลปินที่จะมาร่วมในครั้งนี้ จะไม่ซ้ำกับ ศิลปินใน BAB 2018 เลยแม้แต่คนเดียว แต่อย่างไรก็ตามทางทีมงานยังคงแนวคิดการผสมผสานระหว่างศิลปินไทย และ ต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งระดับ Big Name และ ศิลปินรุ่นใหม่จากทั่วโลก ซึ่งการเปิดรับสมัครศิลปินเข้าร่วมแสดงงานแบบสาธารณะ หรือ Open Call For Artist จะยังมีอยู่เช่นเดียวกับปี 2018 (ศิลปินท่านใดสนใจเตรียมตัวส่ง Portfolio มาให้ทีม ภัณฑารักษ์ ของบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ พิจารณาได้ในช่วงต้นปี 2020… ไม่แน่คุณอาจจะได้เป็นหนึ่งในศิลปิน BAB 2020)

“และสิ่งที่ BAB 2020 จะแตกต่างจาก BAB 2018 นั้น คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่จะขยายออกไปนอก กรุงเทพ มากขึ้น ตอนนี้เราได้วางแผนกิจกรรมไว้หลายรูปแบบ ทั้งกิจกรรม Road Show หรือ BAB Talk หรือ การบรรยายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้คนที่รักศิลปะ ซึ่งอาจจะไม่เก่งในการสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่ถนัดในเรื่องอื่นๆ เช่น การจัดการ การสื่อสาร  การดูแลผลงาน ได้ทราบว่ามีบทบาทหน้าที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับพวกเขาที่จะได้ก้าวเข้ามาทำงานในวงการศิลปะ หรือ ได้เข้ามาร่วมกับ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ” ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์  กล่าว

เมื่อมีความคืบหน้าใดๆของ เทศกาลศิลปะนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2020 เพิ่มเติม baanlaesuan.com จะรายงานให้ท่านทราบก่อนก่อนใคร

 

ตัวอย่างกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน BAB 2018

Elmgreen & Dragset in Bangkok Art Biennale 2018

Elmgreen & Dragset ศิลปิน มินิมอล ระดับโลก ชวนมาปาร์ตี้ริมสระน้ำ ใน Bangkok Art Biennale 2018

พิเชษฐ์ กลั่นชิ่น ใน ทรง 4.0 บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018

พิเชษฐ กลั่นชื่น ร่างทรง องค์ใหม่ ลงประทับแล้ว ในงาน BAB (Bangkok Art Biennale 2018)

 

Marina-Abramovic-Symposium-in-Bangkok-0009

เรากำลังใช้ชีวิต หรือ กำลังแสดง? งานเสวนาเต็มรูปครั้งแรกในประเทศไทยของ มารีนา อบราโมวิช

'The State of Suffering (Mental Therapy)' ผลงานศิลปะจัดวางของ อ.สุนันทา ผาสมวงศ์

8 พฤศจิกายน 2561- คณะทัวร์จากประเทศเกาหลี พร้อมล่าม ขณะกำลังชม “The State of Suffering (Mental Therapy)” ผลงานศิลปะจัดวางของ อ.สุนันทา ผาสมวงศ์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาสำคัญของประเทศไทยที่แสดงให้เห็นถึงการใช้เทศกาลศิลปะร่วมสมัยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างเป็นรูปธรรม ดูเพิ่มเติมได้ที่ภาพเล่าเรื่องใน Bangkok Art Biennale 2018 (Photo Essay)

 

BAB Workshop บ้านและสวนแฟร์ 2018 Massclusive

BAB Workshop กิจกรรมสอนทำภาพพิมพ์ กลับมาตามคำเรียกร้อง ในงาน บ้านและสวนแฟร์ 2018 “Massclusive”

 

กวิตา วัฒนะชยังกูร

Knit เมื่อสุนทรียภาพแห่ง ศิลปะการแสดงสด ถักทอเข้ากับ การจิบชายามบ่าย

 

เรื่อง และ ภาพ สิงหนาท นาคพงศ์พันธุ์

 


เป็นเพื่อนกันเราได้ใน Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40slo7204x