เวฬา วาริน สถาปัตยกรรมยุคสงครามโลกที่รีโนเวตเป็นบูติกโฮเทลสไตล์อีสานอินเตอร์

การรีโนเวตบ้านไม้เก่ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลายเป็นบูติกโฮเทล โดยรักษาฟาซาดเดิมไว้ แต่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและฟังก์ชันใหม่ เพื่อต่อลมหายใจให้อาคารยังคงแสดงเอกลักษณ์และบอกเล่าความเป็นมาในอดีตได้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: SuperGreen Studio วารินชำราบ ย่านเจริญในยุคสงคราม ‘วารินชำราบ’ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานอีกทั้งที่นี่ยังเคยเป็นหนึ่งในพื้นที่ตั้งฐานทัพอากาศอุบล (Ubol Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517 ของหน่วยทหารสหรัฐสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้วารินชำราบในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งเปรียบได้กับย่านเจริญกรุงในปัจจุบัน และด้วยความเจริญดังกล่าวก่อเกิดเป็นชุมชมที่มีสถาปัตยกรรมที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคืออาคารไม้ทรงแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น บ้านไม้โบราณ ที่มีคุณค่า ‘โรงแรมเวฬา วาริน เป็นโครงการที่ตั้งใจออกแบบให้ไปไกลว่าคำว่าร่วมสมัย แต่ต้องการให้ที่นี่นั้น Timeless คือไม่จำเป็นต้องมารีโนเวตบ่อยครั้ง นอกจากนั้นเรายังใช้แสงและเงามาใช้มากกว่าเป็นการให้แสงธรรมชาติกับอาคาร แต่ตั้งใจใช้แสงและเงาสร้างความรู้สึกตามแนวความคิดในการออกแบบอย่าง ‘ทวิภพ’ ครับ’ คุณวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Before VELA WARIN ก่อนจะกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน […]

คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์

สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]

THIEN DUONG ลิ้มรส อาหารเวียดนาม ในบรรยากาศโกดังยาทัมใจเก่าอายุเกือบร้อยปี

เเวะมาหลบร้อนเเละรับประทาน อาหารเวียดนาม เเท้ ๆ กันที่ “เธียนดอง” การันตีความอร่อยโดยเชฟมาตรฐานระดับโรงเเรม บนที่ตั้งของโรงงานยาทัมใจเก่ากลางย่านศาลาเเดง ระหว่างรอการปรับโฉมใหม่ของโรงเเรมดุสิตธานี กรุงเทพ เพื่อเปลี่ยนเป็นโครงการมิกซ์ยูส ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ห้อง อาหารเวียดนาม ฉบับต้นตำหรับหนึ่งเดียวของโรงเเรมอย่าง “เธียนดอง” ได้ย้ายตัวเองมายังสถานที่แห่งใหม่ ภายใต้นามของ “บ้านดุสิตธานี” ไม่ไกลจากโรงเเรมเดิม โดยเป็นการเช่าพื้นที่บ้านเก่าอายุเกือบร้อยปีของตระกูลโอสถานุเคราะห์ เพื่อเปิดเป็น 1 ใน 3 ร้านอาหาร นอกเหนือจากดุสิตกูร์เมต์ เเละบ้านเบญจรงค์ ที่บริการโดยเชฟเเละพนักงานจากโรงเเรมดุสิตธานีฯ ทั้งหมด สำหรับร้านเธียนดอง ได้เลือกโกดังด้านหลังที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานผลิตยาทัมใจเป็นที่ตั้งของร้าน โดยปรับเปลี่ยนจากโกดังทึบตันให้เปิดโปร่งด้วยผนังกระจกขนาดใหญ่ เด่นสะดุดตากับประตูไม้เก่าสีน้ำเงินเข้มที่เพ้นต์ลวดลายหญิงชาวเอเชียสวมชุดเเบบยุโรป รับกับคอนเซ็ปต์การตกแต่งสไตล์เฟรนช์โคโลเนียล เพื่อสื่อถึงยุคสมัยที่เวียดนามถูกฝรั่งเศสยึดครอง ขณะที่โครงสร้างเเละองค์ประกอบอื่น ๆ ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี เช่น ผนังบางจุดที่ทุบไม่หมดเพื่อเผยให้เห็นร่องรอยของอิฐมอญ คานหลังคาที่ยังคงสภาพเเข็งเเรง หน้าต่างเหล็กดัดเก่า รูระบายอากาศบนผนังด้านบน รวมถึงสีเขียวซีดจางของผนัง เเละลายมือจดตัวเลขของคนงาน ที่ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของวันวานของโรงงานแห่งนี้เเบบไม่มีวันเลือนลาง นอกเหนือจากนั้นก็มีเพียงส่วนของพื้นที่ปูกระเบื้องใหม่ให้มีสีสันสดใส เเละการปรับเเผนผังให้เหมาะกับการเปิดร้านอาหาร เฟอร์นิเจอร์เลือกใช้สไตล์โคโลเนียลที่มาจากห้องอาหารเดิม เเละเฟอร์นิเจอร์หวาย เเขวนประดับภาพเพ้นต์วิถีชีวิตชาวเวียดนาม วอลล์เปเปอร์ลายทรอปิคัล […]

ผู้กำกับภาพยนตร์สายอินดี้ รีโนเวตตึกแถวเก่าให้เป็นบ้านสองบ้านในตึกเดียว

เขาจึงเกิดไอเดียอยากปรับฟังก์ชันแบบ รีโนเวตอาคารพาณิชย์ ที่เปิดหน้าบ้านโล่งด้วยกระจกติดกรอบอะลูมิเนียมเพื่อเน้นแสงสว่างเฉพาะแค่ด้านหน้า

1933 Old Millfun เซี่ยงไฮ้ใต้แสงเงาสลัวในอาคารคอนกรีตโบราณ

ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวที่มีมากมายและหลากหลายในเซี่ยงไฮ้นั้นคงไม่มีอาคารไหนจะแปลกและฮิปได้เท่ากับ 1933 Old Millfun หรือ Shanghai Slaughterhouse ได้อีกแล้ว ไม่ใช่แค่เพราะรูปทรงอาคารคอนกรีตสี่เหลี่ยมหน้าตาแปลกๆ ของ 1933 Old Millfun เท่านั้น ที่น่าสนใจก็คืออาคารแห่งนี้เคยเป็นหนึ่งในโรงฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย แต่ปัจจุบันกลายเป็นอาคารเท่ๆ ที่มีมุมถ่ายภาพแปลกๆ ภายใต้แสงสลัวและชวนให้ค้นหายิ่งนัก   สถาปัตยกรรมแปลกประหลาด อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1933 โดยได้รับทุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่ง Balfours นักออกแบบชื่อดังชาวอังกฤษออกแบบไว้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้นสไตล์อาร์ตเดโคที่ผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออกไว้ด้วยกันในพื้นที่ประมาณ 31,700 ตารางเมตร และใช้งบประมาณในการสร้างสูงถึง 33 ล้านกว่าตำลึง (สกุลเงินจีนสมัยนั้น) เพราะต้องขนวัตถุดิบหลักสำหรับทำคอนกรีตจากประเทศอังกฤษ มาก่อให้เป็นผนังหนาราว 50 เซนติเมตร เพื่อคงรักษาอุณหภูมิความเย็นภายในอาคารไว้ มีเพียงหน้าต่างด้านนอกและสกายไลท์เท่านั้นที่เป็นช่องทางให้แสงผ่านเข้ามาได้ รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสภายนอกอาคารมีเสาทรงกลมที่มาจากความเชื่อของชาวจีนที่ว่า ‘โลกเป็นทรงจตุรัสและท้องฟ้าเป็นทรงกลม’ และภายในอาคารใช้เสาโกธิคขนาดใหญ่กว่า 300 ต้นกระจายอยู่ทั่วอาคารทรงจตุรัสซึ่งมีเพดานเป็นเหมือนหมวกทรงแปดเหลี่ยม และใช้เทคโนโลยีการทำพื้นแบบไร้รอยต่อซึ่งทันสมัยที่สุดในยุคนั้น โดยมีรายละเอียดอันโดดเด่นอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสะพานทางเดินเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ซึ่งมีอยู่ถึง 26 จุดด้วยความกว้างแตกต่างกันไปตามขนาดของสัตว์และเพื่อใช้ควบคุมความเร็วของการลำเลียงสัตว์ด้วย ทางลาดเอียงบางจุดก็ทำเทคเจอร์ไว้บนพื้นเพื่อป้องกันการลื่นไถล มีมุมหักเลี้ยวแปลกๆ เพื่อให้ผู้คุมสามารถเหวี่ยงตัวหลบได้ทันหากสัตว์เกิดหงุดหงิดและต่อสู้ขึ้นมา มีบันไดทั้งแบบแนวตรงและบันไดวนสไตล์ฝรั่งเศสซึ่งแทรกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ทำให้เส้นทางของที่นี่ดูลดเลี้ยวคดเคี้ยวเหมือนเดินอยู่ในเขาวงกตที่ชวนให้หลงทางกันได้ง่ายๆ […]

Trace Hotelistro โรงแรมใหม่ จากร่องรอยของอดีต

หาใครกำลังวางแผนไปเที่ยวเชียงใหม่ ต้องห้ามพลาดกับ Trace Hotelistro โรงแรมใหม่ ที่ออกแบบได้อย่างน่าสนใจในย่านท่าแพ แหล่งรวมงานดีไซน์ชั้นเยี่ยม

รู้จัก SAM รู้จักบ้านมือสอง

SAM ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงชื่อบุคคลแต่อย่างใดนะครับ หากคือ Sukhumvit Asset Management Co., Ltd. หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด นั่นเอง ในยุคที่โครงการเก๋ ๆ ซึ่งเกิดจากบ้านและอาคารเก่าผุดขึ้นมารายวัน ผมเชื่อเหลือเกินว่าชื่อของ SAM จะกลายเป็นเพื่อนคู่คิดของนักลงทุน หรือแม้แต่ผู้ที่ฝันจะมีบ้านกลางเมืองหรือคาเฟ่เท่ ๆ ในงบประมาณและทำเลที่คาดไม่ถึงอย่างแน่นอน ครั้งนี้เราจึงมาพูดคุยกับ SAM เผื่อทุกท่านจะได้รู้จักกันให้มากขึ้น Q : SAM คือใคร ทำอะไร A : SAM เป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบเศรษฐกิจของไทย พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นบริษัทที่ช่วยจัดการกับทรัพย์สิน หนี้เสีย โครงการที่มีปัญหาที่ดินรกร้าง บ้านมือสอง ฯลฯ ให้กลายเป็นทรัพย์สินพร้อมขายและสามารถสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ต่อไปหากเข้าไปในเว็บไซต์ของ SAM คุณจะได้พบกับรายการสินทรัพย์พร้อมขาย (NPA) ตั้งแต่ที่ดินเปล่า ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจ ห้างร้าน ไปจนถึงบ้านมือสองเลยทีเดียว   Q : อยากให้เปรียบเทียบข้อดีของบ้านมือสองกับบ้านมือหนึ่ง A : หลายคนจะกลัวคำว่า “บ้านมือสอง” ทั้งการเจรจาซื้อขาย กฎหมาย ไปจนถึงการตกแต่งซ่อมแซม เลยเลือกซื้อบ้านมือหนึ่งไปเลยก็แล้วกัน คล้ายกับซื้อรถใหม่ป้ายแดงเพราะกลัวต้องซ่อม […]