PRAMA ขนมผสมเนื้อผลไม้ ตอบโจทย์สุนัขสายเฮลตี้

ผักและผลไม้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับการเสริมสร้างร่างกายของมนุษย์ให้แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของสัตว์เลี้ยง อย่าง สุนัขด้วยเช่นเดียวกัน หากเลือกทานได้อย่างเหมาะสม เพราะ ถึงแม้ว่าผักและผลไม้ส่วนใหญ่จะมีสารอาหาร – วิตามินแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็ยังมีผัก-ผลไม้บางชนิด อย่าง องุ่น เชอร์รี่ ลูกพลัม ลูกแพร์ และลูกพรุน ที่หากสุนัขกินเข้าไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ ในผักและผลไม้มักจะมีปริมาณน้ำตาลสูง อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินได้ เจ้าของจึงไม่ควรให้สุนัขทานผัก-ผลไม้เกิน 5-10% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน เพื่อควบคุมความสมดุลทางโภชนาการ ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้ามีขนมที่ไม่ใช่แค่เพียงขนมธรรมดาทั่วไป แต่เป็นขนมที่ผลิตจากเนื้อไก่ แหล่งโปรตีนหลักของอาหารที่เหมาะสำหรับสุนัข ผสมผสานกับเนื้อผลไม้แท้ที่ช่วยเติมกลิ่นหอม เพิ่มรสชาติ และคุณค่าทางอาหารไว้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ตอบโจทย์คนรักสุนัขที่อยากให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดี   การจับคู่ที่ลงตัวของเนื้อไก่กับผลไม้แท้ 100% PRAMA™ Delicacy Snack ต้องการทำสิ่งที่แตกต่าง จึงได้คิดค้นและผลิตขนมที่ตอบโจทย์สำหรับคนรักสุนัขและใส่ใจเรื่องสุขภาพเป็นสำคัญ โดยการเลือกจับคู่วัตถุดิบระหว่างเนื้อไก่แท้เต็มชิ้น (Human Grade) ที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ไม่ต้องกลัวอ้วน กับเนื้อผลไม้แท้ 100% อย่าง บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ กล้วย เมลอน ฟักทอง […]

โรคหัวใจในสุนัข (Heart Disease)

โรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต คือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเป็นในสุนัขที่มีอายุมาก

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ บางแก้ว ดัลเมเชียน รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ […]

การเลือกอาหารลูกสุนัข เพื่อให้แข็งแรงและสุขภาพดี

การดูแลลูกสุนัขที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของบ้าน มีหลายเรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ การดูแลสุขภาพลูกสุนัขในเบื้องต้น หรือแม้แต่เรื่องการฉีดวัคซีน แต่สิ่งที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในการดูแลลูกสุนัขนั้น น่าจะเป็นเรื่อง การเลือกอาหารลูกสุนัข ให้เหมาะสม หลาย ๆ บ้านอาจจะคุ้นชินกับการให้อาหารคนกับสุนัขของเรา ทั้งข้าวคลุก หมูปิ้ง ตับย่าง ไก่ย่าง และอื่น ๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า อาหารเหล่านั้น เป็นอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมพัฒนาการของลูกสุนัข ดังนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญ ในการให้อาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยของการเจริญเติบโตของลูกสุนัข การเลือกอาหารลูกสุนัข แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่เลือก อาหารสูตรลูกสุนัข ก็เพียงพอ แต่จริง ๆ แล้ว มีรายละเอียดที่สำคัญกว่านั้น เพราะ ในแต่ละช่วงอายุของลูกสุนัขจะมีพัฒนาการ และความต้องการของสารอาหารที่ต่างกันออกไป เราจึงต้องเลือกอาหารที่มีปริมาณสารอาหารตามความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและเหมาะสม ลูกสุนัขมีการเติบโตเป็น 2 ช่วง ลูกสุนัขจะมีการเจริญเติบโตในช่วงก่อนโตเต็มวัยแบ่งเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ในช่วงแรกเป็นช่วงที่ลูกสุนัขจะโตเร็วมากในระยะเวลาอันสั้น คือ ช่วงประมาณแรกเกิดถึง 4 เดือนแรก และช่วงที่ 2 คือ หลัง 4 […]

ประโยชน์ของ “พรีไบโอติก” ต่อทางเดินอาหารของสุนัข

เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับนมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ตหลากหลายยี่ห้อที่บรรยายสรรพคุณถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลัส และคงจะสงสัยว่าจุลินทรีย์เหล่านั้นทำงาน ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ทำไมเราถึงต้องรับประทานนมเปรี้ยวกันด้วย แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่ร่างกายมนุษย์เท่านั้นที่มีจุลินทรีย์เหล่านี้ ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงของเราไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือสัตว์อื่น ๆ จุลินทรีย์เหล่านี้ก็มีบทบาทสำคัญมากเช่นเดียวกัน การศึกษาพบว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากมายในร่างกายของสุนัข โดยจริง ๆ แล้วจำนวนของพวกมันมากกว่าจำนวนเซลล์ของตัวสุนัขเองถึง 10 เท่าเลยด้วยซ้ำ และจุลินทรีย์เหล่านี้มีอยู่ในแทบทุกระบบของร่างกาย ทั้งบนผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ หรือ ทางเดินอาหาร จุลินทรีย์เหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์ของสุนัขหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบพึ่งพาอาศัยกัน หรืออยู่แล้วก่อโรค ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและปริมาณของเชื้อ โดยส่วนใหญ่มักจะก่อประโยชน์หากมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ตัวอย่างที่น่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุดน่าจะเป็น จุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เพราะเป็นประชากรหลักของจุลินทรีย์ในร่างกาย การที่เรากินโยเกิร์ตเข้าไป ก็เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และช่วยลดสัดส่วนของจุลินทรีย์ก่อโรคให้น้อยลง โดยจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยเรื่องการนำสารอาหารไปใช้ การทำงานของทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินอาหารด้วย เช่นจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารอาหารบางอย่างให้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้น ๆ (short-chain fatty acid; SCFA) เพื่อเป็นอาหารให้กับเยื่อบุผนังลำไส้ และตัวลำไส้เองก็จะผลิตเมือกเพื่อเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายนั่นเอง ที่น่าสนใจก็คือ จุลินทรีย์ในลำไส้ของกลุ่มสุนัขที่แข็งแรงปกติ และในกลุ่มที่เป็นโรคก็ยังมีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้นในอาการป่วยบางอย่างในสุนัข เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ลำไส้อักเสบจากไวรัส โรคมะเร็ง […]

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง

ในการทำงานทางคลินิก เราพบว่า “ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ” (Hyperadrenocorticism; ย่อว่า HAC) หรือ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)” เป็นหนึ่งในโรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสุนัข แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง กันให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับต่อมหมวกไตของสุนัขกันเสียก่อนดีกว่าครับ ว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด และมีหน้าที่การทำงานอย่างไรบ้าง ต่อมหมวกไตหรือ adrenal gland เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ที่มีตำแหน่งอยู่ในช่องท้องบริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตมีโครงสร้างสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ซึ่งแต่ละชั้นจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดให้กับร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย ซึ่งการเผาผลาญที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลการทำงานของฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ จะเป็นกระบวนการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการรับมือกับความเครียด (stress) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจากสภาพแวดล้อม ความเครียดจากการอยู่รวมฝูง หรือแม้แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกาย […]

โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)

โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)

สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สายพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่เก่าแก่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศข้างเคียง เริ่มแรกสุนัขพันธุ์นี้รู้จักในชื่อ comforter spaniels ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กสามารถพาไปข้างนอกได้สะดวก คริสต์ศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ปรากฏบนภาพพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ คิง ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสหราชอณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า พระองค์นั้นหลงใหลในสุนัขพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ถึงกับมอบพระนามให้ชื่อของพันธุ์นี้ โดยกษัตริย์นั้นอนุญาตให้พวกมันเดินไปมาไหนก็ได้ในราชวัง รวมถึงรัฐสภาด้วย ดังนั้นพวกมันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนัขชั้นสูง เป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูงในสมัยนั้น พวกมันได้รับความนิยมอย่างอย่างต่อเนื่องในประเทษอังกฤษ รวมถึงในราชวงศ์ด้วย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุนนางราชสกุลมาร์ลบะระแห่งอังกฤษที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิกับเชื้อพระวงศ์ ได้พัฒนาสายพันธุ์จนเกิดสีที่หลากหลาย และได้รับความนิยมในชนชั้นสูง ต่อมาได้มีการนำพวกมันไปผสมข้ามสายพันธุ์ จนเกิดเป็นคิง ชาลส์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน และได้ขึ้นทะเบียนในระบบ AKC ในช่วงปี 1996 ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล เป็นสุนัขขนนุ่ม บริเวณลำตัวและหูขนยาวปานกลาง […]

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) คาดว่ามีต้นกำเนิดมากจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1800 โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Parson John Russell เพื่อใช้ในการล่าสุนัขจิ้งจอก โดยคำว่า รัสเซล หมายถึง นักล่าจิ้งจอกตัวยง ในเวลาต่อมาด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว และรูปร่างกะทัดรัด จึงทำให้พวกมันเป็นสุนัขเลี้ยงที่โปรดปรานมากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาขี่ม้า และเป็นที่นิยมในอเมริกาในช่วงปี 1930 จากนั้นแจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียจึงกลายมาเป็นสุนัขที่มีความนิยมอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากต้นกำเนิดแม้จะผ่านมาแล้วกว่า 170 ปี นอกจากนี้ยังเชื่อว่า แจ็ค รัสเซล เทอร์เรีย เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อื่นอีก 3 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน เทอร์เรีย (The Parson Terrier), รัสเซล เทอร์เรีย (Russell Terrier) และ แจ็ค รัสเซลเทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) […]

โดเบอร์แมน พินสเชอร์ (Doberman Pinscher) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “โดเบอร์แมน พินสเชอร์” เริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ในประเทศเยอรมัน โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขในสมัยนั้นชื่อว่า นาย “หลุยซ์ โดเบอร์แมน” (Louis Dobermann) จากเมือง Apolda ในขณะนั้นนายหลุยซ์มีอาชีพเป็นพนักงานเก็บภาษีแล้วต้องเดินทางไปหลายสถานที่ เขาจึงมักเลี้ยงสุนัขไว้ทำหน้าที่อารักขาและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางขณะเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่านายหลุยซ์นั้นทำการเพาะพันธุ์สายพันธุ์นี้อย่างไร นักประวัติศาสตร์บางคนได้เสนอว่าที่มาของ “โดเบอร์แมน” อาจมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียร์ (Manchester Terrier) ร็อตไวเลอร์ (rottweiler) เยอรมัน ฟินสเชอร์ (German Pinscher) สุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนรุ่นแรกมีใบหน้ากว้าง และมีมวลกระดูกมากกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นหลัง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาให้มีลักษณะโครงสร้างที่ทันสมัยเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี 1899 และสุนัขโดเบอร์แมนตัวแรกถูกนำเข้าไปในอเมริกาในปี 1908 และเป็นปีเดียวกันที่พบว่ามีการจดบันทึกสายพันธุ์ในสมาคม AKC (America Kennel Club) ในช่วงศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกใช้ในการรบควบคู่กับนาวิกโยธินในการรบในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะสหายคู่ใจที่แน่วแน่และกล้าหาญ เมื่อเวลาผ่านไปหลายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาเริ่มเห็นว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถทำให้เกิดเป็นตระกูลใหญ่ได้ ต่อมาสายพันธุ์โดเบอร์แมนได้รับความนิยมอย่างมาก มักนิยมให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขตำรวจ รวมถึงสุนัขกู้ภัย […]

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า แลป) มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ของประเทศแคนนาดา และมีชื่อดั้งเดิมว่า เซนต์ จอห์น (St. John’s) พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันในภายในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวชาวประมง เพราะลาบราดอร์สามารถช่วยชาวประมงในการจับปลา ฉลาดมากพอที่จะปลดตะขออกจากปลาและแข็งแกร่งมากพอในการว่ายน้ำได้ระยะทางไกล และยังทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่รักโดยจะเดินกลับบ้านกับเจ้าของหลังจากเลิกงานได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นั้น เกิดจากการผสมระหว่างสุนัขสายพันธุ์ใด นักประวัติศาสตร์คาดว่า พวกมันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสุนัขนิวฟันด์แลนด์และสุนัขในท้องถิ่นอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ พวกมันเริ่มได้รับความนิยมเมื่อมีการนำลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์เข้ามาสู่เกาะอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยขุนนางในสมัยนั้นที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของพวกมัน เริ่มแรกเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ปีก ซึ่งบางครั้งการล่าสัตว์จำเป็นต้องเข้าไปในป่า มีความลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องเลือดสุนัขสายพันธุ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการค้นหาเหยื่อที่ถูกยิง แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลาบราดอร์ยังต้องนำเข้าจากประเทศแคนาดา ด้วยกฎหมายการเก็บภาษีที่แพงมาก ทำให้จำนวนของพวกมันจึงลดน้อยลงจนเกือบจะเลิกเพาะพันธุ์ แต่ในเวลาต่อมายังมีกลุ่มคนที่ยังคงสนใจสายพันธุ์นี้อยู่ จึงได้ริเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธ์ลาบราดอร์ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงสีดำเท่านั้น กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในภายหลัง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือสีครีมตามมา ซึ่งได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีความสามารถ สามารถเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่าสัตว์ อีกทั้งยังสามารถใช้พวกมันปฏิบัติการพิเศษ ในการตรวจค้นหายาเสพติด หรือทำการค้นหาระเบิด ตลอดจนกระทั่งสามารถช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ […]

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]

โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)

ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]

บ็อกเซอร์ (Boxer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ 1.สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 2.สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ 3.อิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา ชื่อ Atl Shecken ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ หรือสุนัขพันธุ์ Bier boxer และสุนัขชื่อ Atl Shecken […]