พอลล์ กาญจนพาสน์ ผู้ฝันอยากให้ เมืองทองธานี เป็นต้นแบบเมืองน่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป

หากใครเดินทางเข้าสู่ เมืองทองธานี จะเห็นได้ว่าพื้นที่แห่งนี้มีทุกอย่างครบพร้อมสำหรับการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต สมกับที่เรียกว่า ‘เมือง’ มีที่พักอาศัย ศูนย์การค้า สถานศึกษา โรงแรม พื้นที่พักผ่อนสันทนาการ ไปจนถึงศูนย์การแสดงสินค้าและงานคอนเสิร์ต อย่าง อิมแพ็ค อารีน่า และ อิมแพ็คชาเลนเจอร์ ทุกอย่างที่ก่อร่างสร้างขึ้นมาตลอด 20 กว่าปี ภายใน เมืองทองธานี เกิดขึ้นจากเป้าหมายที่ชัดเจนของผู้พัฒนาพื้นที่ที่คิดว่า “อยากให้มีคนเข้าออกเมืองนี้เยอะขึ้นจนรู้สึกว่าถ้ามาบ่อยขนาดนี้ ก็เข้ามาอยู่ที่นี่เสียเลยดีกว่า” มาถึงวันนี้เป้าหมายที่มากไปกว่านั้นของ คุณพอลล์ กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแล อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในปัจจุบัน คือการสร้างเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน บ้านและสวน จึงขอชวนคุณพอลล์นั่งลงบนโซฟาในโรงเรียนสอนทำอาหาร Lenôtre Culinary Arts School Thailand ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี แล้วพูดคุยกันถึง “เมืองน่าอยู่” ที่กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่โดยรอบ เมืองน่าอยู่ต้องยั่งยืน เมื่อถามถึงนิยามของเมืองน่าอยู่ คุณพอลล์บอกว่าเราสามารถตีความออกมาได้หลายรูปแบบ และแต่ละยุคสมัยก็ไม่เหมือนกัน สมัยก่อนเมืองที่น่าอยู่สำหรับบางกอกแลนด์ คือ […]

อารีย์ ย่านน่าเดินแบบ “อารีย์สไตล์”

อารีย์ ย่านที่ปรับตัวเข้ากับบุคลิกและยุคสมัยของผู้คนที่เข้ามาอยู่อาศัยและทำมาหากิน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของย่านพักอาศัยที่เอื้ออารีกับทุกคน

ทองหล่อ – เอกมัย การประชันและประนีประนอมในย่านสร้างสรรค์

” ทองหล่อ – เอกมัย เมืองที่มีประวัติศาสตร์ มีเรื่องราว ควรรักษาและพัฒนาให้ร่วมสมัย เพราะไม่เพียงสร้างคุณค่าและความภูมิใจ เอกลักษณ์ยังสร้างมูลค่ามากกว่าสิ่งใหม่ที่ใครๆก็สร้างได้”

ตลาดน้อย ย่านรอยต่อทางวัฒนธรรมและยุคสมัยของเมือง

“ตลาดน้อย เสน่ห์ของย่านเก่าที่สร้างทดแทนไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เมืองมีความหลากหลายอย่างน่าสนใจ

การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน

ตั้งแต่ช่วงมีนาคมที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นชีวิตชีวาของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กลับมาอีกครั้ง และอีกสถานที่หนึ่งที่หลายคนตั้งตารอคอยการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง นั่นคือหอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การออกแบบและบริหารโดย อาจารย์โอ๊ต – ผศ.นันทพล จั่นเงิน อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Design Director ของ JUNNARCHITECT เจ้าของ somewhere สเปซน่ารักของชุมชนคนประดิพัทธ์ การศึกษาศิลปะ อย่างไร้ขีดจำกัด ในทรรศนะของ ผศ.นันทพล จั่นเงิน จะเป็นอย่างไร วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับอาจารย์โอ๊ตถึงบทบาทหลากหลายที่ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” เปิดพื้นที่เพื่อเรียนรู้ “บทบาทหลักที่คิดว่าทิ้งไม่ได้ก็เป็นอาจารย์” อาจารย์โอ๊ตรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระดับปริญญาตรีและโท ส่วนหลักในรายวิชาอาคารสาธารณะ “เพราะว่าเด็กปีหนึ่งสองจะเริ่มก้าวจากงานออกแบบบ้าน ที่พักอาศัย มาสู่ความเป็นสาธารณะ ส่วนปริญญาโท ก็เน้นเรื่องแนวความคิด แต่ไม่ว่าทั้งปริญญาตรีหรือโทก็ต้องมีเรื่องแนวความคิดนั่นแหละ แค่ว่ากลุ่มคนต่างกัน” และจากบทบาทด้านการศึกษานี่เอง ทำให้อาจารย์โอ๊ตได้รับโอกาสจากทางมหาวิทยาลัย เริ่มจากการเป็นผู้อำนวยการหอศิลป์เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะเดินทางมาสู่ตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการหอสมุดวังท่าพระ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้นำเอาความเป็นศิลปะและการออกแบบเข้าไปจับกับห้องสมุดในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ที่นี่จึงนับเป็นห้องสมุดศิลปะเต็มรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย “จริงๆ ถ้าพูดถึงห้องสมุดศิลปะ ทุกคนอาจจะมองว่าแค่มีหนังสืออาร์ตหรือดีไซน์ ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่ก็เข้าใจว่า ศิลปากร วังท่าพระ […]

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าไทยจากชุมชนกลางกรุง

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าดัง ของ นิ – รุ่งโรจน์ จันทร์กระจ่าง ชายหนุ่มวัยสี่สิบต้นๆ มีจุดเด่นที่การนำถุงผ้าเก่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาเป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บ