บ้านนอกในฝัน
ละมุน ละไม โฮมคาเฟ่ บ้านใต้ร่มไม้ของคนหนีกรุงมาซุกไออุ่นในชุมชนแม่โจ้-สันทราย
“ อยากอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนเราอยู่กรุงเทพฯ เวลาที่เรามีเรื่องเครียดจะนึกถึงเชียงใหม่ตลอด พอมาอยู่ในช่วงแรกก็อาจลำบากอยู่เพราะเราต้อง รีโนเวทบ้านเก่า แต่เราก็ค่อย ๆ ทำบ้านไปเรื่อยตลอด 7 ปีที่ผ่านมาจนเป็นบ้านของเรา ” ร้านอาหารและคาเฟ่สไตล์โคซี่ดูแสนอบอุ่นในชุมชนแม่โจ้-สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ที่ชื่อว่า “ ละมุน ละไม โฮมคาเฟ่ ” ซึ่งเป็นทั้งบ้านและร้านของสองสามีภรรยา คือ คุณแบงค์-กฤตติน พิชัยศรแผลงและคุณมิ-อัญวีณ์ สิริศักดิ์วรกุล ซึ่งทั้งคู่ตัดสินใจย้ายมาจากชีวิตที่วุ่นวายในกรุงเทพมหานคร เพื่อเริ่มตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่รวมไปถึงค่อย ๆ รีโนเวทบ้านเก่า ของคุณตาและคุณยายหลังนี้ด้วยไอเดียของทั้งคู่เองทั้งหมด “ บ้านหลังนี้เป็นของหม่อมเจ้าวงษ์มหิป และหม่อมละไม ชยางกูร ซึ่งเป็นคุณตาและคุณยายของผม หลังจากท่านเกษียณข้าราชการแล้วท่านก็อยากปลีกวิเวกมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็มาเห็นพื้นที่บริเวณนี้ที่เดิมเป็นสวนลำไยและสร้างบ้านหลังนี้ไว้เมื่อราว 50 กว่าปีที่แล้ว เป็นบ้านหลังเล็กที่ชาวบ้านที่อาศัยเดิมในบริเวณนี้ผูกผันและให้ความเคารพ โดยเรียกกันว่า บ้านหม่อม หลังจากที่หม่อมท่านเสียไปก็ไม่มีใครมาใช้บ้านหลังนี้อีกเลย มีแค่คนดูแลปัดกวาดเท่านั้น ซึ่งของทุกอย่างก็ยังคงทิ้งไว้ เหมือนวันสุดท้ายที่หม่อมท่านยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีใครทำการย้ายแต่อย่างใดจนกระทั่งเราเข้ามาอยู่อาศัย ” คุณแบงค์ผู้เป็นหลานโดยตรงของเจ้าของบ้านเล่าถึงประวัติของบ้าน “ ชื่อร้าน ละมุมละไม โฮมคาเฟ่ ได้ที่มามาจากชื่อของคุณยาย คือหม่อมละไม […]
บ้านอิฐชานกว้างสำหรับชีวิตหลังเกษียณในต่างจังหวัด ที่มีเส้นตัดขอบฟ้าเป็นสีเขียว
คุณลิสา ทอมมัส อดีตผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังเครือโรงแรมชื่อดังของเมืองไทย ที่เลือกเกษียณตัวเองพร้อมกับพาคุณแม่โยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ บ้านต่างจังหวัด
PASANG CAFÉ ดื่มกาเเฟเคล้ากลิ่นอายท้องถิ่นในคาเฟ่ไม้ ที่จัดเสิร์ฟผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
ป่าซางคาเฟ่ ที่นี่เกิดจากความตั้งใจอยากสร้างพื้นที่สำหรับนำเสนอผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเเม่บ้านนางเเล ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องสับปะรดให้ก้าวไปอีกขั้น ทั้งยังต้องการให้ที่นี่เป็นร้านกาแฟจุดร่วมระหว่างความเป็นพื้นถิ่นกับความเจริญที่กำลังจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องของจังหวัดเชียงราย การออกแบบ คาเฟ่ไม้ เเห่งนี้ ตัวสถาปัตยกรรมได้รับการถ่ายทอดให้มีความเป็นพื้นถิ่นเเละร่วมสมัยในเวลาเดียวกันออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก BodinChapa Architects เริ่มต้นจากการวางฟังก์ชันภายในพื้นที่ซึ่งมีขนาดเล็กให้กลายเป็นอาคารที่ดูเหมือนบ้านขนาด 2 ชั้น โดยใช้โครงสร้างเเบบโมดูลาร์ มีพื้นที่ใช้สอยภายใน 4 ระดับลดหลั่นกันไปมา วางตำเเหน่งช่วงเสาเเต่ละต้นให้อยู่ห่างกันทุก ๆ 1 เมตร ซึ่งได้เเรงบันดาลใจมาจากเสาเรือนในท้องถิ่น มีจุดเด่นอยู่ที่บานเกล็ดไม้ เมื่อปิดลงทั้งหมดจะให้ความรู้สึกเป็นผนังเรือน เเทรกด้วยบานเกล็ดกระจกที่ผู้ออกแบบตั้งใจทำหน้าที่เป็นผนังอาคารในช่วงฤดูหนาว เเละช่องเปิดรับลมในฤดูร้อน เสมือนมีเปลือกอาคารหรือฟาซาดครอบคาเฟ่ให้อยู่ด้านในอีกชั้นหนึ่ง เน้นเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นร่วมกับไม้เดิมของเจ้าของโครงการ ที่นี่จึงใช้งบก่อสร้างน้อย เเถมยังช่วยสร้างความเชื่อมโยงกับบริบทรอบ ๆ ให้ดูไม่เเปลกเเยกจนเกินไป สมเป็นคาเฟ่เพื่อชุมชนอย่างเเท้จริง เเละเนื่องจากท้องถิ่นที่ตั้งขึ้นชื่อเรื่องสับปะรด ป่าซางคาเฟ่จึงไม่เพียงมีเเค่กาแฟคุณภาพดีเท่านั้น เเต่ยังได้นำสับปะรด มาเป็นส่วนประกอบในอาหาร ขนมหวาน เเละเครื่องดื่มหลากหลายเมนู ใครอยากไปชิม พร้อมกับเปลี่ยนบรรยากาศรับวิวชนบท ที่นี่เขายินดีต้อนรับพร้อมเสิร์ฟทั้งงานออกแบบดี ๆ เเละเครื่องดื่มเฉพาะตัวซึ่งหาลิ้มลองไม่ได้จากที่ไหน ที่ตั้ง หมู่บ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางเเล อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย โทร. 06-3783-3388 FB : pasangchiangrai ออกแบบ […]
บ้านชั้นเดียวริมน้ำ กลางเขา และเงาไม้ใกล้อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
เพื่อไม่ให้ บ้านโมเดิร์นริมน้ำ ดูแข็งเกินไป ภายในจึงต้องเน้นนำธรรมชาติเข้ามาช่วยเติมบรรยากาศของความผ่อนคลายไว้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะด้วยสีและผิวสัมผัส…
อยู่กับความเรียบง่ายใน บ้านดิน
“เพื่อนคนไทยแนะนำว่ารู้จัก บ้านดิน ไหม น่าสนใจมากนะ ฉัน จอน กับฟอเรสต์ ก็เริ่มศึกษาซื้อหนังสือเยอะมาก เริ่มวางแปลนบ้านกับลูก ปั้นดินน้ำมันเป็นโครงบ้านคร่าวๆ
บ้านไม้ผสมปูน กลางท้องนาที่เงียบสงบ
บ้านไม้ผสมปูน ที่สร้างขึ้นจากไม้เก่าเกือบทั้งหมด เมื่อไม้หมดจึงผสมผนังปูนบางส่วน โดยเน้นออกแบบให้เปิดโปร่งรับลมและชมวิวกลางทุ่งนา
บ้านไร่กลางทุ่งที่สร้างด้วยเงินเก็บสามแสนและน้ำพักน้ำแรงฉบับคนบ้านนอก
เจ้าของ: คุณในดวงตา ปทุมสูติ – คุณรุ่งโรจน์ ไกรบุตร ภาพสะท้อนในดวงตาคือ บ้านไร่หลังเล็ก เรียบง่ายกลางทุ่งนาดั่งภาพฝัน แต่นัยน์ตาของเขาและเธอนั้นฉายความรู้สึกให้ปรากฏแก่ใจมากกว่าภาพที่อยู่ตรงหน้า แสงยามเช้าเพิ่งเลียใบหญ้ายังไม่ทันอุ่น กลิ่นดินหมาดน้ำค้างยังเคล้ามาตามลมลูบไล้ผิวกายให้เย็นชุ่มไปถึงใจ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อนหลังหว่านเมล็ดข้าวลงดินในเดือนตุลาคม คุณก้อย – ในดวงตา ปทุมสูติ และคุณรุ่ง – รุ่งโรจน์ ไกรบุตร ตัดสินใจสร้างบ้านหลังนี้ด้วยเงินเก็บทั้งหมดราว 3 แสนบาท แน่นอนว่าไม่ได้ตัวบ้านทั้งหมดที่เห็น แต่ได้เพียงค่าโครงสร้างคอนกรีตและหลังคาซึ่งต้องจ้างช่างมาทำ ส่วนที่เหลือสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงและพลังใจที่ก่อเป็นความภาคภูมิในแบบฉบับของคนบ้านนอกสองคนนี้ บ้านไร่หลังเล็ก “เราทั้งคู่เคยทำงานและใช้ชีวิตในเมืองกรุงหลายปีแล้วรู้สึกไม่ใช่ เราคุ้นกับวิถีชนบท การอยู่กับธรรมชาติทำให้จิตใจนิ่งและเย็น ในความรู้สึกลึกๆ คือการได้มาทำกินบนผืนดินของบรรพบุรุษ เป็นบ้านเกิดที่ผูกพัน” คุณก้อยเป็นสาวสุพรรณที่อยู่บ้านเกิดเพียงชั้นอนุบาลก็ย้ายไปที่อื่นจนจบคณะครุศาสตร์ เอกภาษาไทยที่เชียงใหม่ จากนั้นทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนจะกลับมาสุพรรณบุรีอย่างถาวร เพื่อช่วยงานคุณพ่อที่เป็นวิทยากรบรรยายในโครงการแก้ปัญหาเรื่องเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักสูตรของคุณพ่อเอง ส่วนคุณรุ่งเป็นคนอุทัยธานี เรียนด้านภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม เคยทำงานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิสานแสงอรุณที่เน้นส่งเสริมให้คนเรียนรู้ในการอยู่กับธรรมชาติ ในปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจสร้างบ้านสองชั้น โดยต่อเชื่อมกับบ้านชั้นเดียวที่อยู่เดิมเผื่อหนีน้ำในอนาคต “ถ้ารอเก็บเงินให้มากพอก่อนแล้วค่อยสร้างคงไม่มีวันพร้อม หากไม่เริ่มต้น […]
AHSA FARMSTAY ฟาร์มสเตย์ไม้เก่า คลุกเคล้าวัฒนธรรมล้านนา
ห่างออกไปจากตัวเมืองเชียงราย มุ่งหน้าไปยังตีนดอยแม่สลอง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน เรากำลังพาทุกคนหนีความวุ่นวายไปแอบอิงธรรมชาติแบบบ้าน ๆ กับเจ้าของพื้นที่ตัวจริงกันที่ AHSA FARMSTAY
บ้านอิฐชั้นเดียว ที่มีช่องลมหมุนเวียนช่วยประหยัดพลังงาน
บ้านอิฐแดง ชั้นเดียวที่ไม่สูงมากหลังนี้ นำเส้นสายสายของภูเขามาออกแบบเพื่อรับกับวิวภูเขาได้เต็มที่ และเปิดพื้นที่ภายในให้โปร่งรับลมจนไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์
บ้านไทยพื้นถิ่น จากวัสดุสมัยใหม่ที่ผสานกันอย่างลงตัว
จากภูมิปัญญาการสร้าง บ้านไทยพื้นถิ่น และการนำวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กมาผสมผสานได้อย่างลงตัว โดยมีสถาปนิกเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้และควบคุมทุกอย่างให้ตอบโจทย์
บ้านใต้ถุนสูงริมคลอง ความสุขตามวิถีชีวิตแบบไทย
เป็นความฝันของครอบครัวเราที่อยากมี บ้านสวนริมคลอง ที่อยู่เย็นเป็นสุขตามวิถีชีวิตคนไทย ทุกวันนี้เราได้ฟังเสียงนกยามเช้า ชมแสงดาวยามค่ำคืน
MAXIME RESIDENCE หลีกเร้นสู่ธรรมชาติส่วนตัว
7 ปีก่อนหลังจากที่คุณแม็กซ์ หรือ Mr. Maxime Gheysen โปรแกรมเมอร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์เจ้าของบ้านเดินทางมาเยือนเมืองไทย แล้วได้พบกับ คุณนิว – รัตติกาล คงใหญ่ มาวันนี้เขาเลือกลงหลักปักฐานใช้ชีวิตคู่ภายในบ้านเดี่ยว แบบบ้านโมเดิร์น หลังแรกกับคนรัก บนที่ดินผืนงามท่ามกลางบรรยากาศโปร่งสบายของชนบทในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ “เราเลือกเอง หาโอกาสเอง ผมมาเมืองไทยครั้งแรกก็เพื่อมาเที่ยวใช้เวลาอยู่ที่เชียงใหม่ราวหนึ่งเดือน ผมชอบอะไรหลาย ๆ อย่าง จึงทำให้อยากกลับมาอีก อยากมาอยู่นานกว่านี้” จุดประสงค์ของเขาชัดเจนพอ ๆ กับสำเนียงภาษาไทยที่พูดได้คล่อง เจ้าของบ้านชาวต่างชาติผู้นี้ยังเล่าความเป็นมาของการสร้างบ้านหลังนี้ให้ฟังว่า “ตอนเด็ก ๆ ผมมีบ้านอยู่นอกเมืองเหมือนกัน (บ้านที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ระยะทางอยู่ไกลจากตัวเมืองใกล้เคียงกับบ้านหลังนี้ ซึ่งผมชอบมาก หลังจากได้เข้ามาทำงานในเมือง ผมไม่ชอบบรรยากาศที่แออัดไปด้วยตึกสูง ผู้คน และอากาศที่ร้อน ผมชอบออกไปข้างนอกมากกว่า” “แม็กซ์หนีจากสวิตเซอร์แลนด์มาอยู่เชียงใหม่ ก็เหมือนเราหนีจากในตัวเมืองมาอยู่แม่ริม ทีแรกเราได้ไปดูบ้านจัดสรร แต่บ้านเหล่านั้นมีหน้าตาซ้ำ ๆ เหมือนกันไปหมด ชายหลังคาก็ติด ๆ กัน เราจึงคิดว่าราคาประมาณนี้ น่าจะสร้างบ้านเองดีกว่า” คุณนิวกล่าวเสริม บ้าน MAXIME RESIDENCE […]
กลับบ้านเรา…รักรออยู่ รวม 7 บ้านต่างจังหวัดสวย ๆ ของคนกลับบ้านเกิด
“กลับบ้าน” คําที่มักได้ยินอยู่บ่อย ๆ ช่วงเทศกาลหยุดยาวของคนต่างถิ่นที่มาทํางานในเมืองหลวง บางทีเราก็แอบสงสัยตามประสาคนเมืองกรุงที่อยากรู้ว่าการกลับ บ้านต่างจังหวัด ของแต่ละคนจะเป็นยังไง จะสุขใจ หรือมีอะไรหรือใครรอพวกเขาอยู่ที่บ้านต่างจังหวัดอยู่บ้าง วันนี้ my home รวบรวมเอา บ้านต่างจังหวัด สวย ๆ ของคนที่หันกลับไปทำให้บ้านเกิดนั้นกลับมาสวยงามน่าอยู่ บางหลังสวยคนเราเองก็อยากมีบ้านต่างจังหวัดแบบนั้นให้กลับบ้างเลยค่ะ ทุกคำถามที่เคยสงสัยเกี่ยวกับการกลับบ้านวันนี้เราก็ได้เข้าใกล้ความหมายของคํานี้เข้าไปอีกหน่อยหนึ่งแล้วล่ะค่ะ : ) 1 . Clean your heart, Heal your soul บ้านใจสว่าง มุ่งหน้าสู่ขอนแก่นจังหวัดที่มีหลายคนเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนเมืองหลวงของภาคอีสานเมื่อมาถึงบ้านสีขาวสองชั้นหลังไม่ใหญ่ไม่โตท่ามกลางสีเขียวของต้นไม้ใบหญ้าและทุ่งนาที่โอบล้อมอยู่ด้านหลังแค่สีขาวตัดกับสีเขียวของธรรมชาติ ลักษณะบ้านเป็นบานเฟี้ยมเปิดโล่งทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกมีลมพัดผ่านตลอดเวลา แถมมีวิวทุ่งนาที่น่าอิจฉาที่สุดอยู่หลังบ้านทําครัวไปชมวิวไปเข้าใจแล้วว่าทําไมคุณจั๊กถึงผูกเปลสีรุ้งไว้มุมนี้จุดน่าสนใจของห้องครัวคงหนีไม่พ้นไอส์แลนด์กลางบ้านที่ใช้ปูนขัดมัน เครื่องครัวน้อยชิ้นจัดวางแบบง่ายๆ เอาแบบแค่พอใช้ เผื่อไว้เทศกาลเดียวคือเวลามีเพื่อนมาปาร์ตี้บาร์บีคิวที่บ้านพร้อมลานปิ้งย่าง ด้านข้างมีหน้าต่างบานเก่าที่เปิดออกกลายเป็นบาร์แบบเอ๊าต์ดอร์ได้ทันที ห้องคุณแม่เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่เราก็ออกแบบให้แม่ดูก่อนด้วยโฟโต้ช็อปเฟอร์นิเจอร์เกือบทุกชิ้นเป็นของเก่าเช่นเคยของน้าบ้างจากบ้านเก่าบ้างอย่างประตูบานเลื่อนเป็นไอเดียคุณแม่เลยเอาประตูจากบ้านเก่ามาทําสีใหม่กรุกระจกลูกฟักสลับสี ชั้นบนเป็นอีกมุมหนึ่งที่คุณจั๊กตั้งใจว่าจะให้เป็นมุมทํางานแต่มันดูโล่งอย่างน่าประหลาดทั้งๆที่อยู่บ้านนี้มาปีกว่าๆ “ เพราะตั้งใจว่าจะไม่เอางานกลับมาทําบ้าน ก็พอเดินขึ้นบันไดมาผมก็เดินตรงเข้าห้องนอนไปเลยพยายามจะไม่มองไปทางนั้น ” owner – design : คุณจั๊ก-ปรีดิ์ จินดาโรจน์ story : jOhe Photo : ณัฐวุฒิ […]
HOUSE UNDER THE PINES บ้านโมเดิร์นในป่าสน
บ้านที่แทรกตัวอยู่บนเนินเขาของป่าสน มาพร้อมทัศนียภาพสีเขียวสดชื่นของต้นไม้ใบหญ้า ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวและตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างลงตัว
ตามหาความสุขล้นๆของคนบ้านนอก ที่บ้านนอกคอกนา เขาใหญ่
พูดถึงคำว่า บ้านนอกคอกนา ใคร ๆ ก็มักจะคิดว่าเชยหรืออายที่เป็นคนบ้านนอกแต่ตอนนี้บ้านนอกคอกนากลายเป็นคำที่พูดได้อย่างไม่อายใคร และใคร ๆ ก็อยากมาสัมผัสความเป็นบ้านนอกคอกนากัน my home ขอพาผู้อ่านหนีเมืองกรุงมาพักอกพักใจที่ บ้านนอกคอกนา เขาใหญ่ ที่พักน้องใหม่ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจภายใต้คอนเซ็ปต์วิถีเกษตร โดยคุณสา – สาริศา เกตุทอง และ คุณอาร์ต – อธิพันธ์ ศรีจักร สองวิศวกรที่หันกลับมาปรับปรุงที่ดินผืนเก่าของครอบครัว ที่กำลังจะเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสไตล์อีสานบ้านนา รวมถึงเนรมิตให้เป็นที่พักผ่อนสำหรับคนที่โหยหาธรรมชาติ และรักความเรียบง่ายของชนบทได้มาสัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิมแบบบ้านนอกอย่างแท้จริง “ เดิมสากับครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพฯ ใช้ชีวิตเหมือนคนบ้านนอกทั่วไป พอถึงช่วงเทศกาลก็มักจะกลับบ้านตัวเอง และด้วยความที่สาเติบโตมากับวิถีแบบนี้ ทำให้สาคุ้นเคยและรักการทำเกษตรกรรม สาจึงตัดสินใจที่จะกลับมาพัฒนาที่ดินผืนสุดท้ายที่เป็นมรดกของครอบครัวให้กลายเป็นมรดกที่มีค่าสืบไป ” ที่ดินทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักส่วนแรกเป็นโซนร้านอาหาร ตัวอาคารและการตกแต่งเลือกใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก รวมถึงวัสดุอื่นๆ ที่มาจากธรรมชาติ อย่างหญ้าคา ไม้จริง และวัตถุดิบในสวน ตกแต่งสไตล์บ้านนอกเป็นมิตรกับธรรมชาติ ที่ผ่านการออกแบบและกลั่นกรองความคิดมาแล้วคุณสาเล่าให้ฟังว่า “ร้านอาหารตกแต่งโดยเน้นบรรยากาศที่เรียบง่ายสไตล์บ้าน ๆ ซึ่งเหมาะกับคนที่รักธรรมชาติหรือชอบถาปัตยกรรมไทย และคนที่หลงรักวิถีชีวิตชนบทค่ะ ” สะพานไม้ไผ่สาน หนึ่งในภูมิปัญญาชาวบ้านที่เลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ราคาไม่แพง แถมยังแข็งแรงทนทาน […]
บ้านกรอด้าย…บ้านไทยจากความทรงจำในวันวาน
DESIGNER DIRECTORY : เจ้าของ : คุณอ้อ-กฤตยา พรรคอนันต์ และ คุณป๊อน-บุณยวัฒน์ สมทัศน์ ออกแบบ : Let’s design โดยคุณธีร์ อังคะสุวพลา , คุณปทมพร เขจรนันทน์ ,คุณพิธาน ศรีเสาวนันท์ ในอดีตคนไทยนิยมใช้ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวัน ยุคสมัยหนึ่งโรงงานทอผ้าขาวม้าจึงเฟื่องฟู โดยเฉพาะในพื้นที่แถบภาคกลางอย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และราชบุรี คือแหล่งผลิตผ้าขาวม้าเนื้อดีส่งขายไปทั่วไประเทศ จนกระทั่งความนิยมใช้ผ้าขาวม้าเริ่มลดลงบ้านกรอด้าย หลายโรงงานทยอยปิด ดังเช่นที่นี่ที่เปลี่ยนแปลงจากโรงงานทอผ้ากลายมาเป็นที่พักแสนอบอุ่น แต่ยังเปี่ยมด้วยความทรงจำของวันวาน บ้านกรอด้าย ตั้งอยู่บนถนนอู่ทอง ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา คุณอ้อ-กฤตยา พรรคอนันต์ และ คุณป๊อน-บุณยวัฒน์ สมทัศน์ ตัดสินใจเปลี่ยนที่ดินขนาด 200 ตารางวา ให้กลายเป็นที่พักขนาด 6 ห้อง เล็กกำลังดีที่จะดูแลกันเองไหว ภายในห้องพักแสนเรียบง่ายแต่ก็อยู่สบาย บรรยากาศไม่ต่างกับตากอากาศตามต่างจังหวัดในสมัยก่อน ย้อนไปในอดีต โรงงานทอผ้านี้เป็นกิจการดั้งเดิมของครอบครัวคุณอ้อ ก่อตั้งโดยคุณยายสุมล สุขปรีชา แรกเริ่มตั้งอยู่ที่ตลาดหัวรอจนกระทั่งปี พ.ศ.2497 ทางราชการให้ย้าย จึงมาตั้งโรงงานใหม่บนที่ดินแปลงนี้ในชื่อ […]
รวม 7 ฟาร์มสเตย์ ให้คุณได้สัมผัสวิถีชิวิตธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
มาชมที่พักผ่อนรูปแบบใหม่ได้ฟีลธรรมชาติ นอนชิล สูดกลิ่นหญ้า กินผักปลอดสารพิษ เรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่าย กับ 7 ฟาร์มสเตย์ สุดฮิต แล้วเตรียมใจไปเที่ยวกัน
“เฮือนธรรม” บ้านพื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น
จุดเด่นของบ้านเฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้